การกำหนดวิธีการ ขั้นตอนการขยายอาชีพและเหตุผลของการขยายอาชีพ

เรื่องที่ 3 : การกำหนดวิธีการขั้นตอนการขยายอาชีพและเหตุผลของการขยายอาชีพ

เป็นขั้นตอนการปฏิบัติการในอาชีพที่จะต้องใช้องค์ความรู้ที่ยกระดับคุณค่า เพื่อมาใช้ปฏิบัติการจึงเป็นกระบวนการของการทำงานที่เริ่มจากการนำองค์ความรู้ที่จัดทำในรูปของคู่มือคุณภาพหรือเอกสารคู่มือดำเนินงานมาศึกษาวิเคราะห์จัดระบบปฏิบัติการ จัดปัจจัยนำเข้าดำเนินการทำงานตามขั้นตอนและการควบคุมผลผลิตให้มีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนด ดำเนินการตรวจสอบหาข้อบกพร่องในการทำงาน ปฏิบัติแก้ไขข้อบกพร่องเป็นวงจรอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุงพัฒนาเอกสารคู่มือดำเนินงานไปเป็นระยะ ๆ ก็จะทำให้การปฏิบัติการในกิจกรรมอาชีพประสบความสำเร็จสู่ความเข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืน ตามกรอบความคิดนี้

1. การปฏิบัติการใช้ความรู้ โดยใช้วงจรเด็มมิ่ง เป็นกรอบการทำงาน

- P - Plan ด้วยการทำเอกสารคู่มือดำเนินงาน (ซึ่งได้มาจากกิจกรรมยกระดับความรู้) มาศึกษาวิเคราะห์จัดระบบปฏิบัติการที่ประกอบด้วยกิจกรรมขั้นตอน และผู้รับผิดชอบกำหนดระยะเวลาการทำงานกำหนดปัจจัยนำเข้าดำเนินงานให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- D - Do การปฏิบัติการทำงานตามระบบงานที่จัดไว้อย่างเคร่งครัด ควบคุมการผลิตให้เสียหายน้อยที่สุด ได้ผลผลิตออกมามีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนด

- C - Check การตรวจสอบหาข้อบกพร่องในการทำงานโดยผู้ปฏิบัติการหาเหตุผลของการเกิดข้อบกพร่องและจดบันทึก

- A - Action การนำข้อบกพร่องที่ตรวจพบของคณะผู้ปฏิบัติการมาร่วมกันเรียนรู้หาแนวทางแก้ไขข้อบกพร่อง จนสรุปได้ผลแล้วนำข้อมูลไปปรับปรุงเอกสารคู่มือดำเนินงานเป็นระยะ ๆ ก็จะทำให้องค์ความรู้สูงขึ้นโดยลำดับ แล้วส่งผลต่อประสิทธิภาพของธุรกิจ ประสบผลสำเร็จนำไปสู่ความเข้มแข็งยั่งยืน

2. ทุนทางปัญญา ผลจากการนำองค์ความรู้ไปใช้ มีการตรวจสอบหาข้อบกพร่อง และปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องที่ผลทำให้องค์ความรู้สูงขึ้นเป็นลำดับ จนกลายเป็นทุนทางปัญญาของตนเอง หรือของชุมชนที่จะเกิดผลต่อธุรกิจ ดังนี้

- องค์ความรู้สามารถใช้สร้างผลผลิตที่คนอื่นไม่สามารถเทียบเคียงได้ และไม่สามารถทำตามได้จึงได้เปรียบทางการแข่งขัน

- การเปลี่ยนแปลงยกระดับคุณภาพผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่น ภักดีต่อการทำธุรกิจร่วมกัน

- เป็นการสร้างทุนทางมนุษย์ผู้ร่วมงานได้เรียนรู้บริหารระบบธุรกิจด้วยตนเอง สามารถเกิดภูมิปัญญาในตัวบุคคล ทำให้ชุมชนพร้อมขยายขอบข่ายอาชีพออกสู่ความเป็นสากล

