การจัดการศึกษา

สำหรับคนพิการ

การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ในรูปแบบของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่

1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน

จัดการศึกษาให้กับคนพิการ 3 ระดับ ได้แก่

1.1 ระดับประถมศึกษา

1.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

1.3 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดย กศน. มีรูปแบบการเรียนรู้ 7 รูปแบบได้แก่

1. การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม

2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง

3. การเรียนรู้แบบทางไกล

4. การเรียนรู้แบบชั้นเรียน

5. การเรียนรู้ตามอัธยาศัย

6. การเรียนจากการทำโครงงาน

7. การเรียนรู้แบบอื่น ๆ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือหลาย ๆ รูปแบบก็ได้

คุณสมบัติ การรับสมัครและการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาคนพิการ

1. รับนักศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทความพิการ โดยมีศักยภาพที่สามารถช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นได้

2. มีความพร้อมที่จะสามารถรับรู้ เรียนรู้ได้

3. อายุ 16 ปีขึ้นไป

4. รับสมัครที่ศูนย์กศน. ทุกอำเภอ/ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

คนพิการที่มีความรู้ และประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ หรือประสบการณ์จากการทำงาน สามารถขอรับการประเมินเทียบระดับการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้ โดยสมัครได้ที่สถานศึกษาสังกัดสำนักงาน กศน. ที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นสถานศึกษาที่ทำหน้าที่ประเมินเทียบระดับการศึกษา

ประโยชน์ที่ผู้รับบริการ จะได้รับ

1. การฟื้นฟูสมรรรถภาพ ความพิการเป็นรายบุคคล

2. การจัดทำแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการสอน เฉพาะบุคคล (IIP)

3. การกระตุ้นการเรียนรู้ การเข้าร่วมกิจกรรมและสังคม

4. การจัดการเรียนรู้ มีรูปแบบที่หลากหลาย และเหมาะสมเป็นรายบุคคล

5. การบูรณาการเชื่อมโยงเนื้อหา สาระสอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิตประจำวัน

6. การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับครอบครัว /ชุมชน/สังคมและบุคคลที่เกี่ยวข้อง อย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี

7. การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ตามกฎกระทรวงฯอย่างมีประสิทธิภาพ ตามความต้องการเป็นรายบุคคล

8. การประสานงานการส่งต่อ และการช่วยเหลือระยะเริ่มแรกเช่น แพทย์นักการศึกษา นักกายภาพ

2. การศึกษาพัฒนาทักษะอาชีพ

การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อแนะนำการประกอบอาชีพให้คนพิการ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยการพึ่งพาตนเองได้ไม่เป็นภาระต่อครอบครัวสังคมและชุมชน และสามารถช่วยเหลือสังคมได้ตามโอกาสเต็มตามศักยภาพและความสามารถของคนพิการ

3. การศึกษาพัฒนาทักษะชีวิต

การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็นการจัดการศึกษาแนะนำการดูแลและสร้างเสริมให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจ ครอบครัว สังคมและชุมชน สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม ปกติสุขเฉกเช่นคนทั่วไปในสังคม

4. การศึกษาพัฒนาสังคมและชุมชน

การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยให้ประชาชน ชุมชนร่วมกันรับผิดชอบ และเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟูพัฒนาสังคมและชุมชนของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ บูรณาการความรู้ ประสบการณ์ และทักษะอาชีพ เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรวม ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง มีความเอื้ออาทรต่อกัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน