นางลินดา ชัยดี

176 ม.7 ต.เสริมกลาง อ.เสริมงาม จ.ลำปาง 080-6739948

สถานที่ที่ตั้ง (พิกัด)

ลองจิจูด 18.04708 ละติจูด 99.20161

เนื่องจากสถานการณ์ความเป็นอยู่ในปัจจุบันที่มีอัตราประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้น ๆและปริมาณ ความต้องการในการบริโภคเพิ่มขึ้นติดตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันที่ทรัพยากรธรรมชาติ หรือแม้แต่ผลผลิตทางการเกษตรลดน้อยลงเป็นไปในลักษณะผกผันโดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรรมของ พี่น้องเกษตรกรที่ต้องอาศัยความชุ่มชื้นจากธรรมชาติถึง 75%

นอกจากนั้นแล้วยังต้องพบกับความผิดหวัง เมื่อจำหน่ายผลผลิตไม่ได้ราคา หรือถูกพ่อค้าคนกลางกดราคารับซื้อสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นต้นเหตุ ที่ทำให้เกษตรกรต้องขวนขวายหาแนวทางในการประกอบอาชีพใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ เช่น การขุดบ่อเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ ฯลฯ แต่สำหรับการเลี้ยงกบนั้น ปัจจุบันเป็นที่สนใจแก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะกบเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้เวลาน้อย ลงทุนน้อย ดูแลรักษาง่าย และจำหน่ายได้ราคาคุ้มกับการลงทุน โดยเฉพาะในปัจจุบันมีตลาดต่างประเทศที่ต้องการสินค้ากบเปิดกว้างมากขึ้น กบนาที่เป็นผลผลิตของเกษตรกรเมืองไทยจึงมีโอกาสส่งจำหน่ายไปยังต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน และสาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่มีผู้หันมาเลี้ยงกบกันมากขึ้น เพราะปริมาณกบที่อยู่ตามแหล่งธรรมชาติ มีจำนวนลดน้อยลงทุกที ๆเนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยของมันถูกเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ รวมทั้งการสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม การใช้สารพิษกำจัดศัตรูพืช การใช้ยากำจัดวัชพืช กำจัดปูนา ล้วนแล้วแต่มีส่วนทำลายพันธุ์กบในธรรมชาติให้หมดสิ้นไปแต่ละปี ๆ

ด้านการเลี้ยงกบและปลาดุกในบ่อธรรมชาติ

การเลี้ยงกบ

อุปนิสัยใจคอของกบซึ่งมีความสำคัญเพื่อประกอบการเลี้ยงเช่น กบมีนิสัยดุร้ายและชอบรังแกกันการเลี้ยงกบคละกันโดยไม่คัดขนาดเท่า ๆ กัน ในบ่อเดียวกัน เป็นเหตุให้กบใหญ่รังแกและกัดกินกบเล็กเป็นอาหาร หรือไม่รู้ว่านิสัยใจคอของกบเป็นสัตว์ที่ชอบอิสระเสรี เมื่อสภาพที่เลี้ยงมีลักษณะโปร่ง เช่น เป็นอวนไนลอนทำให้กบสามารถมองเห็นทิวทัศน์ภายนอกมันจะกระตือรือร้นที่จะดิ้นรนหาทางออกไปสู่โลกภายนอก โดยจะกระโดดชนอวนไนลอนจนปากบาดเจ็บและเป็นแผล เป็นเหตุให้ลดการกินอาหารหรือถ้าเจ็บมาก ๆ ถึงกับกินอาหารไม่ได้เลยก็มี อย่างไรก็ตาม เอกสารคำแนะนำเรื่องการเลี้ยงกบนี้ จะแนะนำวิธีการเลี้ยงทั้งแบบกึ่งพัฒนา และการเลี้ยงแบบพัฒนา ทั้งนี้เพื่อผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาวิธีการเลี้ยงแต่ละแบบเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ทุนทรัพย์และสิ่งแวดล้อมต่อไป

การเลือกสถานที่ที่จะสร้างคอกกบ หรือ บ่อเลี้ยงกบ

1. ควรเป็นที่ที่อยู่ใกล้บ้าน สะดวกต่อการดูแลรักษา และป้องกันศัตรู

2. เป็นที่สูง ที่ดอน เพื่อป้องกันน้ำท่วม

3. พื้นที่ราบเสมอ สะดวกต่อการสร้างคอกและแอ่งน้ำในคอก

4. ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ

5. ให้ห่างจากถนน เพื่อป้องกันเสียงรบกวน กบจะได้พักผ่อนเต็มที่และโตเร็ว

บ่อหรือคอกเลี้ยงกบ

ที่ที่จะทำบ่อเลี้ยงกบ ไม่ว่าจะเป็นสภาพบ่อปูนหรือคอกเลี้ยง จะต้องไม่ควรอยู่ไกลจากที่อยู่อาศัยมากนัก เพราะศัตรูของกบมีมาก โดยเฉพาะกบนั้นเมื่อตกใจเพราะมีภัยมา มันจะไม่ส่งเสียงร้องให้เจ้าของรู้เหมือนสัตว์อื่น ๆ ศัตรูของกบส่วนมากได้แก่ งู นก หนู หมา แมว และที่สำคัญที่สุดได้แก่ คน ดังนั้นถ้าบ่อเลี้ยงหรือคอกเลี้ยงกบ อยู่ห่างจากที่อยู่อาศัยมาก ก็จะถูกคนขโมยจับกบไปขายหมด นกนั้นมีทั้งกลางวันและกลางคืน นกกลางคืนโดยเฉพาะนกเค้าแมวสามรถลงไปอยู่ปะปนและจับกบกินอย่างง่ายดาย แมวนับว่ามีส่วนทำลายกบมากเพราะถึงแม้มันจะจับกบกินก็เพียงตัวเดียวแล้วก็อิ่ม แต่เมื่ออิ่มแล้วมันก็ยังจับกบตัวอื่น ๆ มาหยอกเล่น และทำให้กบตายในที่สุด

พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง

กบที่เหมาะสมจะนำมาทำการเพาะเลี้ยงนี้ ได้แก่ กบนา ซึ่งถ้าเลี้ยงอย่างถูกต้องตามวิธีการและใช้เวลาเพียง 4-5เดือน จะได้กบขนาด 4-5 ตัว/กก. เป็นกบที่มีความเจริญเติบโตเร็ว โดยมีอัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร 3.4 กก. ได้เนื้อกบ 1 กก. ทั้งยังเป็นกบที่มีผู้นิยมนำไปประกอบอาหารบริโภคกันมากกว่ากบพันธุ์อื่น ๆ ลักษณะของกบนานั้นตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่ากบตัวเมีย และ ส่วนที่เห็นได้ชัดก็คือกบตัวผู้เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถว ๆ มุมปากล่างทั้งสองข้างในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กบตัวผู้จะเป็นผู้ส่งเสียงร้อง และในขณะที่ร้องนั้นส่วนของกล่องเสียงจะพองโตและใส ส่วนตัวเมียนั้นจะมองไม่เห็นส่วนของกล่องเสียงดังกล่าว กบตัวเมียก็ร้องเช่นกันแต่เสียงออกเบา ถ้าอยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กบตัวเมียที่มีไข่แก่จะสังเกตเห็นส่วนของท้องบวมและใหญ่กว่าปกติ ขณะเดียวกันที่กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องบ่อยครั้งและสีของลำตัวออกเป็นสีเหลืองอ่อนหรือมีสีเหลืองที่ใต้ขาเห็นชัดกว่าตัวเมีย ถึงอย่างไรสีของกบจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัย

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน

ในบรรดาปลาดุกทั้ง 3 ชนิด (ปลาดุกอุย ปลาดุกด้าน และปลาดุกยักษ์) และบิ๊กอุยนั้น ปลาดุกอุย นับว่าเป็นชนิดที่เลี้ยงยากที่สุด แต่ถ้านับตั้งแต่ช่วงอนุบาล ปลาดุกด้านจะมีปัญหามากที่สุด ส่วนปลาดุกยักษ์ และบิ๊กอุยนั้นเลี้ยงง่ายที่สุด วิธีการเลี้ยงโดยหลักการเหมือนกัน แต่ต่างกันในรายละเอียดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยา

ปลาดุกอาจเลี้ยงในบ่อดิน บ่อคอนกรีต ร่องสวนนา หรือแม้แต่ในกระชัง แต่ที่เลี้ยงได้ผลดีที่สุด คือบ่อดิน ซึ่งกว่า 90% ของผลผลิตปลาดุกได้มาจากการเลี้ยงในบ่อดินทั้งสิ้น

