วัดฉางข้าวน้อยใต้

วัดฉางข้าวน้อยใต้ หรือที่ชาวบ้านเรียกอีกชื่อว่าวัดต้นยาง เนื่องจากมีต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นที่บริเวณด้านหลัง (ทิศตะวันตก) ของวัด ตามประวัติของวัดแห่งนี้ในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 9 กล่าวว่าสร้างในราว พ.ศ. 2300 เศษ โดยครูบาคัณธา เรวจฺจ พร้อมด้วยชาวบ้านได้อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนาเข้ามาอาศัยอยู่ ได้ชักชวนชาวบ้านสร้างวัดขึ้น เดิมชื่อวัดสันข้าวน้อยตามสภาพพื้นที่ซึ่งมีฉางข้าวสำหรับเก็บผลผลิตจาการทำนาของเจ้าผู้ปกครองในสมัยนั้น โดยแบ่งเป็น 2 แห่ง คือฉางข้าวน้อยเหนือ และฉางข้าวน้อยใต้ วัดแห่งนี้ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2340 ปัจจุบันพื้นที่ของวัดถูกถนนพหลโยธินตัดผ่านแบ่งออกเป็น 2 ส่วน พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ตั้งเสนาสนะสงฆ์ พระวิหารที่ผนังด้านหลังพระประธานมีลายรดน้ำสวยงามและมีช่องทางเชื่อมเข้าสู่องค์เจดีย์ซึ่งสร้างติดกับพระวิหาร เจดีย์ของวัดที่สร้างไว้ที่ด้านหลังของพระวิหารมีขนาดย่อม และหอพระไตรปิฎกก่อด้วยอิฐถือปูน 2 ชั้น ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งของเจดีย์ครูบาคางเป็ด (ครูบาคัณธา เรวจฺจ) และพระอุโบสถ เจดีย์ครูบาคางเป็ดเป็นเจดีย์ที่บรรจุอัฐครูบาคัณธา เป็นเจดีย์ศิลปะแบบไทลื้อที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมแบบพม่า บริเวณรององค์เจดีย์มีประติมากรรมแสดงเรื่องราวจากชาดกเรื่องสิงห์คาบนางประดับไว้อย่างสวยงาม 

วัดฉางข้าวน้อยใต้ เลขที่ 152 บ้านฉางข้าวน้อยใต้ ตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ 4 ไร่ 42 ตารางวา เสนาสนะประกอบด้วย วิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุมี พระประธานเป็นพระพุทธรูปสร้างด้วยอิฐถือปูน พระพุทธรูปทองเหลือง พระพุทธรูปไม้สัก และเจดีย์

 

วัดฉางข้าวน้อยใต้ สร้างเมื่อ พงศ. 2330 ตามประวัติวัดแจ้งว่าเริ่มก่อสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2350 โดยครูบาคันธา เรวจฺจ ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่สิบสองปันนาท่านได้ถูกภัยธรรมชาติคุกคาม จึงได้ชักชวนญาติโยมของท่านหนีลงมาจนถึงที่ตั้งวัดปัจจุบัน เห็นว่าเป็นที่เหมาะสมสร้างวัด จึงได้ชวนศรัทธาชาย-หญิง ช่วยกันสร้างวัดขึ้น และให้ชื่อว่า วัดสันเข้าน้อย

 

ที่ให้ชื่อว่าวัดสันเข้าน้อย ก็เพราะว่าสมัยนั้นเจ้าครองเมืองหริภุญชัย คือ เจ้าภารดี ภูธรบวร ได้มาตั้งฉางเก็บข้าวไว้ในหมู่บ้านโดยสร้างเป็นหลังเล็กๆ(น้อย) จึงตั้งชื่อบ้านและวัดว่า สันเข้าน้อย ต่อมากลายเป็นฉางข้าวน้อย จึงเรียกกันว่า วัดฉางข้าวน้อยใต้


