ประเพณีพิธีกรรมในรอบปี เป็นประเพณีที่ชาวบ้านยืดถึอปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีตบางพิธีกรรม ถือเป็นพิธีที่สำคัญสำหรับคนในหมู่บ้าน สมาชิกในครอบครัวที่ออกไปทำงานนอกหมู่บ้าน ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศก็จะกลับมาร่วมพิธีด้วย พิธีกรรมต่างๆที่กระทำนั้นจะเป็นในส่วนที่ของประเพณีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีส่วนคล้ายคลึงกับที่อื่นๆหรือตามที่สากลระบุไว้ คือเมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา ชาวบ้านก็จะไปวัดเพื่อฟังเทศน์ฟังธรรมและเวียนเทียนในเวลากลางคืน แต่บางประเพณีก็จะเป็นประเพณีดั้งเดิมของท้องถินที่ยังมีการปฏิบัติและสืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน มีการปฏิบัติทางด้านพิธีกรรมที่แตกต่างจากที่อื่นๆ

1.ประเพณีพิธีกรรมในเดือนมกราคม หรือเดือนสี่ (เมือง)

ประเพณีพิธีกรรมในเดือนมกราคม หรือเดือนสี่ (เมือง) ในชุมชนจะมีประเพณีที่สำคัญ คือ ประเพณีตานข้าวใหม่ การตานข้าวใหม่ของชาวบ้านที่นี่จะมีขั้นตอนและวัตถุประสงค์การตาน ดังนี้

วันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ หรือเรียกว่าเดือน 4 เป็งเป็นประเพณีทานข้าวใหม่ และตานข้าวจี่ ข้าวหลาม ชาวลานนาไทยได้ถือเป็นประเพณีทาตลอดจนถึงทุกวันนี้ ตอนที่จะมีข้าวใหม่มาทนนั้น จะขอเล่าความเป็นมาถึงการมีข้าวใหม่มาทานเสียก่อน คือ เราจะต้องทำไร่ทำนาข้าวก่อนจึงจะมีข้าวใหม่ทานได้ การทำนาได้ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ลือพ่ออุ้ยพ่อหม่อน ปู่ลุง อาวอา สืบสานกันมาถึงลูกถึกหลาน เหลน ล้วนแต่มีการทำไร่ทำนากันทุกบ้านเรือน จะมีมากมีน้อยก็ตามฐานะของตน ผู้ไม่มีนาก็ได้เป็นเช่านาเขาทำบ้าง ไปรับจ้างเขาทำก็มีมาก เพื่อได้มาให้เพียงพอแก่ครอบครัว ถือเป็นอาชีพของคนลานนา ส่วนอาชีพอื่นเป็นอาชีพเสริม