บ่อดิน

ควรมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพี่อความสะดวกในการตีอวนจับปลา หรือการจัดโดยการระบายน้ำออกหมด ขนาดของบ่อไม่ควรใหญ่เกินไป เพราะจะดูแลยาก การให้อาหารไม่ทั่วถึง เมื่อเกิดปัญหาโรค-ปรสิค การลงยาจะสิ้นเปลืองมาก เมื่อน้ำเสียการถ่ายน้ำไม่สามารถทำได้ทันที ต้องใช้เวลานาน แต่ถ้าเล็กเกินไปก็จะเสียพื้นที่คันบ่อมากขึ้นโดยไม่จำเป็น ดังนั้นขนาดของบ่อที่เหมาะสมก็คือ 800-1,600 ตารางเมตร (0.5-1 ไร่)

อย่างไรก็ตามควรจะพิจารณาสภาพพื้นที่เป็นหลัก ว่าใช้บ่อขนาดใดจึงจะใช้เนื้อที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการขุดบ่อ ควรขูดผิวดินประมาณ 15-20 เซนติเมตร ควรราดน้ำและอัดดินให้แน่นเพื่อทำให้คันบ่อแข็งแรงขึ้น ระดับน้ำในบ่อควรอยู่ในระดับ80-100 ซ.ม. ดินบ่อควรสูงกว่าระดับน้ำอย่างน้อย 50 ซ.ม. เพื่อป้องกันปลาหนี เพื่อป้องกันการพังทลายของดินบ่อ คันบ่อต้องมีส่วนลาดเอียงอย่างน้อย 1 : 2(ด้านใน) ด้านนอกควรลาดเอียง 1: 1 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของดินด้วย ถ้าไม่ใช่ดินเหนียว ความลาดเอียงของดินบ่อควรมากกว่านี้ ความกว้างของสันดินบ่อกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร แต่ถ้ากว้างกว่านี้จะสะดวกต่อการทำงานมากขึ้น

การเตรียมบ่อ

การเลี้ยงในบ่อดินจำเป็นต้องมีการเตรียมบ่อที่ดี มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหากันบ่อเน่า ทำให้น้ำในบ่อเสีย และทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพปลาในที่สุด บ่อปลาดุกที่เลี้ยงมานานหลายๆ ปี โดยไม่มีการดูแลบ่อจะพบปัญหาปลาเป็นโรคบ่อยๆ ยากต่อการแก้ไข การเตรียมบ่อใหม่และบ่อเก่าที่เคยเลี้ยงปลามาก่อน มีขั้นตอนการเตรียมแตกต่างกันเล็กน้อยดังนี้

บ่อขุดใหม่

บ่อขุดใหม่ไม่มีปัญหาเรื่องเลน และศัตรูในบ่อ แต่จะมีปัญหาเรื่องดินเป็นกรดให้โรยปูนขาวตามพี-เอชของดิน (อย่างน้อย 30-50 กิโลกรัมต่อบ่อ 800 ตารางเมตร) ควรจะคลุกปูนให้ผสมกับหน้าดินลึกประมาณ 5 เซนติเมตร จากนั้นสูบน้ำเข้าบ่อจนได้ระดับน้ำ 30 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 5-7 วัน แล้วจึงวัดพี-เอช ค่าที่พอเหมาะควรอยู่ระหว่าง 7-8.5 ถ้าจะปล่อยปลาตุ้ม ก็ควรใส่ปุ๋ยเช่นเดียวกับที่ทำในบ่ออนุบาล ถ้าจะปล่อยปลานิ้ว เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่นิยมใส่ปุ๋ย แต่ถ้าจะใส่เพื่อเตรียมไรแดงให้ลูกปลาก็จะช่วยให้อัตรารอดสูงขึ้น โดยทำวิธีการเดียวกับการเตรียมบ่ออนุบาล

นางศรี ต๊ะวงค์

153 ม.7 ต.เสริมกลาง อ.เสริมงาม จ.ลำปาง 081-8857199

สถานที่ที่ตั้ง (พิกัด)

ลองจิจูด 18.04775 ละติจูด 99.20069

ด้านสมุนไพรเวียงรัง

ด้วยภูมิปัญาไทยตั้งแต่สมัยโบราณ สมุนไพรได้ถูกค้นพบเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ทั้งทางด้านเป็นยารักษาโรคและเครื่องประทินความงาม ด้วยประโยชน์ที่หลากหลายจึงได้มีการนำสมุนไพรเหล่านี้มาใช้ในการทำสบู่ที่ให้สรรพคุณที่นอกเหนือจากการทำความสะอาดร่างกายแล้วยังช่วยบำบัดรักษาและดูแลผิวได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างสมุนไพรที่ใช้ในการทำสบู่เช่น ขมิ้นชัน มีสารออกฤทธิ์คือ เคอร์คูมิน ดีเมท็อกซี่เคอร์คูมิน บิสดีเมท็อกซี่เคอร์คูมิน ช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง และลดการอักเสบมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรคกลาก

ดังนั้นการเลือกใช้พืชสมุนไพรชนิดใดมาเป็นส่วนผสมนิยมเลือกใช้ตามสรรพคุณทาง ยาโดยดูจากสรรพคุณของสมุนไพรจากตำราหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นสารสกัด ที่ได้จากสมุนไพรในธรรมชาติมีความปลอดภัยมากกว่ายาหรือสารสังเคราะห์ทางเคมี มีพิษตกค้างภายในสัตว์ทดลองน้อย อัตราการสลายตัวของสารเคมีที่มีในพืชสมุนไพรสลายตัวได้ดีกว่าสารเคมี สังเคราะห์

สูตรสมุนไพรสำหรับผิวมัน ประกอบด้วย มะขาม มะเฟือง ส้ม มะละกอ สัปะรด ว่านน้ำ ขมิ้นชัน ว่านสาวหลง ว่านนางคำ

สูตรสมุนไพรสำหรับผิวแห้ง ประกอบด้วย ข้าวกล้อง บัวบก เปราะหอม ขมิ้นชัน นม แตงกวา

สูตรสมุนไพรลดจุดด่างดำ ประกอบด้วย มะหาด ว่านนางคำ ว่านสาวหลง หัวไชเท้า มะขาม มะเฟือง มะละกอ

สูตรสมุนไพรสำหรับสิว ประกอบด้วย ฟ้าทะลายโจร บัวบก ว่านนางคำ ขมิ้นชัน

สูตรต่างๆสามารถดัดแปลงตามความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความ มหัศจรรย์ของสบู่สมุนไพรอยู่ที่ การไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งสมุนไพรมีสารเคมีในธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีสังเคราะห์ที่เป็นอันตราย และต้นทุนสูง อาจทำให้เกิดอาการแพ้ หรือระคายเคืองได้

การทำสบู่สมุนไพร

ลองนำ สบู่ก้อนธรรมชาติ สบู่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของไขมัน ด่าง และน้ำที่อุณหภูมิพอเหมาะ ผู้ผลิตต้องศึกษาคุณสมบัติของส่วนประกอบแต่ละชนิดก่อนเริ่มตั้งสูตร และลงมือผลิต นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังสามารถเติมส่วนผสมเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มคุณภาพของสบู่ เช่น น้ำนมแพะ น้ำนมวัว หรือสมุนไพร เป็นต้น

ส่วนประกอบหลัก

1. ไขมันหรือน้ำมัน ไขมันหรือน้ำมัน ทั้งจากสัตว์และจากพืชหลากหลายชนิด สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตสบู่ได้ กรดไขมันนี้จะรวมตัวกับสารอื่น อยู่ในรูปของกลีเซอไรด์ เมื่อนำด่างเข้ามาผสมและทำปฏิกิริยากับกรดไขมันจะหลุดออกจากกลีเซอไรด์ มารวมตัวกันเป็นสบู่ สารที่เกาะอยู่กับกรดไขมันก็จะออกมาเป็นกลีเซอรีน น้ำมันแต่ละชนิดก็จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป กรดไขมันแต่ละชนิดเมื่อรวมตัวกับด่างแล้ว จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น กรดลอริก (lauric acid) มีมากในน้ำมันมะพร้าว เป็นกรดไขมันที่ทำปฏิกิริยากับด่างแล้วให้สารที่มีฟองมาก เป็นต้น ดังนั้นจึงควรศึกษาคุณสมบัติของสบู่ที่ได้จากไขมันต่างชนิดกัน ดังนี้ ตาราง คุณสมบัติ – อายุการใช้งานของน้ำมันแต่ละชนิด ชื่อน้ำมัน คุณสมบัติ อายุการใช้งาน น้ำมันมะกอก สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองครีมนุ่มนวล มีคุณค่าในการบำรุงผิวมาก มากกว่าสามเดือน น้ำมันงา สบู่ที่ได้จะนิ่ม มีค่าการชำระล้างปากกลาง แต่มีวิตามินอีสูงมาก แต่อาจมีกลิ่นที่บางคนไม่ชอบ มากกว่าสามเดือน น้ำมันมะพร้าว สบู่ที่ได้จะมีก้อนแข็ง มีฟองครีมนุ่มนวลจำนวนมาก แต่ไม่ควรใช้เกิน 30% เพราะมีค่าการชำระล้างสูง อาจทำให้ผิวแห้ง มากกว่าสามเดือน น้ำมันรำข้าว สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง แต่มีวิตามินอีมาก เหมาะสำหรับบำรุงผิว มากกว่าสามเดือน น้ำมันถั่วเหลือง สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง แต่มีวิตามินอีมาก มีคุณสมบัติช่วยให้ผิวยืดหยุ่นได้ดี เป็นน้ำมันอายุสั้น ทำสบู่แล้วควรใช้ให้หมดภายในสามเดือน น้ำมันเมล็ดทานตะวัน สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง มีวิตามินอีมาก เป็นน้ำมันอายุสั้น ทำสบู่แล้วควรใช้ให้หมดภายในสามเดือน น้ำมันปาล์ม สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองปานกลาง ค่าการชำระล้างสูง ควรใช้ไม่เกิน 30% เพราะอาจทำให้ผิวแห้ง มากกว่าหกเดือน ไขมันวัว สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองปานกลาง ค่าการชำระล้างสูง เหมาะสำหรับผสมทำสบู่สำหรับซักล้าง มากกว่าหกเดือน ไขมันหมู สบู่ที่ได้จะมีสีขาวและนิ่ม มีฟองน้อย ค่าการชำระล้างปานกลาง มีคุณสมบัติในการบำรุงผิว มากกว่าสามเดือน

