เรื่องที่ 2 แนวทางในการสืบสาน

มรดกทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย

คำว่า “สืบสาน” มีทั้งสืบและสาน คำว่า สืบ ในความหมายหนึ่ง หมายถึง สืบสาว คือ ย้อนลงไปในความเป็นมาเพื่อหาเหตุปัจจัยในอดีต และการย้อนลงไปหาที่เรียกว่า สืบสาว นั้น มี 2 ด้าน ด้านหนึ่ง คือ สืบสาวในเชิงประวัติศาสตร์ เพื่อหาความเป็นมาในอดีต ว่าวัฒนธรรมนี้เกิดสืบเนื่องมาจากอะไร ต้นตออยู่ที่ไหน สืบต่อกันมาอย่างไร ทุกอย่างที่มีอยู่มีความเป็นมาที่สืบสาวไปในอดีตได้ ถ้าชนชาติใดมีปัญญา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรากฐานที่มาในประวัติศาสตร์แห่งวัฒนธรรมของตน ชาตินั้นก็มีทางที่จะทำให้วัฒนธรรมของตนเจริญงอกงามได้ แต่ในบางสังคม คนมีความมืดมัวไม่รู้จักสืบสาว หาความเป็นมาแห่งวัฒนธรรมของตนในอดีต ก็จะทำให้วัฒนธรรมมืดมัวไปด้วย

วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ทำความเจริญ งอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมการแต่งกาย วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมชาวเขา เป็นต้น

ความมุ่งหมายของมรดกทางวัฒนธรรม

1. เพื่อปลูกฝังมรดกทางวัฒนธรรม

2. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ มรดกทางวัฒนธรรม

3. เพื่อเป็นการส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม

4. เพื่อเป็นการฝึกให้สามารถนาไปปฏิบัติได้

แนวทางการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรม

1. ค้นคว้า วิจัย ศึกษา และเก็บรวบรวมข้อมูล

2. การอนุรักษ์โดยการปลูกจิตสำนึก และสร้างจิตสำนึกที่ต้องร่วมกันอนุรักษ์

3. การฟื้นฟูโดยเลือกสรรมรดกทางวัฒนธรรมที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไป แล้วมาทำให้มีคุณค่า และมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต

4. การพัฒนาโดยริเริ่ม สร้างสรรค์ และปรับปรุงมรดกทางวัฒนธรรมในยุคสมัย ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

5. การถ่ายทอดโดยนำมรดกทางวัฒนธรรมมาเลือกสรร กลั่นกรอง ด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบ และรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมรับรู้

6. การส่งเสริมกิจกรรมโดยการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรม

7. การเผยแพร่ แลกเปลี่ยนโดยการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนมรดกทางวัฒนธรรมอย่างกว้างขวางด้วยสื่อและวิธีการต่าง ๆ