ยางพารา

การกรีดยาง

เกษตรกรในพื้นที่ ตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ที่ผลิตยางก้อนถ้วย จะต้องกรีดยางให้ได้ 6-8 มีด จึงจะสามารถเก็บยางก้อนถ้วยไปขายได้ ตามมาตรฐานของกลุ่ม หรือผู้ประมูลกำหนด ซึ่งกำหนดไว้ที่ 6-8 มีด

ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องใช้ระบบกรีด 2 วันเว้น 1 วัน ซึ่งจะได้ 8 มีด หรือระบบกรีด วันเว้นวัน จะได้ 6 มีด เกษตรกรจะใช้ระบบกรีด 2 วันเว้น 1 วัน หรือ วันเว้นวัน ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศด้วย

การผสมกรดฟอร์มิคกับน้ำสะอาด

เกษตรกรจะใช้วิธีการผมสกรดฟอร์มิค 90% ในอัตราส่วน (กรดฟอร์มิค 90% 1.5 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 30 ลิตร แล้วกรอกใส่ขวดพลาสติก) หรือ (กรดฟอร์มิค 90% 1 ช้อนแกง ต่อน้ำสะอาด 1.25 ลิตรหรือขวดน้ำอัดลมพลาสติก)

การหยอดกรด

หลังจากกรีดแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง หรือรอให้น้ำยางหยุดไหลก่อนเกษตรกรค่อยจะทำการหยอดกรด โดยการหยอดกรด จะหยอดใส่มาก หรือน้อย ต้องขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำยางในถ้วย จากนั้นก็ทำการคนให้เข้ากัน รอประมาณ 2-5 นาที ยางก็จะเริ่มจับตัวเป็นก้อน

การเก็บและบรรจุยางก้อนถ้วย

เกษตรกรจะทำการเก็บยางก้อนถ้วย เมื่อกรีดครบ 6-8 มีดแล้ว หรือตามกำหนดการซื้อขายของกลุ่ม โดยเก็บยางก้อนถ้วยที่ยังสดๆ หรือชุ่มน้ำอยู่ บรรจุใส่ถุงพลาสติก ยัดหรืออัดให้แน่น จากนั้นก็เทน้ำใส่ถุงอีก ก่อนที่จะมัดปากถุง เพื่อรอไปเข้าคิวขายต่อไป

การซื้อ - ขายยางก้อนถ้วย

ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย จะซื้อขายยางก้อนถ้วยกันสดๆ ทั้งๆ ที่ยังชุ่มน้ำอยู่ ตามความต้องการของพ่อค้า การซื้อขายยางก้อนถ้วยที่จังหวัดหนองคาย จะแบ่งเป็น 2 วัน

วันแรก

เกษตรกรจะนำยางมาเข้าคิว ซึ่งประธานและคณะกรรมการกลุ่มจะเป็นผู้ดำเนินการ ช่วงบ่ายพ่อค้าจะทำการประมูลผ่านทางโทรศัพท์ หรือพ่อค้ามาดูยางเอง และใส่ราคาที่ลานประมูล

วันที่สอง

คณะกรรการและพ่อค้า จะทำการชั่งน้ำหนัก ออกใบเสร็จ และจ่ายเงินค่ายางให้แก่เกษตรกร