2. ด่าง ชนิดของด่างที่ใช้ มี 2 ชนิด - โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ (Sodium hydroxide) ใช้สำหรับทำสบู่ก้อน - โปแตสเซียม ไฮดรอกไซด์ (Potassium hydroxide) ใช้สำหรับทำสบู่เหลว จากตาราง แสดงปริมาณด่างที่ใช้ต่อไขมัน 100 กรัม ภายหลังทำปฏิกิริยาจะมีไขมันเหลือประมาณร้อยละ 5 - 8 อย่างไรก็ดี อาจมีความผิดพลาดเนื่องจากการใช้มาตราชั่ง ตวง วัด และปัจจัยการผลิตอื่น ๆ หรือวิธีการผลิตอื่น ที่ทำให้ปริมาณด่างเหลือมากกว่าที่คำนวณไว้ จึงจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพ โดยการวัด pH ทุกครั้งที่ผลิตและหลังจากสบู่แข็งตัวแล้ว ตาราง ปริมาณด่างที่ทำปฏิกิริยากับไขมัน จำนวน 100 กรัม สบู่ที่ได้มีไขมันประมาณ 5 – 8 % ที่ ชื่อน้ำมัน โซดาไฟ (กรัม) โปตัสเซียม ไฮดรอกไซด์ (กรัม) 1 ปาล์ม 13.06 18.32 2 มะพร้าว 16.92 23.74 3 ละหุ่ง 11.83 16.59 4 มะกอก 12.46 17.48 5 งา 12.66 17.76 6 ถั่วเหลือง 12.46 17.48 7 รำข้าว 12.33 17.30 8 เมล็ดทานตะวัน 12.56 17.62 9 ขี้ผึ้ง 6.17 10 ไขมันวัว 12.92 18.12 11 ไขมันหมู 12.76 17.90 12 ไขมันแพะ 12.72 17.85

3. น้ำ น้ำที่ใช้ทำสบู่ได้ต้องเป็นน้ำอ่อน ถ้าเป็นนำกระด้างจะทำให้สบู่ไม่เกิดฟอง น้ำที่เหมาะในการทำสบู่มากที่สุดคือน้ำฝน ปริมาณน้ำที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะหากใช้น้ำมากต้องทิ้งไว้หลายวัน สบู่จึงจะแข็งตัว น้ำน้อยเกินไปอาจทำให้ปฏิกิริยาไม่สมบูรณ์ หากใช้ไขมันแต่ละชนิดรวมกันแล้ว 100 กรัม ควรให้น้ำประมาณ 35-38 เปอร์เซ็นต์ หรือเพิ่มตามสัดส่วน

4. ส่วนผสมเพิ่มเติมในสบู่ - บอแร็กซ์ ...สารบอแร็กซ์นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ ...แต่สารนี้ช่วยให้สบู่มีสีสันสวยงามและทำให้เกิดฟองมาก... มีจำหน่ายตามร้านขายยาหรือร้านขายของชำ มีชื่อเรียกว่า ผงกรอบ หรือผงนิ่ม ส่วนใหญ่บรรจุในถุงพลาสติก - น้ำหอม.น้ำหอมก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เช่นกัน แต่ถ้าใช้จะทำให้สบู่มีกลิ่นดีขึ้น ถ้าไขมันที่ทำสบู่นั้นเหม็นอับใช้น้ำมะนาวหรือน้ำมะกรูดผสมจะช่วยให้กลิ่นหอมยิ่งขึ้นและไม่เน่า - สารกันหืน การผลิตสบู่ไว้ใช้เอง ซึ่งใช้หมดในระยะเวลาสั้น จำเป็นต้องใส่สารกันหืนเมื่อต้องการเก็บไว้เป็นเวลานาน - สมุนไพร ใช้เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ต่อผิวหนังตามคุณสมบัติของสมุนไพรนั้นๆ

