บริบทตำบล

ข้อมูลสถานที่ตั้งและลักษณะพื้นที่

ประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น

ตำบลนนทรีย์ เดิมเป็นชุมชนของชาวชอง ชาวสำเหร่ ได้สืบเชื้อสายมาจนถึงปัจจุบัน ในบริเวณที่ตั้งแต่เดิมเป็นพื้นที่ป่าไม้ มีต้นนทรีย์ขึ้นเป็นจำนวนมาก เลยตั้งชื่อชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนบ้านนนทรีย์ ต่อมาได้ยกเป็นเขตปกครองหมู่บ้านขึ้นอยู่กับตำบลด่านชุมพล อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ต่อมาในปี 2513 ได้แบ่งเขตการปกครองอำเภอเขาสมิง ออกเป็นกิ่งอำเภอบ่อไร่ ตำบลด่านชุมพลจึงขึ้นกับกิ่งอำเภอบ่อไร่

ปี 2514 ได้ยกฐานะกิ่งอำเภอบ่อไร่ เป็นอำเภอบ่อไร่ และเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2529 ทางราชการได้แยกหมู่บ้านสระใหญ่ หมู่บ้านมะม่วง ออกจากตำบลด่านชุมพล มาจัดตั้งเป็นตำบลนนทรีย์ ขึ้นกับอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด โดยแบ่งออกเป็น 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านนนทรีย์ หมู่ที่ 2 บ้านสระใหญ่ หมู่ที่ 3 บ้านมะม่วง หมู่ที่ 4 บ้านคลองโอน หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งตอง

(อ้างอิง : ประวัติความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนตำบลนนทรีย์)

ประวัติการจัดตั้ง กศน.ตำบล

เดิมที่ศูนย์การเรียนชุมชนนนทรีย์ ยังไม่ได้รับการประกาศจัดตั้งให้เป็นศูนย์การเรียนชุมชน เป็นเพียงสถานที่พบกลุ่มเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสายสามัญและจัดกิจกรรมฝึกทักษะอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ขาดโอกาส พลาดโอกาส และด้อยโอกาส ต่อมาปี 2553 ได้มีคำสั่งประกาศจังหวัดตราด ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2543 ให้มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนเทศบาล,ตำบล โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งกรมการศึกษานอกโรงเรียน ที่ 348/2542 เรื่องมอบอำนาจในการจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2542 จังหวัดตราด ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า

ศูนย์การเรียนชุมชนเป็นศูนย์รวมการจัดกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิตที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและกลุ่มเป้าหมายต่างๆในพื้นที่ มีความพร้อมทั้งสถานที่ บุคลากร สื่อต่างๆ สมควรได้รับการประกาศจัดตั้งให้เป็นศูนย์การเรียนชุมชนในเขตอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด

พิกัดตำแหน่ง

แผนที่ตั้ง กศน.pdf

สถานที่ตั้ง

ตั้งอยู่เลขที่ 171 หมู่ 3 ตำบลนนทรีย์ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด

ข้อมูลบุคลากร (ครู กศน.ตำบล)

ชื่อ-สกุล : นางสาวลูกน้ำ มูลโชติ

ว/ด/ป เกิด : วันที่ 13 ธันวาคม 2530

การศึกษา : 1. ปริญญาตรี สาขา การตลาด มหาวิทยาลัยบูรพา

2. ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี

ประสบการณ์ทำงาน : 1. ครูสอนโรงเรียนศิรวิทย์คณิตศาสตร์ (ปี พ.ศ.2553-2558)

2. ครู กศน.ตำบล กศน.อำเภอบ่อไร่ (ปี พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน)

ชื่อและเบอร์ติดต่อบุคลากร กศน.ตำบล

นายคุณัชพิเชฐ สุดศรี

ตำแหน่ง ครูอาสาสมัคร กศน.

