โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร


คำอธิบายรายวิชา

หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy Curriculum) มีจำนวนเนื้อหาตลอดหลักสูตร 9 กลุ่ม เนื้อหา ประกอบด้วย สิทธิและความรับผิดชอบ การเข้าถึงสื่อดิจิทัล การสื่อสารยุคดิจิทัล ความปลอดภัยยุค ดิจิทัล ความเข้าใจสื่อดิจิทัล แนวปฏิบัติในสังคมดิจิทัล สุขภาพดียุคดิจิทัล ดิจิทัลคอมเมิร์ซ และ กฎหมาย ดิจิทัล


1. สิทธิและความรับผิดชอบ

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องทราบสิทธิ เสรีภาพ และความรับผิดชอบเมื่อใช้สิทธินั้นบนสื่อสาธารณะยุค ดิจิทัลในฐานะเป็นประซากรชองสังคมในระดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับชุมซน ระดับประเทศ ระดับ โลก โดยความรับผิดชอบนี้รวมถึงความรับผิดชอบต่อตัวเอง และความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้ง ผลกระทบที่เกิดจากการกระทำและทางกฎหมายด้วยการใช้สิทธิ เสรีภาพอย่างถูกต้อง จะทำให้การ อยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน เกิดความสงบสุข ไม่ขัดต่อกฎหมาย จริยธรรม ศีลธรรม ชองสังคม ถือเป็น พื้นฐานประการแรกที่จำเป็นต้องทราบ เพื่อจะอยู่ในสังคมออนไลน์ที่มีการเชื่อมโยงประซากรจากทุก ประเทศทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกัน

2. การเข้าถึงสื่อดิจิทัล

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องเข้าใจอินเทอร์เน็ตและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยช่องทางต่าง ๆ รวมถึง ข้อดีข้อเสียของแต่ละช่องทางได้ เพื่อให้สามารถใช้ Search Engine ค้นหาข้อมูลที่ต้องการจาก อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องเข้าใจสื่อทางดิจิทัลชนิดต่าง ๆ รวมถึง การนำไปประยุกตัไข้งานในป้จจุบัน

3. การสื่อสารยุคดิจิทัล

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องมีความเข้าใจการสื่อสารผ่านทางสื่อ และเครื่องมือทางดิจิทัลในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความเหมาะสม ความแตกต่าง ความเสี่ยงของสื่อ และเครื่องมือพร้อมทั้งสามารถสื่อสาร โดยการใช้ข้อความหรือถ่อยคำอย่างสร้างสรรค์ มีประโยชน์ และเคารผู้อื่น เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนี้ยังรวมถึง ความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่บนสื่อดิจิทัลต่าง ๆ ว่าสิ่งไหนเป็น ข้อเท็จจริง สิ่งไหนเป็นความเห็น สิ่งไหนเป็นความจริงบางส่วน สิ่งไหนเป็นความจริงเฉพาะเหตุการณ์ นั้น ๆ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการสื่อสารทางดิจิทัล

4. ความปลอดภัยยุคดิจิทัล

ผู้ศึกษาจำเป็นเข้าใจความมั่นคง ความเป็นส่วนตัว และการทิ้งรอยเท้าดิจิทัล ในการใช้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิท้ล รวมถึงภัยในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในแง่วิธีการที่ได้รับการคุกคาม ผลกระทบที่เกิดขึ้น การป้องกัน การลดความเสี่ยง ต่อภัยเหล่านั้น

5. ความเข้าใจสื่อดิจิทัล

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องมีความเข้าใจสารสนเทศและสื่อในยุคดิจิทัล เพื่อที่สามารถระบุข้อมูลที่ ต้องการหาข้อมูลนั้น ประเมินประโยชน์ ความเกี่ยวข้อง ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ของข้อมูลนั้น จากแหล่งต่าง ๆ นอกจากนั้นผู้ศึกษายังจำเป็นต้องสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาเป็นความรู้ เพื่อ นำไปใช้ประโยชน์ผ่านทางการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. แนวทางปฏิบัติในยุคดิจิทัล

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องทราบ แนวทางปฏิบัติในสังคม มารยาท และ พฤติกรรมอันพึงปฏิบัติเมื่อ อยู่ร่วมในสังคมดิจิท้ล เพื่อไม่สร้างความเดือดร้อน ความรำคาญ ความเครียด ความกังวลใจ รวมถึง เป็นสาเหตุของป้ญหาทางสภาพจิตของบุคคลอื่นและตัวเอง การประพฤติตามมารยาทที่เหมาะสม จะ ทำให้สังคมยอมรับ นับถือ และให้เกียรติเราดังนั้นมารยาทในสังคมดิจิทัล จึงเป็นสิ่งที่’จำเป็นต้อง เรียนรู้ และปูพื้นฐานไว้ในการใช้งานสังคมดิจิท้ล

7. สุขภาพดียุคดิจิทัล

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องเข้าใจอันตรายและผลกระทบด้านสุขภาพในแง่มุมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน สุขภาพกาย สุขภาพจิต โรคที่เกิดขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์และผลกระทบต่อเยาวชน การใช้ อินเทอร์เน็ตและสื่อดิจิทัล เพื่อป้องกัน หลีกเลี่ยง ลดผลกระทบ จนถึงวิธีการรักษาเบื้องต้น ทั้งต่อ ตัวเอง และคนใกล้ตัว เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในยุคดิจิทัลได้

8. ดิจิทัลคอมเมิร์ซ

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องเข้าใจการทำธุรกิจออนไลน์ หรือ อิคอมเมิร์ซ ประเภทต่าง ๆ รวมถึง อันตราย ภัย และ ความเสี่ยงจากการทำธุรกรรมนั้น พร้อมทั้งวิธีป้องกัน ลดความเสี่ยงและรับมือ กับ อันตราย ภัย และความเสี่ยงเหล่านั้น โดยรู้ฃั้นตอนปฏิบัติเมื่อตกเป็นเหยือการหลอกลวงเหล่านี้

9. กฎหมายดิจิทัล

ผู้ศึกษาจำเป็นต้องมีความเข้าใจสิทธิและข้อจำกัดที่ควบคุมการใช้สื่อดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งได้ถูกกำหนดโดยภาครัฐ เพื่อที่จะได้สามารถปฏิบัติงานและดำเนินชีวิตได้อยู่ถูกต้องตามกฎระเบียบ สังคม ซึ่งจะเป็นการเคารพสิทธิของผู้อื่นอีกด้วย