ฟักทอง สร้างรายได้

ฟักทอง ผักสวนครัวพื้นบ้านที่ทุกคนต่างรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี มีการใช้ฟักทองในการทำอาหารมากมาย ทั้งของคาว ของหวาน และเครื่องดื่ม หรือจะต้มกินเล่น ๆ เป็นอาหารว่าง อาหารลดน้ำหนักก็เยี่ยมไปเลย ปัจจุบันนี้เริ่มมีคนนิยมหันมาปลูกฟักทองไว้กินเองที่บ้าน 

       ฟักทอง จัดอยู่ในกลุ่มพืชตระกูลแตง (Cucurbitaceae) เช่นเดียวกับแตงกวา ฟักแฟง มะระ บวบ และแตงโม เป็นต้น ฟักทองเป็นพืชผักสวนครัว ที่ปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตดีในดินทุกชนิด จึงสามารถพบเห็นการปลูกฟักทองอยู่ทั่วประเทศไทย 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของฟักทอง 

ฟักทอง เป็นพืชล้มลุกปีเดียว (มีอายุไม่เกิน 1 ปี) ลำต้นเป็นเถาเลื้อย ยาวตั้งแต่ 3-6 เมตร ลำต้นอ่อนเป็นห้าเหลี่ยมหรือกลม ข้อปลายมีหนวดแยก 3-4 แฉก ใบนิ่ม รูปร่างห้าถึงเจ็ดเหลี่ยม หรือเกือบกลม กว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว 15-30 เซนติเมตร มีขนสาก ๆ ระคายมือ ริมใบมีรอยหยักเว้าลึก 5-7 หยัก ดอกมีเพศผู้และเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ผลในแต่ละสายพันธุ์จะมีรูปร่าง ขนาด และรอยหยักของผิวที่แตกต่างกัน มีทั้งแบบกลม แบบแป้น และเนื้อในส่วนใหญ่จะเป็นสีเหลือง เหลืองอมส้ม สีเหลืองอมเขียว และสีส้ม เป็นต้น มีเมล็ดรูปร่างคล้ายไข่แบนอยู่ด้านในสุดจำนวนมาก 

สายพันธุ์ของฟักทองยอดนิยม 

    ฟักทองพันธุ์หนัก   มีขนาดใหญ่ที่สุด ลักษณะผิวด้านนอกขรุขระตะปุ่มตะป่ำ สีเขียวเข้มจนเกือบดำ บางพันธุ์อาจจะมีลวดลายสีเหลือง สีเขียวอ่อน หรือสีขาว แซมอยู่บ้าง ผลใหญ่ น้ำหนักประมาณ 5-8 กิโลกรัม ผลแป้น เป็นพู เนื้อหนาสีเหลือง และสีเหลืองอมเขียว รสชาติหวาน มัน และเหนียว ได้แก่ 

   1. ฟักทองทองอำไพ 342 (เจียไต๋) และฟักทองทองอำไพ 426 (เจียไต๋)

    2. ฟักทองทองอำพัน 346 (เจียไต๋)

    3. ฟักประกายเพชร (ศรแดง)

     4. ฟักทองลายข้าวตอกลูกใหญ่ ได้แก่ ฟักทองประกายเงิน (ศรแดง) 

     5. ฟักทองคางคก ได้แก่ ฟักทองทองเนื้อ 4 (เสือดาว) ฟักทองทองเนื้อ 9 (เสือดาว)




ปลูกฟักทอง เตรียมอะไรบ้าง 

1. การเตรียมพื้นที่และแปลงปลูกฟักทอง

       ฟักทอง มีลำต้นเลื้อยไปตามพื้น มีหนวดเกี่ยวพันไปตามพื้นดิน จึงต้องการพื้นที่ในการปลูกเยอะ โดยให้เว้นระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 0.75-1.5 เมตร โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกเป็นสำคัญ เช่น

2. การเตรียมดินปลูกฟักทอง

           ฟักทองเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีความชื้นในดินที่พอเหมาะ จึงควรใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วในการย่อยดิน เพื่อให้ดินมีความร่วนซุย สามารถระบายน้ำได้ดี หากที่ดินนั้นเคยใช้เพาะปลูกมานาน ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด้วย และควรไถดินให้ลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร เพราะฟักทองเป็นพืชที่มีระบบรากแบบฝังลึก

3. เลือกช่วงเวลาในการปลูกฟักทอง

       ฟักทองชอบอากาศร้อนและแห้ง ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวัน แต่ต้องมีความชื้นในดินที่เพียงพอด้วย อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 30 องศาเซลเซียส ในประเทศไทยสามารถปลูกฟักทองได้ดีที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์


วิธีการปลูกฟักทอง 

วิธีการปลูกที่นิยมมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่

1. การปลูกฟักทองแบบหยอดเมล็ด

2. การปลูกฟักทองแบบเพาะกล้า


การดูแลรักษาฟักทอง 

เมื่อต้นฟักทองเริ่มเจริญเติบโต ควรมีการดูแลรักษา ใส่ปุ๋ย รดน้ำ พรวนดิน และกำจัดโรคหรือแมลงศัตรูที่อาจจะสร้างความเสียหาย ดังนี้

1. การให้ปุ๋ย

          ในระยะแรกของการปลูกฟักทอง เมื่อมีอายุได้ 10-14 วัน ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรีย ในอัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นให้ใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 ตอนต้นฟักทองมีอายุได้ 21-25 วัน โดยให้โรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม

2. การให้น้ำ

           ฟักทองเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขังแฉะ ควรให้น้ำในปริมาณที่พอเหมาะ ในช่วงที่ต้นฟักทองกำลังออกดอกและติดผล ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้ขาดน้ำ ระบบการให้น้ำที่ดี คือ ให้น้ำเข้าร่อง เพื่อให้น้ำซึมเข้าสู่ดินโดยตรง ไม่ควรพ่นน้ำผ่านใบของฟักทอง เพราะอาจจะทำให้ใบเปียกน้ำจนเป็นโรคเน่าได้

3. การพรวนดินและการกำจัดวัชพืช

           ควรทำอย่างสม่ำเสมอตอนที่ต้นฟักทองยังเล็ก และเมื่อต้นฟักทองเริ่มโตตอนเลื้อยคลุมดินแล้ว ก็จะไม่มีวัชพืชขึ้นอีก ซึ่งก็ไม่ต้องพรวนดินอีกเช่นกัน

4. การกำจัดโรคหรือแมลงศัตรูที่อาจจะสร้างความเสียหาย

       โรคที่มักเกิดกับฟักทองคือ โรคราน้ำค้าง เป็นโรคที่เกิดทางใบ มักระบาดในช่วงฤดูฝน หรือการให้น้ำแบบพ่นฝอย สามารถป้องกันได้ด้วยการไม่ให้น้ำแบบพ่นฝอย นอกจากนี้ ปัญหาแมลงศัตรูฟักทองนั้นมีไม่มากนัก เพราะใบและก้านที่มีขนช่วยในการป้องกันภัยจากแมลงได้ดี


การเก็บเกี่ยวฟักทอง 

    สำหรับฟักทองพันธุ์เล็ก สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุ 45-60 วัน ส่วนฟักทองพันธุ์กลางจนถึงพันธุ์ใหญ่ 120-180 วัน หากต้องการเก็บผลอ่อน ให้สังเกตที่เปลือก           ถ้าฟักทองยังอ่อนผิวจะนิ่ม  สีเขียว และเนื้อข้างในจะนุ่ม ส่วนผลที่แก่จัดเต็มที่ ผิวเปลือกจะแข็ง และควรเก็บให้เหลือเถาประมาณ 7-10 ซม. ติดมาด้วย เพื่อยืดอายุและรักษาผลของฟักทองที่เก็บเกี่ยวมาให้อยู่ได้นานที่สุดนั่นเอง

        

ข้อมูลเนื้อหา โดย นางสาวทิภามณี  อุปมา

เรียบเรียงเนื้อหา โดย  นางสาวทิภามณี  อุปมา

รูปถ่าย/ภาพประกอบ โดย  ชาวบ้านบ้านสัญชัยและนางสาวทิภามณี   อุปมา