นายสมคิด ไฝแก้ว

216 ม.7 ต.เสริมกลาง อ.เสริมงาม จ.ลำปาง 081-3869114


สถานที่ที่ตั้ง (พิกัด)

ลองจิจูด 18.04708 ละติจูด 99.20161

ด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น เดิมทีบรรพบุรุษใช้กระบวนการผลิตมาเนิ่นนาน จนเป็นวิถีชีวิตในการดารงชีพ เกิดการเรียนรู้ชนิดของผักต่างๆว่าใช้เวลานานเท่าใดถึงจะเก็บบริโภคได้ และที่สำคัญไม่ใช้สารเคมีแต่อย่างใด แต่กลับใช้วัตถุดิบธรรมชาติที่มีมากมายในชุมชน เช่น มูลโค-กระบือ เป็ด ไก่ มูลค้างคาว มูลสุกร ฯลฯ ใช้แทนปุ๋ยเคมีและผักก็มีคุณค่าทางโภชนาการมาก จะสังเกตได้ว่า บรรพบุรุษของเรามีอายุยืนนานมาก บางคนมีอายุยืนถึง 100 กว่าปีก็มี จากปัจจัยเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของ “การปลูกผักปลอดสารพิษเกษตรอินทรีย์” ขึ้นในชุมชนโดยเลือกพื้นที่ ทำเลที่เป็นเอกเทศ แหล่งน้าที่ไม่มีเส้นทางไหลผ่าน พื้นที่ที่ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ดินมีสารและแร่ธาตุไม่เป็นกรดเป็นด่าง “การปลูกผัก” ในปัจจุบันนี้ ส่วนมากใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต และมุมมองของคนทั่วไป ดูจะเป็นเรื่องเดิมๆ หรือ พื้นๆ ดูแล้วไม่น่าตื่นเต้นเร้าใจ แต่การผลิตผักที่เป็นระบบเกษตรอินทรีย์ เป็นเรื่องที่ยากมากทีเดียว

ผักปลอดสาร คือ ผักที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี เช่น ไม่ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง และไม่ใช้ยากำจัดวัชพืช บางทีก็เรียกว่าผักอินทรีย์หรือปลูกผักแบบธรรมชาติ ปัจจุบันผักที่เราซื้อจากท้องตลาดมารับประทาน ส่วนมากแล้วจะเป็นผักที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์และยาฆ่าแมลงแทบทั้งนั้น ฉะนั้นผักเหล่านี้จึงเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมากถ้านำมารับประทานโดยไม่มีการล้างทำความสะอาดอย่างดี วิธีการปลูกผักปลอดสาร • ขั้นตอนแรกควรเลือกสถานที่ที่เหมาะสมก่อน เช่น บริเวณหลังบ้านที่ใดที่หนึ่ง ที่มีแสงแดดส่งถึง หรือบริเวณใกล้แหล่งน้ำ ขนาดพื้นที่เท่าไรก็ได้ตามความต้องการของผู้ปลูก • การทำแปลงผักมีหลายรูปแบบตามความเหมาะสม และความชอบของแต่ละคน เช่น ๑. ปลูกในภาชนะ เช่น ปลูกในลังกระดาษ ถังเก่า ๆ ลังโฟมเก่า ๆ และในกระถางเป็นต้น ๒. ปลูกโดยการทำแปลงเพาะแบบธรรมดาทั่วไป เช่น การยกร่องแปลงเพาะ และปลูกเป็นแถว ๆ ๓. ปลูกในกะบะ เช่น กะบะที่ทำด้วยไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือกะบะที่กั้นด้วยเศษอิฐ ก้อนหิน หรือแม้แต่สังกะสีเก่า ๆ และกระเบื้องเก่า ๆ ก็สามารถนำมากั้นทำเป็นกะบะได้ทั้งนั้น ๔. ปลูกโดยการขุดเป็นหลุม หรือร่องลึกประมาณ ๑- ๒ คืบ แล้วเอาปุ๋ยหมักผสมกับหน้าดินลงไปในหลุม หรือร่องก่อนปลูก