3. ธุรกิจสู่ความเข้มแข็งยั่งยืน การจัดการความรู้ทำให้องค์ความรู้สูงขึ้นโดยลำดับ การขยายของอาชีพจึงเป็นการทำงานที่มีภูมิคุ้มกัน โอกาสของความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ต่ำลง ดังนั้น ความน่าจะเป็นในการขยายอาชีพจึงประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง เพราะมีการจัดการความรู้ ยกระดับความรู้นำไปใช้และปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลทำให้ธุรกิจเข้มแข็ง ยั่งยืนได้ เพราะรู้จักและเข้าใจตนเองตลอดเวลา

การจัดทำแผนปฏิบัติการ (P)

1. เหตุการณ์หรือขั้นตอนการทำงาน ซึ่งจะบอกว่าเหตุการณ์ใดควรทำพร้อมกัน หรือควรทำทีหลังเป็นการลำดับขั้นตอนในแต่ละกิจกรรมให้เป็นแผนการทำงาน

2. ระยะเวลาที่กำหนดว่าในแต่ละเหตุการณ์จะใช้เวลาได้ไม่เกินเท่าไร เพื่อออกแบบการใช้ปัจจัยดำเนินงานให้สัมพันธ์กัน

3. ปัจจัยนำเข้าและแรงงาน เป็นการระบุปัจจัยนำเข้าและแรงงานในแต่ละเหตุการณ์ว่าควรใช้เท่าไรการจัดทำแผนปฏิบัติการทางอาชีพ มักจะนิยมใช้ผังการไหลของงานมาใช้ออกแบบการทำงานให้มองเห็นความสัมพันธ์ร่วมระหว่างเหตุการณ์ ระยะเวลา ปัจจัยนำเข้าและแรงงานจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้จัดการได้ขับเคลื่อนการทำงานสู่ความสำเร็จได้ ดังนั้น ในการออกแบบแผนปฏิบัติงาน จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ที่สรุปได้ในรูปของเอกสารขั้นตอนการทำงานมาคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ให้เกิดแผนปฏิบัติการ

ตัวอย่าง วิธีดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพดินไร่ทนเหนื่อย

1. ศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการพัฒนาคุณภาพดิน มีกิจกรรมที่จะต้องทำ 5 กิจกรรม ประกอบด้วย

1. การตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพดิน ผลการวิเคราะห์พบว่ามีเหตุที่จะต้องทำ และเกี่ยวข้อง ดังนี้

- เก็บตัวอย่างดิน

- ส่งตัวอย่างดินให้กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตรวิเคราะห์

- รอผลการวิเคราะห์

- ศึกษาผลวิเคราะห์วางแผนตัดสินใจกำหนดพืชที่ต้องผลิต

2. การไถพรวนหน้าดิน ผลการวิเคราะห์พบว่ามีเหตุการณ์ที่จะต้องทำและเกี่ยวข้อง ดังนี้

- ไถบุกเบิกด้วยผาน 3 ระยะ

- ไถแปรด้วยผาน 7 ระยะ

- ไถพรวนให้ดินละเอียดด้วยโรตารี่

3. การเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ผลการวิเคราะห์พบว่ามีเหตุการณ์ที่จะต้องทำ และเกี่ยวข้อง ดังนี้

- การหว่านปุ๋ยหมัก

- หว่านเมล็ดปุ๋ยพืชสด

- บำรุงรักษาปุ๋ยพืชสดและวัชพืชให้งอกงาม

- ไถพรวนสับปุ๋ยพืชสดให้ขาดคลุกลงดิน

4. การหมักสังเคราะห์ดิน ผลการวิเคราะห์พบว่ามีเหตุการณ์ที่จะต้องทำและเกี่ยวข้อง ดังนี้

- ให้จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลาย

- ตรวจสอบการย่อยสลาย

5. การสร้างประสิทธิภาพดิน ผลการวิเคราะห์พบว่ามีเหตุการณ์ที่จะต้องทำและเกี่ยวข้อง ดังนี้