การทำนาสมัยก่อนต้องใช้ แรงวัวแรงควาย ชักลากเฝือไถต้องเตรียมเครืองใช้ มีไถเฝือ แอกควาย แอกน้อย เชือกต่อสำหรับผูกแอก ผูกไถ เมื่อเดือน 8-9-10 มาเถิง ฝนเริ่มตกลงมา ชาวนาก็จะตกกล้า หรือหว่านกล้า เริ่มเอาน้ำเข้าตกกล้าก่อน แล้วนะเอาข้าวเชื้อ (พันธุ์ข้าว) ประมาณกี่ต๋าง (กี่เปี่ยด) แล้วแต่นามีมากน้อยเท่าไรแล้วนำข้าวลงแช่น้ำ 3 คืน แล้วเอาออกอุก (อม) เจ้าของจะไถนาทำแปลงหว่านกล้าเมื่อแช่ 3 คืน แล้วเอาออกใส่ถุงใส่ทอทับด้วยใบตอง แล้วอบไว้ 2 คืน เรียกข้าวน้ำ 3 บก 2 ก็จะแตกงอกจึงนำไปหว่านในแปลงนาที่จัดไว้ หว่านกล้าแล้ว เจ้าของนาก็จะไถนารอกล้า ถ้าน้ำอำนวยให้ จะหมักไว้จนขี้ไถยุบตัวลงหญ้าต่าง ๆ จะเน่ากลายเป็นปุ๋ยไปในตัว แล้วก็เริ่มเผือกกลับไปกลับมาให้เรียบ ก็ลงมือปลูกข้าวต่อจากนั้นก็ค่อยดูแลหญ้าและศัตรูพืชในขณะปลูกข้าวจะเอามือ เอาวันกัน ช่วยเหลือกันและกันไม่ต้องจ้าง มีแต่หาข้าวปลาอาหารไปเลี้ยงกันสามารถปลูกได้อย่างรวดเร็ว ไม่นิยมจ้างกันเช่นทุกวันนี้ เมื่อย่างเข้าเดือนกันยายน-ตุลาคม ข้าวจะตั้งก่องอกงามเรียกว่า สร้างต้นสร้างก๋อ พฤศจิกายน ข้าวก็ตั้งท้องออกรวง ธันวาคม ข้าวก็จะเหลืองอร่ามเต็มทุ่งนา ปลายเดือนก็เริ่มเก็บเกี่ยว แล้วมัดบ้างเป็นฟ่อนบ้าง แล้วรวมกันนวดฟากกับรางเรียกว่า (ฮางตี๋ข้าว) กว้างขนาด 1 เมตร ยาวประมาณ 4 เมตร ช่วยกันตีสนุกสนาน ส่วนมากมักตีกันตอนเย็นและเข้าคืน เพราะอากาศมันเย็นทำงานได้มาก แสงสว่างก็อยู่ใต้แสงเดือน และใช้เฟื่องจุดไฟแจ้งสว่างพอดีข้าวได้เสร็จแล้วก็ขนข้าวไปเก็บในยุ้งฉ่าง (หล่องข้าวหรือถุข้าว)

เมื่อเก็บเรียบร้อยแล้ว ก็ทำขวัญข้าว มื้อจันวันดีไล่ตามปักตืน วันผีกินวันคนกินทั้งข้างขึ้น และข้างแรม เมื่อได้วันดีแล้วก็เริ่มกินข้าวใหม่ ส่วนหนึ่งนำไปทำบุญแด่พระสงฆ์ สามเณร อุทิศส่วนกุศลให้บิดามารดาและพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วนั้น

เมื่อถึงเดือน 4 เป็ง ประเพณีตานข้าวใหม่ ประชาชนก็นำข้าวเปลือกข้าวสารใหม่ ข้าวหลาม ข้าวจี่ ข้าวต้ม ขนมจ๊อก อาหาร น้ำตาล น้ำอ้อยไปใส่บาตรและยังมีพิธีบูชากองหลัวถวายเป็นพุทธบูชาอีก คือ พระภิกษุสามเณรและประชาชนชาวพุทธ ไปตัดเอาไม้จี่ ยาวบ้าง สั้นบ้างมาก่อเป็นกองหลัวทำเป็นเจดีย์แล้วจุดบูชาตอนเช้า เป็นการบูชาพระรัตนตรัย โดยความหมายเพื่อเผากิเลส ตัณหาให้หมดไป สมัยนี้มีให้เห็นน้อยเต็มทีเพราะไม้จี๋หายาก ถูกตัดฟันไปหมด ป่าไม้วอดวายไปหมด จนหาดูได้ยากแล้วเพราะมนุษย์คนเรานั้นอหละ

ประเพณีทานข้าวใหม่

2. ประเพณีพิธีกรมในเดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือนห้า (เมือง)

ประเพณีพิธีกรมในเดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือนห้า (เมือง) ของชาวบ้านจะมีประเพณีเดียวเท่านั้น คือ วันมาฆบูชา ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีสากลที่ทุกๆที่ในประเทศไทยให้ความสำคัญพิธีกรรมที่ชาวบ้านกระทำในวันนี้มีรายละเอียดขั้นตอน ดังต่อไปนี้