วัดฉางข้าวน้อยใต้ ต.ป่าซาง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน. ท่านที่เคยใช้เส้นทางเข้าเมืองลำพูนจากเส้นทางบ้านโ๋ฮ่ง - ลำพูน หรืือเดินทางออกเมืองไปบ้านโฮ่งเมืองลี้โดยเส้นทางนี้ก็แล้วแต่ ท่านจะสังเกตเห็นพระเจดีย์ศิลปแบบไทยใหญ่ผสมล้านนาสีขาวขนาดสูงใหญ่กำลังดี สีขาว ประดับลวดลายสวยงาม อยู่ข้างทางช่วงเข้าโค้งพอดีบริเวณใกล้ๆมีวัดอยู่วัดหนึ่งนั่นคือ วัดฉางข้าวน้อยใต้ ท่านคงสงสัยว่านี่เจดีย์อะไร สำหรับท่านที่ทราบอยู่แล้วก็ไม่กระไร แต่ท่านที่ยังไม่ทราบพอบอกว่า นี่คือกู่ครูบาคางเป็ด ยิ่งจะงงกันไปใหญ่ว่า ท่านคือใครกันนะ???  สำหรับอัตตชีวประวัติจองท่านที่ดิฉันฟังมาจากผู้เฒ่าผู้แก่แบบมุขปาฐะนะคะ ท่านเล่าว่า เดิมทีนั้น ท่านครูบาคางเป็ดนี้ท่านชื่อ ครูบาคันธา       เรวัจจะ. เป็นคนไทยเชื้อสายทางสิบสองปันนา เมื่อปี 2350 เกิดทุพภิกขภัยข้าวยากหมากแพง ท่านพร้อมด้วยสหธรรมิกอีกรูปหนึ่งชื่อ ครูบาปินตา. ได้นำชาวบ้านจากสิบสองปันนาจำนวนหนึ่งออกเดินทางมาเมืองลำพูนเพื่อหาสถานที่ตั้งบ้านเรือนใหม่ เมื่อมาถึงเขตหมู่บ้านนี้ ท่านพิจารณาเห็นว่าเป็นที่อุดมสมบูรณ์มีน้ำแม่ทาไหลผ่านจึงให้หยุดพักและตัดสินใจตั้งบ้านเรือนกันที่นี ส่วนครูบาปินตาได้นำโยมของท่าน้เคลื่อนขึ้นไปอีกแห่งหนึ่งถัดไปซึ่งต่อมาคือ บ้านฉางข้าวน้อยเหนือ แต่ก่อนที่จะแยกกันนั้นญาติโยมได้จัดภัตตาหารถวายเพลถวายท่านทั้งสอง เมื่อท่านฉันไปได้ชั่วครู่ไม่กี่คำก็เที่ยงตรงพอดีจึงต้องหยุดฉันเพียงเท่านั้น โยมทั้งหลายจึงถือเอานิมิตนั้นเป็นเหตุและพร้อมใจกันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านฉันข้าวน้อย ในยุคสมัยต่อมาเจ้าหลวงผู้ครองนครลำพูนองค์หนึ่งได้มีรับสั่งให้มาสร้างฉางข้าวขึ้นเพื่อเก็บข้าวส่วย ณ ที่หมู่บ้านแห่งนี้ ชาวบ้านจึงพากันเรียกชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า ฉางข้าวน้อย จนถึงปัจจุบัน สำหรับสมัญญาของท่านที่ว่า ครูบาคางเป็ด นั้น ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าเดิมทีเมื่อท่านยังเป็นเด็กอยู่ที่สิบสองปันนา ครอบครัวท่านยากจน แม่แท้ๆก็มาตายจาก พ่อของท่านจึงแต่งงานใหม่ และก็เข้าทำนองแม่เลี้ยงลูกเลี้ยง ท่านมักถูกใช้ให้ไปเลี้ยงควาย อาหารที่ห่อให้ไปกินนั้นก็มีแต่ข้าวและคางเป็ดย่างไม่มีเนื้อมีหนังให้พออิ่มได้ เป็นเช่นนี้บ่อยๆจนเพื่อนๆพากันล้อท่านว่า อ้ายคางเป็ด เมื่อท่านเจริญวัยจนพอศึกษาเล่าเรียนได้ อีกทั้งด้วยเหตุที่ชีวิตของท่านประสบทุกข์ยากลำบากจึงเกิดสลดสังเวช ท่านจึงขอต่อพ่อและแม่เลี้ยงไปบรรพชาเป็นสามเณร และเมื่ออายุครบก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุได้นามจากพระอุปัชฌาย์ว่า เรวัจจะภืกษุ ท่านมุ่งมั่นศึกษาปฏิบัติธรรมกัมมัฎฐานอย่างจริงจัง ต่อเมื่อท่านนำศรัทธาญาติโยมมาตั้งหลักแหล่งใหม่และท่านก็มาอยู่ที่เมืองลำพูนนี้จนถึงกาลมรณภาพ  เมื่อทำการประชุมเพลิงสรีระของท่านแล้วปรากฎว่า อัฎฐิของท่านได้กลายกลับเป็นพระธาตุทั้งสิ้น ยังความอัศจรรย์ใจแก่ญาติโยมทั้งสิ้น อาศัยเหตุที่ท่านเป็นผู้นำในการมาตั้งหลักแหล่งแห่งห้องใหม่และด้วยศรัทธาในความเป็นพระผู้สิ้นแล้วซึ่งกิเลสดังที่ปรากฎ ศรัทธาสาธุชนจึงร่วมกันก่อกู่เพื่อบรรจุพระสรีระธาตุของท่านไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์และสักการะสืบมา ( เรื่องของท่านครูบานี้ ดิฉันรับฟังจากผู้เฒ่าผู้แก่มาอีกทีหนึ่ง่ ดังนั้นหากมีผิดเพี้ยนประการใดขอท่านผู้รู้โปรดรับการขมาอภัยจากดิฉันมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ)่  

ชื่อวัด          ฉางข้าวน้อยใต้

ประเภทวัด  วัดราษฎร์/พัทธสีมา

นิกาย          มหานิกาย

พระภิกษุ     1 รูป

สามเณร      - รูป

ที่ตั้ง            หมู่ 4 ตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

โทร             -

เรียบเรียง/เนื้อหา โดยนางสาวเหมือนฝัน  ศิริจันทร์บุตร