นักศึกษาเร่ร่อน

การศึกษาสําหรับผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาส เป็นเรื่องสําคัญที่บัญญัติไว้ใน กฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ระบุว่า “ บุคคลยอมมีสิทธิเสมอกันใน การรับการศึกษาไม่น้อยกวสาสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ” และพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545) มาตรา 22 ระบุว่า “การจัดการ ศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้้และผู้เรียนพัฒนามีความสําคัญ ที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ”รวมทั้ง สิทธิเด็ก ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พุทธศักราช 2546”

การจําแนกเด็กด้อยโอกาส

กระทรวงศึกษาธิการ โดยคณะกรรมการปฏิรูปการจัดการศึกษา เพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส

และผู้มีความสามารถพิเศษ ได้จําแนกเด็กด้อยโอกาสไว้ 10 ประเภท ดังนี้

1. เด็กถูกบังคับให้ขายแรงงาน หรือแรงงานเด็ก หมายถึง เด็กที่ต้องทํางานหรือถูกบังคับให้

ทํางานหารายได้ด้วยการขายแรงงานก่อนถึงวัยอันควร ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างไม่มีโอกาสได้รับการพัฒนาให้เป็นไปตามหลักพัฒนาการอันเหมาะกับวัย

2. เด็กเร่ร่อน หมายถึง เด็กที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแน่นอนดํารงชีวิตอยู่อย่างไร

ทิศทาง ขาดปัจจัยพื้นฐานพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตพักอาศัยอยู่ตามสะพาน สวนสาธารณะ ข้างถนน

วัด ที่พักผู้โดยสารรถประจําทาง ชายหาด หรือบนโต๊ะขายของที่ว่างเปล่าในตลาด

3. เด็กที่อยู่ในธุรกิจบริการทางเพศ หมายถึง เด็กชาย เด็กหญิง ที่มีอายุ 18 ปี บริบูรณ์ มี

ความสมัครใจ หรือถูกบังคับล่อลวงให้ขายบริการทางเพศ หรือตกอยู่ในสภาพเสี่ยงต่อการถูกชักจูงให้ประกอบ

อาชีพขายบริการทางเพศ

4. เด็กที่ถูกทอดทิ้ง หมายถึง เด็กที่มารดาคลอดทิ้งไว้ในโรงพยาบาล หรือ ตามสถานที่ต่างๆ

รวมไปถึงเด็กที่พ่อแม่ปล่อยทิ้งไว้ให้มีชีวิตอยู่ตามลําพัง หรืออยู่กับบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่

ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาการหย่าร้าง หรือครอบครัวแตกแยก มีสภาพชีวิตอยู่ท่ามกลางความสับสน

ขาดความรัก ความอบอุ่น ตลอดถึงเด็กกําพร้าที่ขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู อันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นๆ

5. เด็กที่ถูกทําร้ายทารุณ หมายถึง เด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางร่างกาย ทางเพศหรือทางจิตใจ มี

ชีวิตอยู่อย่างไม่เป่นสุข ระแวง หวาดกลัว เนื่องจากถูกทําร้ายทารุณ ถูกบีบคั้นกดดันจากพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง

ซึ่งมีสภาพจิตใจหรืออารมณ์ไม่เป็นปกติหรือถูกล่อลวงละเมิดทางเพศในลักษณะต่างๆ จากบุคคลที่อยู่ใกล้ตัว

6. เด็กยากจน (มากเป็นพิเศษ) หมายถึง เด็กซ่ึงเป็นบุตรหลานของคนยากจนที่มีรายได้ไม่

เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพครอบครัวอยู่ร่วมกันหลายคน ขาดแคนปัจจัยพื้นฐานมีชีวิตอยู่อย่างลําบาก รวมถึงเด็ก

ในชุมชนแออัด หรือบุตรของกรรมกรก่อสร้าง หรือเด็กจากครอบครัวที่อยูในถิ่นธุรกันดารห่างไกลขาดโอกาสที่จะได้รับโอกาสทางการศึกษา

7.เด็กในชนกลุ่มน้อย หมายถึง เด็กที่เป็นบุตรหลานของบุคคลที่มีวัฒนธรรมแตกต่างไปจาก ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ มีปัญหาเกี่ยวกับการถือสัญชาติไทยจนเป็นสาเหตุให้ไม่มีโอกาสได้รับ การศึกษา หรือบริการอื่นๆ ส่วนใหญ่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณแนวชายแดนของประเทศไทย

8. เด็กที่มีเกี่ยวกับยาเสพติด หมายถึง เด็กที่ติดสารระเหยหรือยาเสพติดให้โทษ หรือเด็กกลุ่ม เสี่ยงต่อการถูกชักนําให้ประพฤติตนไม่เหมาะสมเกี่ยวข้องผูกพันกับกลุ่มมิจฉาชีพ ผู้มีอิทธิพล หรือบุคคลที่ แสวงหาผลประโยชน์จากการประกอบอาชีพผิดกฎหมาย เป็นเด็กด้อยโอกาสที่มีแนวโน้มสูงต้อการก่อปัญหา สังคม

9. เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ หรือโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ หมายถึง เด็กที่ ติดเชื้อเอดส์ หรือพ่อ แม่ เจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ เป็นเด็กที่มักจะถูกมองอย่างรังเกียจจนไม่สามารถเข้ารับ การศกึษาหรือบริการอื่นๆ ร่วมกับเด็กทวไป ั่

10. เด็กในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน หมายถึงเด็กที่กระทําผิดถูกควบคุมใน สถานพินิจและคุ้มตรองเด็กและเยาวชนตามกฎหมาย ตลอดจนถึงเด็กหญิงที่ตั้งครรภ์นอกสมรส ซึ่งมีแนวโน้มที่ จะเกิดปัญหาต่างๆ เช่น ทําแท้ง การฆ่าตัวตาย การทอดทิ้งทารก