เบอร์โทรศัพท์ 089-8328277

นางสาวลูกน้ำ มูลโชติ

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล

เบอร์โทรศัพท์ 096-7305503

Fanpage กศน.ตำบล

ข้อมูลสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และอินเตอร์เน็ต

มีสื่อ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้

จำนวนผู้ใช้สื่อ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้

ข้อมูลบุคลากรที่ปฏิบัติงานใน กศน.ตำบล

ข้อมูลคณะกรรมการ กศน.ตำบล

1. นางอิศราภรณ์ ทักษิณ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 1

2. นายศักดิ์สิทธิ์ ดวงสว่าง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 1

3. นายไพโรจน์ อิงชำนิ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2

4. นายจรัญ อี๊ดเส็ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2

5. นายสมชาย วงพระราม ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3

6 . นายวิจิตร รัตนมูล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3

7. นายวินัย มูลโชติ กำนัน หมู่ 4

8. นายอำนาจ มูลโชติ สารวัตรกำนัน หมู่ 4

9. นายสมนึก บุญธรรม ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 5

10. นายชาญศักดิ์ เคลือบเชย ประธานประชาคม หมู่ 5

11. นางสาวศิริวรรณ ไพยสูตร องค์กรนักศึกษา

12. นางสาววันนิดา หินพิเศษ องค์กรนักศึกษา

13. นางเพ็ญ คัมภิรานนท์ อาสาสมัคร กศน.

14. น.ส.ลูกน้ำ มูลโชติ ครู กศน.ตำบล

มีการรายงานผลข้อมูลพื้นฐานให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน

ด้านประชากร1.pdf
ประชากร2.pdf

สภาพอาคารอยู่ในสถานที่มั่นคง

ห้องเรียนมีความแข็งแรง มั่นคง

มีการจัดสภาพแวดล้อมโดยยึดหลัก 5 ส.

ทำความสะอาดชั้นหนังสือเรียน

ทำความสะอาดบริเวณ กศน.ตำบล

มีมุมให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ เข้าถึงได้อย่างปลอดภัย มีการตกแต่งที่สวยงาม มีชีวิตชีวา สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการ

มีการจัดมุมให้ความรู้ภายใน กศน.ตำบล

กราฟแสดงข้อมูลจำนวนผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานในแต่ละภาคเรียน

มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ของตำบล ตามบริบทของพื้นที่



อัตลักษณ์ผู้เรียน

"ใฝ่เรียนรู้ มีจิตอาสา"

"ใฝ่เรียนรู้" หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ผู้เรียนและผู้รับบริการที่เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้จึงเป็นคนที่มีความตั้งใจ มีความเพียรพยายามในการเรียน สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ สามารถเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม มีการบันทึกความรู้ วิเคราะห์ข้อมูล สรุปเป็นองค์ความรู้อย่างนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

"จิตอาสา" หมายถึง จิตของคนที่รู้จักเสียสละ ความร่วมมือร่วมใจในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมจะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ช่วยแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขต่อสังคม เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมโดยไม่ทิ้งขยะลงน้ำ การดูแลรักษาสาธารณสมบัติ

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา

"บริการการศึกษาที่หลากหลาย"

"การบริการ" หมายถึง การกระทำหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรให้ได้รับความพึงพอใจ

"การศึกษาที่หลากหลาย" หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม ที่หลากหลาย เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาผ่านทางไกล



มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลายที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้

เป็นสถานที่ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการเรียนรู้ของผู้ใช้บริการ ได้แก่ Internet WIFI

นักศึกษาเรียนรู้โดยใช้ Internet กศน.ตำบล

นักศึกษาสืบค้นข้อมูลโดยใช้ Internet กศน.ตำบล

เป็นจุดเช็คอิน(Check in)ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ออนไล์

ให้บริการการศึกษา/ใช้สื่อออนไลน์

ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์

ห้องสื่อ กศน.ตำบล มุมหนังสือเรียน/โครงงานของผู้เรียน

มุมประชาสัมพันธ์ข่าวสาร

สื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สื่อการศึกษาต่อเนื่อง

สื่อการศึกษาอัธยาศัย