ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน
ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน
ประวัติความเป็นมา
เมื่อปีพ.ศ. 2538 ได้อพยพครอบครัวมาอยู่ที่ อ.แม่เมาะ จังหวัดลำปาง พร้อมสมบัติที่ติดตัวมา คือสร้อยทองคำ หนัก 20 บาทประกอบอาชีพ รับเหมางานก่อสร้างทั่วไปได้ประมาณ 5 ปี ได้ประสบปัญหาการขาดทุน จนทำให้รายได้ ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่ใช้เลี้ยงครอบครัว สมบัติที่เป็นทุนติดตัวมาหมดไปเรื่อย ๆ จนมีหนี้สินเกิดขึ้น และเมื่อปี พ.ศ. 2542 ได้หันเหเปลี่ยนอาชีพจากการรับเหมางานก่อสร้างทั่วไปมาทำการเกษตรในผืนดินที่ซื้อไว้ หลังจากที่ย้ายมาอยู่ที่อำเภอแม่เมาะ จำนวน 1 ไร่เศษ ซึ่งเป็นพื้นดินที่เหมาะต่อการทำการเกษตร เริ่มต้นด้วยการปลูกพืชผักไว้บริโภคและขายควบคู่ไปกับการเลี้ยงสัตว์ปีก ปรากฏว่าต้องประสบกับภาวะความไม่คุ้มทุน คุ้มค่า อันเนื่องมาจากมีต้นทุนสูงในการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง และใช้ปุ๋ยเคมีเร่งการเติบโตของผัก แต่ขายผักไม่ได้ราคา เน่าเสียง่าย ทำให้ขาดทุน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2546 ได้เข้าร่วมโครงการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี โดยเข้ารับการฝึกอบรมความรู้ ด้านการเกษตร ด้านวิชาการ ปัจจัยการผลิต จาก สำนักงานเกษตรอำเภอแม่เมาะ และ หน่วยโครงการพัฒนาพื้นที่และชุมชนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อำเภอแม่เมาะ หันมา มาปลูกพืชผัก ผลไม้ที่ปลอดสารพิษ จนถึง ปัจจุบัน ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้มาก รวมทั้งภาครัฐได้มีการรณรงค์ให้ประชาชน ทั่วไปบริโภคผักปลอดสารพิษ และส่งเสริมการเกษตรแบบชีวภาพ ลดการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง และปุ๋ยเคมี
หลักสูตรการฝึกอบรม
- การเกษตรแบบเศรษฐกิจกิจพอเพียง
- การเกษตรอินทรีย์ การผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษมุ่งสู่เกษตรอินทรีย์
- การผลิตปุ๋ยชีวภาพและสารอินทรีย์ เพื่อใช้ในไร่นา
- หลักการลี้ยงปลา
- หลักการเลี้ยงไก่
- การจัดทำบัญชีในครัวเรือน
- การทำไข่เค็มพอกดินภูเขาไฟ
- สถานที่ศึกษาดูงานของนักเรียน และนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