สืบสานผ้าทอกะเหรี่ยง 

การทอผ้าพื้นเมืองแบบกะเหรี่ยง เป็นการทอด้วยเครื่องทอขนาดเล็ก โดยใช้เข็มขัดคาดหลัง (backstrap) เข็มขัดหรือสายคาดหลังอาจทำด้วยผ้า แผ่นหนัง หรือเชือกที่มีความแข็งแรง การทอผ้าทั่วไปจะใช้เสาแข็งแรง 4 เสา เพื่อขึงเส้นด้ายยืนให้ตึง แต่การทอด้วยกี่เอวใช้การขยับเคลื่อนตัวของผู้ทอ บังคับเส้นด้ายยืนให้ตึงหรือหย่อนได้ตามต้องการ การทอด้วยกี่เอว นิยมทอเพื่อเป็นเครื่องใช้เล็กๆ เช่น เข็มขัด กระเป๋า สายสะพาย หรือเอาไว้ตกแต่งชิ้นงานต่างๆ หากต้องการผ้าชิ้นใหญ่ก็จะต้องนำมาเย็บต่อกัน
ข้อดีของการทอผ้าด้วยกี่เอว เป็นกี่ขนาดเล็ก พกพาสะดวก ขั้นตอนไม่ซับซ้อน แต่ชิ้นงานที่ทออกมาก็สวยงาม ไม่แพ้กี่ใหญ่


อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นเครื่องทอผ้า

ประกอบด้วย 1) ฉือหย่า (ด้าย) 2) คว่าผี่ (ผ้าพันสะโพก) 3) หย่าสือผี่ (ไม้กระทบ)

 4) หย่าคู้ลูถู (ไม้แยกด้าย)  5) หย่าลู่ดา (ไม้ค้ำเอว) 

ขั้นตอนการทอผ้า มีดังนี้

1) คล้องเส้นด้ายลงหลักที่ 1 แล้วสาวเส้นด้ายผ่านหลักที่ 2-5 แล้วคล้องหลักที่ 6 จากนั้นจึงสาวกลับมาคล้องหลักที่ 1 อีก

2) ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงเสมอกัน แล้วนำมาพันรอบหลักที่ 2

3) ดึงด้ายให้ตึงเสมอกัน พาดด้านหน้าหลักที่ 3 เป็นจุดแยกด้าย

4) ใช้ด้ายอีกกลุ่มหนึ่งเป็นด้ายตะกอ สอดเข้าไประหว่างด้ายหรือแยกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน

5) ส่วนที่ไม่ได้คล้องตะกอ แยกเส้นด้ายผ่านหลังไปหลักที่ 4 และส่วนที่คล้องตะกอให้ดึงผ่านหน้าหลักที่ 4

6) ดึงด้ายให้ตึง พันรอบหลักที่ 6 แล้วสาวด้ายให้ตึงอีกครั้ง

7) ดึงด้ายกลับมาเริ่มที่หลักที่ 1 อีกครั้ง โดยทำตาม 1-6 ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ความสูงและความกว้างที่ต้องการ

8) หากต้องการสลับสี ก็เปลี่ยนสีด้าย

9) ถอดไม้ออกจากเครื่องทอ แล้วรั้งผ้าไปผูกไว้กับฝาเสาหรือระเบียงเรือนให้มีความสูงประมาณศีรษะของผู้ทอ

10) นำไม้ค้ำเอวและผ้าพันสะโพกผูกรอบเอวของผู้ทอ ดึงเครื่องทอให้ตึงพอประมาณ แล้วจึงเริ่มทอ

ลวดลายบนผืนผ้าของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะ ชนิดที่เมื่อมองเห็นก็รู้ได้ทันทีว่าผู้สวมใส่คือกลุ่มชาติพันธุ์ใด ชาวลีซูก็มีลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเช่นกันโดยส่วนใหญ่จะเป็นริ้วสีที่หลากหลายผสานลายผ้าปัก อาทิ ลายอี๊กือจะย่า (ลายริ้วผ้าสลับสี) ลายอ๊ะหน่ายือ (ลายเขี้ยวหมา) เป็นต้น 



หล่งที่มา เนื้อหา 

จากผู้นำชุมชนและชาวบ้านบ้านสัญชัย 


แหล่งที่มา รูปภาพ

จากชาวบ้านบ้านสัญชัย

ผู้เรียบเรียง

นางสาวทิภามณี   อุปมา