นายโชคสมุทร อุดก้อน

174/1 ม.6 ต.เสริมกลาง อ.เสริมงาม จ.ลำปาง 086-0639989

สถานที่ที่ตั้ง (พิกัด)

ลองจิจูด 18.05584 ละติจูด 99.18311

ด้านการทำเกษตรผสมผสาน

หลังจากที่ผมได้ไปทบทวนวรรณกรรมใหม่เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรผสมผสานใหม่ก็พบว่า....การทำเกษตรกรรมแบบผสมผสานเป็นวิถีการทำการการเกษตร เพื่อมุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ในการประกอบอาชีพ เพื่อความอยู่รอดอย่างมีความสุข ผมจึงใคร่ขอสรุปเพื่อความเข้าใจดังนี้ครับ

เกษตรผสมผสาน หรือไร่นาสวนผสม ไม่มีคำจำกัดความ เพราะสามารถแตกแขนงออกได้หลายแบบ ไม่มีการเจาะจงชนิดของพืชที่สามารถปลูก แต่การทำการเกษตรแบบผสมผสานนี้นั้น ภายในแปลงปลูกควรมีพืชพันธ์นานาชนิด มีความร่มรื่น เย็นสบาย เพื่อให้พืชหลายชนิดมีการเอื้อเฟื้อต่อกันได้มากที่สุด โดยส่วนใหญ่แล้วพืชพันธุ์ที่พบภายในสวน มีทั้งไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร ผักพื้นบ้าน ผักป่า ผักสวนครัว และอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกอย่าง รวมทั้ง แปลงดอกไม้ แปลงข้าว การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเพาะพันธ์ปลาในบ่อปลา เรียกได้ว่าเป็นการผสมผสานทุกสิ่งทุกอย่าง ในพื้นที่จำกัด 1-2 ไร่ได้อย่างลงตัว และที่สำคัญ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ความหมายของระบบเกษตรผสมผสาน และระบบไร่นาสวนผสม

ระบบเกษตรกรรมที่จะนำไปสู่การเกษตรยั่งยืน โดยมีรูปแบบที่ดำเนินการมีลักษณะใกล้เคียงกัน และทำให้ ผู้ปฏิบัติมีความสับสนในการให้ความหมายและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ระบบเกษตรผสมผสานและระบบ ไร่นาสวนผสม ในที่นี้จึงขอให้คำจำกัดความรวมทั้งความหมายของคำทั้ง 2 คำ ดังต่อไปนี้

ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว ์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุน เวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ เป็นต้น

ระบบไร่นาสวนผสม (Mixed/Diversefied/Polyculture Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีกิจกรรมการผลิตหลาย ๆ กิจกรรมเพื่อตอบสนองต่อการบริโภคหรือลดความเสี่ยงจากราคา ผลิตผลที่มีความไม่แน่นอนเท่านั้น โดยมิได้มีการจัดการให้กิจกรรมการผลิตเหล่านั้นมีการผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อ ลดต้นทุนการผลิต และคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเหมือนเกษตรผสมผสานการทำไร่นาสวนผสมอาจมีการเกื้อกูลกันจาก กิจกรรมการผลิตบ้าง แต่กลไกการเกิดขึ้นนั้นเป็นแบบ “เป็นไปเอง” มิใช่เกิดจาก “ความรู้ ความเข้าใจ” อย่างไร ก็ตามไร่นาสวนผสม สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถของเกษตรกรผู้ดำเนินการให้เป็นการดำเนินการในลักษณะ ของระบบเกษตรผสมผสานได้

รูปแบบของระบบเกษตรผสมผสาน

ระบบเกษตรผสมผสานนั้น ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะมีการดำเนินการกันมาช้านานแล้วก็ตามแต่ลักษณะของการดำเนินการ ยังมีความแตกต่างกันไป แล้วแต่การจะนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาผสมผสานกันมากน้อยแค่ไหน และผสมผสานในรูป รูปแบบใดก็ตามยังมีความหมายหลากหลาย การศึกษารายละเอียดเชิงวิชาการในด้านนี้ก็ยังมีไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบ กับการศึกษาในด้านกิจกรรมเดี่ยว ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือปลาก็ตาม ฉะนั้นการกำหนดรูปแบบดำเนินการเกษตร ผสมผสานก็จะมีหลายแบบเช่นกัน ทั้งนี้อาจจะยึดการแบ่งตามวิธีการดำเนินการลักษณะพื้นที่กิจกรรมที่ดำเนินทรัพยากร เป็นต้น ซึ่งพอที่จะกล่าวได้ดังนี้

