วัฒนธรรม

ประเพณีปีใหม่เมือง (คำเมือง: ) เป็นประเพณีที่ปรากฏในเดือนเมษายน หรือเดือน 7 เหนือ ประเพณีปีใหม่เมืองเป็นการเปลี่ยนศักราชใหม่ การเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีนั้นอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อเรื่องการเปลี่ยนศักราชใหม่ และเป็นโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้มาอยู่รวมกันเพื่อทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ ดำหัว เล่นน้ำ และขอพรจากผู้ใหญ่อีกด้วย

การขอขมา ดำหัวแบบล้านนา

  • การดำหัวแบบล้านนา จะไม่เหมือนการรดน้ำ ดำหัว แบบของภาคกลางหรืออื่นๆ กล่าวคือ การทำแบบล้านนาจะมีเอกลักษณ์เฉพาะที่สืบทอดกันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านนา มานานแล้ว การดำหัว ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนา หมายถึงการ สระผม แต่ในพิธีกรรมโดยในช่วงปีใหม่นี้ หมายถึงการชำระล้างสิ้งอันเป็นการอัปมงคล ในชีวิตไปจากร่างกายตน เพื่อพร้อมรับเตรียมในปีใหม่นั้น ด้วยการใช้ส้มป่อย เป้นการสระ ตลอดจนนำส้มป่อยไปมอบแก่คนที่ตนนับถือ เพื่อเป็นการขอขมา ขอบคุณหรือแสดงความเคารพ
  • การดำหัวตนเอง คือหัวหน้าครอบครัวทำพิธีเสกเป่าน้ำขมิ้นส้มป่อย ด้วยคาถาที่สิริมงคล แล้วนำน้ำส้มป่อยมา ลูบศีรษะ
  • การดำหัวผู้น้อย เช่นบุตรหลาน โดยจะนำน้ำขมิ้นส้มป่อย ลูบศีรษะ โดยทำหลังจากข้อที่ 1 เสร็จแล้ว
  • การดำหัวผู้ใหญ่ เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ คนที่นับถือ โดยจะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยพร้อมสิ่งของและเครื่องสักการะ ไปมอบแด่ที่ตนนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาโทษที่ได้ล่วงเกิน เมื่อผู้ใหมญ่ได้รับแล้ว ท่านจะเอามือจุ่มน้ำขมิ้นส้มป่อยมาลูบศีรษะและอาจสลัดใส่ผู้ที่ไปดำหัวคลายการประพรมน้ำมนต์ พร้อมให้พร ซึ่งการกระทำในข้อนี้ จะแตกต่างกับ สงกรานต์แบบไทยที่ทำคือเอามามารดมือผู้ใหญ่ แต่แบบล้านนาจะกระทำอีกแบบหนึ่งดังข้างต้น[13]