วันมาฆบูชาเริ่มต้นขึ้นภายหลังที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จเดินทางไปปฏิบัติพุทธกิจแสดงธรรม ณ ถ้ำสุกรขาตาเสร็จสิ้นแล้ว พระองค์ได้เดินทางกลับมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เมื่อหลังจากที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้ไปเป็นเวลา 9 เดือน ในวันที่พระองค์เสด็จกลับมาประทับตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะ หรือเดือน 3 ในเวลาบ่าย พระอรหันตสาวกได้เดินทางมามาเข้าเฝ้าพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ สถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า อันประกอบไปด้วย คณะศิษย์ของชฎิล 3 พี่น้อง จำนวน 1,000 รูป และคณะของพระอัครสาวก จำนวน 250 รูป รวมจำนวนได้ 1,250 รูป โดยในจำนวนนี้มิได้นับรวมชฎิล 3 พี่น้องและอัครสาวกทั้ง 2 ซึ่งการเดินทางมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในวันมาฆฤกษ์นี้นับเป็นการเข้าประชุมของพระอรหันต์ผู้เป็นมหาสังฆนิบาติ และประกอบด้วย องค์ประกอบอัศจรรย์ทั้ง 4 ประการที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต อันประกอบไปด้วย

พระสงฆ์สาวกมาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายเป็นจำนวน 1,250 รูป ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ

พระสงฆ์ที่เดินทางมาประชุมทั้งหมดต่างล้วนแต่เป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา หรือการเป็นพระสงฆ์โดยได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง

พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6

วันที่พระสงฆ์มาประชุมตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ โดยอาจเรียกวันนี้เป็นอีกคำหนึ่งได้ว่า วันจาตุรงคสันนิบาต หรือวันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4

เช่นเดียวกับชาวบ้านที่จะถือเอาวันนี้เป็นวันดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้สงบ โดยการทำบุญตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รวมไปถึงการเวียนเทียนรอบอุโบสถในช่วงค่ำของวันนี้อีกด้วย ไม่ว่าประเพณีใดๆก็ตามชาวบ้านร่วมทั้งชาวปกากะญอและคนเมืองต่างก็ให้ความสำคัญ คือจะมีการไปทำบุญตักบาตรที่วัดเสมอๆอย่างเช่นวันนี้ที่ชาวบ้านจะตื่นกันแต่เช้าเพื่อนำข้าวปลาอาหารมาทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ฟังธรรมกันอย่างพร้อมเพียงตั้งแต่ประมาณ 07.30 น. ซึ่งพิธีจะเสร็จสิ้นประมาณ 10.00 น. จากชาวบ้านจะแยกย้ายกลับบ้านแล้วจะมาพร้อมกันอีกทีประมาณ 20.00 น. ที่วัดเพื่อที่จะเวียนเทียน การเวียนเทียนก็จะเวียนกัน 3 รอบ บริเวณรอบพระอุโบสถ สิ่งที่จะเตรียมมาในการเวียนเทียนก็จะมีกรวยดอกไม้ ธูปเทียน ในตอนนี้ชาวบ้านทั้งเด็ก วันรุ่นหนุ่มสาวต่างก็ให้ความสนใจเข้าร่วมพิธีกันอย่างพร้อมเรียง

กิจกรรมวันมาฆบูชา

3. ประเพณีพิธีกรรมในเดือนมีนาคม หรือเดือนหก (เมือง)

ประเพณีพิธีกรรมในเดือนมีนาคม หรือเดือนหก (เมือง) ของชาวบ้านจะไม่มีประเพณีพิธีกรรมใดๆเนื่องมาจากในเดือนนี้จะเป็นการพักผ่อนจากการทำไร่ทำนา และเป็นช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร นั่งก็คือหอม กระเทียม และถั่วลิสง

การเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร

4. ประเพณีพิธีกรรมในเดือนเมษายน หรือเดือนเจ็ด (เมือง)