- ใส่จุลินทรีย์ไมโครโลซ่า เพื่อย่อยหินฟอสเฟต สร้างฟอสฟอรัสให้กับดิน

- จัดร่องคลุมหน้าดินด้วยฟางข้าวเพื่อป้องกันความร้อน รักษาความชื้นและการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารในดิน

2. วิเคราะห์ปริมาณงาน ลักษณะงาน กำหนดการใช้เครื่องจักรกล ปัจจัยการทำงานและแรงงาน

3. วิเคราะห์งานกำหนดระยะเวลาของความสำเร็จของแต่ละเหตุการณ์ และสรุประยะเวลาทั้งหมด

ของกระบวนการ

ตัวอย่าง แผนปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพดิน “ไร่ทนเหนื่อย”

1. ผังการไหลของงานพัฒนาดิน

2. กิจกรรมพัฒนาดินประกอบด้วย

1. การวิเคราะห์คุณภาพดิน

2. การไถพรวนหน้าดิน

3. การเพิ่มอินทรีย์วัตถุ

4. การหมักสังเคราะห์ดิน

5. การสร้างประสิทธิภาพดิน


3. รายละเอียดปฏิบัติการ

3.1 การวิเคราะห์คุณภาพดิน ประกอบด้วยระยะเวลาและการใช้ทรัพยากรดำเนินงาน ดังนี้

(1) การเก็บตัวอย่างดินกระจายจุดเก็บดินทั้งแปลง (150 ไร่) ให้ครอบคลุมประมาณ 20 หลุมเก็บดินชั้นบนและชั้นล่างอย่างละ 200 กรัมต่อหลุม รวบรวมดินแต่ละชั้นมาบดให้เข้ากัน แล้วแบ่งออกมาอย่างละ 1,000 กรัม บรรจุหีบห่อให้มิดชิดไม่รั่วไหล ใช้เวลา 5 วัน

(2) จัดการนำตัวอย่างดินส่งกองเกษตรเคมีด้วยตนเอง รอผลการวิเคราะห์จากกองเกษตรเคมีใช้เวลา 30 วัน

(3) ศึกษาผลการวิเคราะห์วางแผนการผลิต ใช้เวลา 50 วัน

3.2 การไถพรวนหน้าดิน ประกอบด้วยระยะเวลา และการใช้ทรัพยากรดำเนินงาน ดังนี้

(1) ไถบุกเบิกด้วยการจ้างรถติดนานมา 3 จานไถบุกเบิกครั้งแรก ใช้เวลาไม่เกิน 5 วัน

(2) ไถแปรเพื่อย่อยดินให้แตกด้วยรถไถติดผาน 7 จาน ไถตัดแนวไถบุกเบิก ใช้เวลา 5 วัน

(3) ตีพรวนย่อยดินด้วยโรตารี่ เพื่อย่อยดินให้มีขนาดก้อนเล็ก สอดคล้องกับสภาพการงอกของเมล็ดพืช ใช้เวลาไม่เกิน 5 วัน

3.3 การเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน ประกอบด้วยระยะเวลาและการใช้ทรัพยากรดำเนินงานดังนี้

(1) หว่านปุ๋ยหมัก 150 ตัน บนพื้นที่ 150 ไร่ ใช้เวลาไม่เกิน 5 วัน ใช้คนงาน 3 คน และใช้รถแทรกเตอร์พ่วงรถบรรทุกปุ๋ยหมักกระจาย 150 จุด แล้วใช้คนงานกระจายปุ๋ยให้ทั่วแปลง

(2) หว่านเมล็ดปุ๋ยพืชสดคลุกเคล้าจุลินทรีย์ไรโซเดียม ไร่ละ 20 กก. บนพื้นที่ 150 ไร่ ใช้เวลาไม่เกิน 5 วัน ใช้คนงาน 2 คน

(3) บำรุงรักษาปุ๋ยพืชสดและวัชพืชให้งอกงาม ด้วยการใช้น้ำผสมจุลินทรีย์อย่างเจือจาง วันเว้นวัน ใช้คนงาน 1 คน

(4) ไถพรวนสับปุ๋ยพืชสดคลุกเคล้าลงดินด้วยโรตารี่

3.4 การหมักสังเคราะห์ดิน ประกอบด้วย

(1) ให้จุลินทรีย์ เร่งการย่อยสลาย (พด1+พด 2) ไปพร้อมกับน้ำวันเว้นวัน ใช้คนงาน 1 คน ตรวจสอบการย่อยสลายในช่วงตอนเช้า 07.00 น. พร้อมวัดอุณหภูมิและจดบันทึกทุกวัน โดยความน่าจะเป็นในวันที่ 15 ของการหมัก อุณหภูมิต้องลดลงเท่ากับอุณหภูมิปกติใช้ผู้จัดการแปลงดำเนินการ

3.5 การสร้างประสิทธิภาพดิน ประกอบด้วย

(1) ใช้จุลินทรีย์ไมโครโลซ่า เพื่อการย่อยสลายของฟอสฟอรัสคลุกลงดิน โดยตีพรวนด้วยโรตารี่ จัดร่องปลูกผักตามแผนคลุมหน้าดินด้วยฟางข้าว

(2) ใช้แรงงาน 20 คน ดินมีคุณภาพพร้อมการเพาะปลูก

การทำงานตามแบบแผนปฏิบัติการ (D)

การทำงานตามแผนปฏิบัติการของผู้รับผิดชอบ ยังใช้วงจรเด็มมิ่ง เช่นเดียวกันโดยเริ่มจาก

P : ศึกษาเอกสารแผนปฏิบัติการให้เข้าใจอย่างรอบคอบ

D : ทำตามเอกสารขั้นตอนให้เป็นไปตามข้อกำหนดทุกประการ

C : ขณะปฏิบัติการต้องมีการตรวจสอบทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามข้อกำหนด

A : ถ้ามีการทำผิดข้อกำหนด ต้องปฏิบัติการแก้ไขให้เป็นไปตามข้อกำหนด

การตรวจสอบหาข้อบกพร่อง (C)

เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการปฏิบัติการใช้ความรู้ สร้างความเข้มแข็ง ยั่งยืน โดยมีรูปแบบการตรวจ ติดตามข้อบกพร่องดังนี้

1. การจัดทำรายการตรวจสอบ

ด้วยการให้ผู้จัดการและคนงานร่วมกันวิเคราะห์เอกสารแผนปฏิบัติการ และทบทวนร่วมกับประสบการณ์ที่ใช้แผนทำงาน ว่าควรมีเหตุการณ์ใดบ้างที่ควรจะให้ความสำคัญเพื่อการตรวจสอบแล้วจัดทำเอกสารรายการตรวจ ดังตัวอย่างนี้

ตัวอย่าง เอกสารรายการตรวจและบันทึกข้อบกพร่อง

กิจกรรม พัฒนาคุณภาพดินไร่ทนเหนื่อย สำหรับปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 30 มกราคม 2552

รายละเอียดปฏิบัติการณ์

3.3(2) = หว่านเมล็ดปุ๋ยพืชสดแล้ว คลุกเคล้าจุลินทรีย์ไรโซเปี้ยมไร่ละ 20 กก.

3.3(3) = ให้น้ำผสมจุลินทรีย์อย่างเจือจางกับปุ๋ยพืชสดวันเว้นวัน

3.4(1) = ให้จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลาย (พด1 + พด2) ไปพร้อมกับน้ำวันเว้นวันเป็นเวลา 15 วัน

3.5(1) = ใช้จุลินทรีย์ไมโครโลซ่าเพื่อย่อยสลายหินฟอสเฟรส คลุกลงดินที่ย่อยสลายแล้ว

3.5(2) = จัดร่องปลูกผักคลุมหน้าดินด้วยฟางข้าว

2. ปฏิบัติการตรวจสอบ

การปฏิบัติการตรวจสอบทำ 2 ขั้นตอน คือ

2.1 ตรวจสอบหาข้อบกพร่องของเอกสารแผนปฏิบัติการ เป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างผู้จัดการกับคนงานว่าการที่คนงานได้ปฏิบัติการศึกษาเอกสารแผนและปฏิบัติตามกิจกรรมในทุกเหตุการณ์ได้ครบคิดว่ากิจกรรมเหตุการณ์ใด มีข้อบกพร่องที่ควรจะได้แก้ไข

2.2 ตรวจสอบภาคสนาม เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้จัดการกับคนงาน เพื่อตรวจหาข้อบกพร่องในการดำเนินงาน ร่วมกันคิดวิเคราะห์ระบุสภาพที่เป็นปัญหา และแนวทางแก้ปัญหา

กิจกรรม : ตัวอย่าง เอกสารบันทึกข้อบกพร่องการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพดินไร่ทนเหนื่อย ปฏิบัติการระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 30 มกราคม 2552

3. การประเมินสรุปและเขียนรายงานผล

เป็นขั้นตอนการนำผลการตรวจติดตามตลอดรอบผลการผลิตเกษตรอินทรีย์ไปประเมินความรุนแรงของข้อบกพร่องว่าเกิดผลมาจากอะไรเป็นส่วนใหญ่ แล้วดำเนินการปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องทั้งองค์ความรู้และปัจจัยนำเข้าดำเนินงาน ดังตัวอย่าง

การปฏิบัติการแก้ไขและพัฒนา (A)

พร่องโดยมีกำหนดระยะเวลา เมื่อถึงกำหนดเวลาจะต้องมีการติดตามผลว่าได้มีการปฏิบัติการแก้ไข ข้อบกพร่องตามแนวทางที่กำหนดไว้หรือไม่เกิดผลอย่างไร โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

1. ตรวจติดตามเอกสารสรุปประเมินผลการศึกษา

2. เชิญคณะผู้รับผิดชอบแก้ไขข้อบกพร่องมาประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสนอสภาพปัญหาข้อบกพร่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความบกพร่องและการแก้ไข

3. ผู้รับผิดชอบตรวจติดตามและผู้รับผิดชอบแก้ไขข้อบกพร่องเข้าศึกษาสภาพจริงของการดำเนินงาน แล้วสรุปปัจจัยที่เป็นเหตุและปัจจัยสนับสนุนการแก้ไข

4. นำข้อมูลที่ได้นำสู่การปรับปรุงแก้ไขพัฒนาเอกสารองค์ความรู้ ให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น

บทสรุป

การขยายขอบข่ายอาชีพเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ยั่งยืน ให้กับธุรกิจ จำเป็นจะต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

ไม่ใช่ทำไปตามที่เคยทำ ดังนั้นการจัดการความรู้เป็นเรื่องสำคัญของทุกคนที่ประกอบอาชีพ จะขยายช่องทาง

การประกอบอาชีพออกไป จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. เป็นบุคคลที่ทำงานบนฐานข้อมูล ซึ่งจะต้องใช้ความรู้ด้านต่าง ๆ เข้ามาบูรณาการร่วมกันทั้งระบบ

ของอาชีพ

2. ต้องใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือ นั่นคือเราจะต้องตระหนักเห็นปัญหาต้องจัดการความรู้

หรือใช้แก้ปัญหา จัดการทดลองส่วนน้อย สรุปองค์ความรู้ให้มั่นใจ แล้วจึงขยายกิจกรรมเข้าสู่การขยายขอบข่าย

อาชีพออกไป

3. ต้องเป็นบุคคลที่มีความภูมิใจในการถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

สร้างองค์ความรู้ให้สูงส่งเป็นทุนทางปัญญาของตนเอง ชุมชนได้