นายอ้าย วงค์หล้า

171 ม.3 ต.เสริมกลาง อ.เสริมงาม จ.ลำปาง 093-2684878

สถานที่ที่ตั้ง (พิกัด)

ลองจิจูด 18.09519 ละติจูด 99.13360

เป็นคนที่มีความรู้ มีความขยัน มีความอดทน ในการใช้ชีวิตเพราะครอบครัวพ่อแม่มีลูกหลายคนจึงไม่สามารถทำให้ศึกษาต่อที่สูงขึ้นได้ เมื่อจบการศึกษาได้ออกมาช่วย พ่อแม่ทำนา และได้ผันตัวเองไปทำงานอยู่ที่ต่างประเทศระยะหนึ่ง และกลับมามีครอบครัวที่อบอุ่นใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสามารถสะสมทุนทางปัญญารักษาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม

ด้านการทำเกษตรอินทรีย์

คือ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทั้งทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ เวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์พยายามประยุกต์กลไกและวัฐจักรธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์นี้เป็นหลักการสากล ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ-สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย[1]

แนวคิด

แนวคิดพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์คือ การบริหารจัดการการผลิตทางการเกษตรแบบองค์รวม ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนจากการเกษตรแผนใหม่ที่มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตชนิดใด ชนิดหนึ่งสูงสุด โดยการพัฒนาเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับการให้ธาตุอาหารพืชและป้องกันกำจัดสิ่งมีชีวิตอื่นที่อาจมีผลในการ ทำให้พืชที่ปลูกมีผลผลิตลดลง แนวคิดเช่นนี้เป็นแนวคิดแบบแยกส่วน เพราะแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนฐานการมองว่า การเพาะปลูกไม่ได้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ดังนั้นการเลือกชนิดและวิธีการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ มุ่งเฉพาะแต่การประเมินประสิทธิผลต่อพืชหลักที่ปลูก โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรการเกษตรหรือนิเวศการเกษตร สำหรับเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นการเกษตรแบบองค์รวมจะให้ความสำคัญกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน, การรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของฟาร์ม ทั้งนี้เพราะแนวทางเกษตรอินทรีย์อาศัยกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศในการทำ การผลิต ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จะประสบความสำเร็จได้ เกษตรกรจำเป็นต้องเรียนรู้กลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ

จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เกษตรอินทรีย์จึงปฏิเสธการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี เนื่องจากสารเคมีการเกษตรเหล่านี้มีผลกระทบต่อกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ นอกเหนือจากการปฏิเสธการใช้สารเคมีการเกษตรแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของวงจรของธาตุอาหาร,การประหยัดพลังงาน, การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตร และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือได้ว่าเกษตรอินทรีย์เป็นการบริหารจัดการฟาร์มเชิงบวก (positive management) และการจัดการเชิงบวกนี้เองที่ทำให้เกษตรอินทรีย์แตกต่างอย่างสำคัญจากการ เกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีแบบปล่อยปะละเลย (ที่มักอ้างว่า เป็นการเกษตรตามแบบธรรมชาติ) หรือเกษตรปลอดสารเคมีและเกษตรไร้สารพิษที่เฟื่องฟูในบ้านเรามานานหลายปี

เนื่องจากเกษตรอินทรีย์เป็นการเกษตรที่ให้ความสำคัญกับการทำฟาร์มเชิง สร้างสรรค์ (เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรในไร่นา) ดังนั้นเกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยว กับธรรมชาติและการบริหารจัดการฟาร์มของตนเพิ่มขึ้นด้วย ผลที่ตามมาก็คือเกษตรอินทรีย์จึงเป็นแนวทางการเกษตรที่ตั้งอยู่บนกระบวนการ แห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา เพราะเกษตรกรต้องสังเกต, ศึกษา, วิเคราะห์-สังเคราะห์ และสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการทำการเกษตรของฟาร์มตนเอง ซึ่งจะมีเงื่อนไขทั้งทางกายภาพ (เช่น ลักษณะของดิน ภูมิอากาศ และภูมินิเวศ) รวมถึงเศรษฐกิจ-สังคมที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น เพื่อคัดสรรและพัฒนาแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่เฉพาะและเหมาะสมกับฟาร์มของตัว เองอย่างแท้จริง

ผู้บันทึกข้อมูล

สิบเอกธนกฤต ไผทฉันท์ ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลเสริมกลาง

อ้างอิง

จากการเก็บข้อมูลจากการสอบถามเจ้าตัว

https://www.google.com/maps