ในเดือนเมษายน หรือเดือนเจ็ด (เมือง) ของชาวบ้านจะมีประเพณีที่สำคัญอยู่ 2 ประเพณี ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์และประเพณีรดน้ำดำหัว

ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีรดน้ำดำหัว

5.ประเพณีพิธีกรรมในเดือนพฤษภาคม หรือเดือนแปด (เมือง)

ประเพณีพิธีกรรมในเดือนพฤษภาคม หรือเดือนแปด (เมือง) จะเป็นประเพณีที่สำคัญอีกประเพณีหนึ่งของสังคมไทยเลยว่าได้ นั่นก็คือ วันวิสาขบูชา ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ถือว่าวันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลที่นอกจากชาวไทยจะให้ความสำคัญแล้ว ชาวต่างชาติที่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาก็ให้ความสำคัญกับวันนี้เช่นเดียวกััน

วันวิสาขบูชา

6.ประเพณีพิธีกรรมในเดือนมิถุนายน หรือเดือนเก้า (เมือง)

ประเพณีพิธีกรรมในเดือนมิถุนายน หรือเดือนเก้า (เมือง) ของชาวบ้านจะมีด้วยกัน 2 ประเพณี คือ ประเพณีกรรมบ้าน (ก๋ำบ้าน) ซึ่งเป็นประเพณีของชาวบ้านปกากะญอ และประเพณีการเลี้ยงผีปู่ย่า

ประเพณีการเลี้ยงผีปู่ย่า

7.ประเพณีพิธีกรรมในเดือนกรกฎาคม หรือเดือนสิบ (เมือง)

ประเพณีพิธีกรรมในเดือนกรกฎาคม หรือเดือนสิบ (เมือง) ของชาวบ้านจะมีด้วยกัน 2 ประเพณี นั่น คือ วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

8.ประเพณีพิธีกรรมในเดือนสิงหาคมหรือเดือนสิบเอ็ด (เมือง)

ประเพณีพิธีกรรมในเดือนสิงหาคมหรือเดือนสิบเอ็ด (เมือง) ของชาวบ้านนั้นไม่มีประเพณีพิธีกรรมใดๆเพราะว่าเป็นช่วงที่ชาวบ้านในชุมชนทำไร่ทำนา อีกทั้งยังเป็นช่วงหน้าฝนซึ่งชาวบ้านมักจะออกไปหาของป่าหรือล่าสัตว์

ชาวบ้านมักจะออกไปหาของป่า

9.ประเพณีพิธีกรรมในเดือนกันยายน หรือเดือนสิบสอง (เมือง)

ประเพณีพิธีกรรมในเดือนกันยายน หรือเดือนสิบสอง (เมือง) ที่พบนั้นมีอยู่เพียง 1 ประเพณีเท่านั้น คือ ประเพณีตานก๋วยสลาก ซึ่งจะมีขั้นตอนการประกอบพิธีกรรม

ประเพณีตานก๋วยสลาก

10.ประเพณีพิธีกรรมในเดือนตุลาคม หรือเดือนเกี๋ยง (เมือง)

ประเพณีพิธีกรรมในเดือนตุลาคม หรือเดือนเกี๋ยง (เมือง) ของที่ชาวบ้านจะมี 1 ประเพณี นั่งคือ วันออกพรรษา ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระสงฆ์ออกจากการจำพรรษามาเป็นเวลา 3 เดือน เป็นวันนี้จะมีขั้นตอนการประกอบพิธี

วันออกพรรษา

11.ประเพณีพิธีกรรมในเดือนพฤศจิกายน หรือเดือนยี่ (เมือง)

ประเพณีพิธีกรรมในเดือนพฤศจิกายน หรือเดือนยี่ (เมือง) ของชาวบ้านจะมีประเพณีที่สำคัญที่ชาวบ้านยังคงปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา นั่นคือ ประเพณียี่เป็ง

ประเพณียี่เป็ง

ผู้บันทึกข้อมูล

สิบเอกธนกฤต ไผทฉันท์ ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลเสริมกลาง

เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน"