ากปัญหาการทำเกษตรของไทยที่เกษตรกรขาดที่ดินทำกิน ทั้งยังต้องดิ้นรนทำในปริมาณมาก เป็นหนี้เป็นสิน ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ทำมาแต่ได้น้อยเนื่องจากปลูกเฉพาะพืชเชิงเดี่ยว ราคาขายผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภค ด้วยอัฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้พระราชทาน “ทฤษฎีใหม่” ในการจัดการพื้นที่ขนาดเล็กประมาณ 15 ไร่ เน้นการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนด้วยการจัดการไร่นาอย่างเหมาะสม มีการจัดสรรแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตรแบบผสมผสานให้ใช้ได้ในหน้าแล้ง ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรเลี้ยงตัวเองได้ มีรายได้และอาหารไว้บริโภคตลอดปี เป็นการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวไทย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสว่า “…ถึงบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ สองอย่างนี้จะทำความเจริญแก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน…” 

รูปภาพ หลักการเกษตรทฤษฎีใหม่

ความเป็นมาของเกษตรทฤฎีใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทำการศึกษาและวิจัยเชิงปฏิบัติ เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่มาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ในพื้นที่ส่วนพระองค์ขนาด 16 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา ใกล้วัดมงคล ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี และทรงมอบให้มูลนิธิชัยพัฒนาที่ทรงจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเสริมโครงการของรัฐ ทั้งนี้ก่อนที่จะทรงนำเอกสารออกเผยแพร่อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2537 นั้น ทรงให้จัดตั้ง “ศูนย์บริหารพัฒนา” ตามแนวพระราชดำริ อยู่ในความรับผิดชอบของมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อเป็นต้นแบบสาธิตการพัฒนาด้านการเกษตรโดยประสานความร่วมมือระหว่าง วัด ราษฎรและรัฐ ทำการเผยแพร่อาชีพการเกษตรและจริยธรรมแก่ประชาชนในชนบท โดยทรงหวังว่าหากประสบความสำเร็จก็จะใช้เป็นแนวทางสาธิตในท้องที่อื่น ๆ ต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของการพัฒนาด้านการเกษตรนั้น ก็คือแนวคิดและมรรควิธีที่รู้จักกันในนาม "เกษตรทฤฎีใหม่"

เกษตรทฤฎีใหม่ ตำบลหนองยวง เกิดจากที่ นายบุญฤทธิ์ ไชยยอง ได้ริเริ่มนำผลการศึกษาและวิจัยเชิงปฏิบัติ เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาลงมือปฏิบัติจริงในที่ดินของตนเอง จึงทำให้เกิดเป็เกษตรทฤฎีใหม่ ตำบลหนองยวง

รูปภาพ คุณบุญฤทธิ์ ไชยยอง

นายบุญฤิทธิ์ ไชยยอง

อดีตเคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหนองยวง ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งได้ ศึกษาเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของเกษตรทฤษฎีใหม่ เช่น การใช้พื้นที่น้อยแต่ได้ผลผลิตมาก การเลี้ยงปลาในกระชัง เป็นต้น จึงทำให้เกิดแรงบันดาลใจและได้เริ่มลงมือทำในที่ดินของตนเอง อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานประมงจังหวัดลำพูน และยังให้คำแนะนำแก่ประชาชนที่มีความสนใจในเกษตรทฤษฎีใหม่อีกด้วย

เลี้ยงปลาในกระชัง

ปลูกผลไม้

ปลูกกล้วยและมะพร้าวทำให้ขอบสระแข็งแรง

เกษตรทฤษฎีใหม่ตำบลหนองยวง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยมีสระน้ำเป็นแนวยาวทั้ง 2 ฝั่ง ส่วนตรงกลางจะปลูกต้นฝรั่งและต้นมะม่วงผสมผสานกันไป ซึ่งขอบสระจะปลูกต้นกล้วยและต้นมะพร้าว เพื่อให้ขอบสระมีความแข็งแรง ซึ่งในสระจะเลี้ยงปลารูปแบบ เลี้ยงปลาในกระชัง ทำให้สามารถเลี้ยงปลาได้หลายชนิด อีกทั้งยังสามารถเลี้ยงหอยขมโดยการใช้ก้านมะพร้าวในการเลี้ยง จึงเป็น เกษตรทฤษฎีใหม่ ที่มีการผสมผสานกันได้อย่างลงตัว มีผลผลิตที่สามารถสร้างรายได้ตลอดปี และที่สำคัญได้รับการสนับสนุนและการรับรองจากหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานประมงจังหวัดลำพูน จึงถือได้ว่าประสบความสำเร็จในการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่

เลี้ยงหอยขมด้วยก้านมะพร้าว

การแบบผสมผสาน

ได้รับการสนับสนุนและการรับรองจากหน่วยงานต่างๆ

เกษตรทฤษฎีใหม่ตำบลหนองยวง ยังคงพัฒนาต่อยอดในทุกๆด้านเพื่อให้ สามารถก้าวตามความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หากเกษตรกรพัฒนาตนเองหรือตามการพัฒนาของโลกไม่ทัน จะทำให้ไม่สามารถล่อเลียงตนเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

เกษตรทฤษฎีใหม่ตำบลหนองยวง

ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 90 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองยวง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน

ข้อมูลเนื้อหา โดย นายบุญฤิทธิ์ ไชยยอง

เรียบเรียงเนื้อหา โดย นายรัชชานนท์ เงินมีศรี

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นายรัชชานนท์ เงินมีศรี