การเลี้ยงปูทะเล

วงจรชีวิตของปูทะเล

ปูทะเลเป็นสัตว์นํ้ากร่อยประเภทหนึ่งที่มีการอพยพย้ายถิ่นเพื่อการแพร่พันธุ์ โดยปูเพศเมียจะอพยพจากแหล่งหากินในบริเวณเขตนํ้ากร่อย ออกไปวางไข่ในทะเล ซึ่งการอพยพนี้จะมีขึ้น ภายหลังจากที่ได้ผ่านการจับคู่ผสมพันธุ์แล้ว และในขณะที่กําลังเดินทางสู่ทะเล ปูบางตัวอาจจะปล่อยไข่ออกมาไว้ที่ส่วนท้องแล้วก็ได้ ลูกปูวัยอ่อนมีอยู่ 2 ระยะ ได้แก่ ระยะ Zoea 1-5 และ Megalopa 1 ระยะ ในระยะ Zoea เป็นระยะที่ระยางค์ว่ายนํ้ายังไม่อยู่ในสภาพที่จะใช้งานได้จึงล่องลอยหากินไปตามกระแสนํ้า เมื่อเข้าระยะMegalopa จะมีการว่ายนํ้าสลับกับการหยุดเกาะอยู่กับที่เป็นครั้งคราวซึ่งถือได้ว่าระยะนี้เริ่มมีการแพร่กระจายเข้ามาหากินในบริเวณนํ้ากร่อย เมื่อลูกปูลอกคราบจากระยะ Megalopa เป็นตัวปูที่มีลักษณะเหมือนพ่อแม่ทุกประการ จะท่องเที่ยวหากินอยู่ในแหล่งนํ้ากร่อยได้อย่างอิสระ หลังจากนั้นปูเพศเมียที่สมบูรณ์เพศและผ่านการจับคู่ผสมพันธุ์แล้ว จะอพยพออกไปวางไข่เช่นเดียวกับแม่ของมัน เป็นวัฎจักรเช่นนี้สืบไป

อาหารของปูทะเล

ปูทะเลเป็นสัตว์ออกหากินในเวลากลางคืน โดยออกจากที่หลบซ่อน หลังจากดวงอาทิตย์ตกไปแล้วประมาณ 1 ชั่วโมง และเข้าที่หลบซ่อนก่อนหน้าดวงอาทิตย์ขึ้นเพียงเล็กน้อย หรือหลังจากนั้นประมาณ 30 นาทีดังนั้นแสงและอาหารจึงมีอิทธิพลต่อการปรากฎตัวอยู่ภายนอกที่หลบซ่อน สำหรับอาหารที่ตรวจพบในกระเพาะอาหารของปูทะเล ได้แก่ หอยฝาเดียว หอยสองฝา กุ้ง ปู ปลา และเศษพืช ซึ่งปูจะชอบกินปูด้วยกันเองมากที่สุด

ปูแต่ละวัยหากินในอาณาบริเวณที่แตกต่างกัน กล่าวคือปูวัยอ่อน เป็นกลุ่มที่หากินในบริเวณป่าชายเลนและอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ขณะที่นํ้าทะเลได้ลดลงแล้ว ปูวัยรุ่น เป็นพวกที่ดำรงชีวิตตามการขึ้นของนํ้า เข้ามาหากินในบริเวณป่าชายเลน และกลับลงสู่ทะเลไปพร้อมๆกับนํ้าทะเล และปูโตเต็มวัย มีการแพร่กระจายเข้ามาหากินพร้อมกับระดับนํ้าที่สูงขึ้นเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะตระเวนอยู่ในระดับลึกกว่าแนวนํ้าลงตํ่าสุด

กลายมาเป็นปูเศรษฐกิจ

แต่ปัจจุบันพบว่าปริมาณปูทะเลในธรรมชาติมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ จำเป็นต้องเร่งหาแนวทางการเพิ่มปริมาณปูทะเลให้มากขึ้น และสนับสนุนให้มีการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ เพื่อลดการจับจากธรรมชาติ ให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศ พร้อมส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ฉะนั้นการชดเชยหรือทดแทนความต้องการปู ด้านการตลาดนั้น จึงเน้นที่การเลี้ยงให้มากขึ้น

การเลี้ยงปูทะเล

การเลี้ยงปูทะเลนั้น เกษตรกรได้สืบทอดทำเป็นอาชีพกันมานานแล้ว การเลี้ยงปูทะเลส่วนใหญ่ จะมีเทคนิคที่แตกต่างกัน เช่น เลี้ยงในแหล่งน้ำธรรมชาติ การเลี้ยงในบ่อดิน การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยงในกระชัง เป็นต้น

โดยปูทะเลในสกุล Scylla ที่พบในน่านน้ำไทยมี 4 ชนิด คือ ปูดำหรือปูแดง (Scylla olivacea) ปูเขียวหรือปูทองโหลง (Scylla serrata) ปูม่วง (Scylla tranquebarica) และ ปูขาว หรือปูทองหลาง (Scylla paramamosain)

ปูขาว หรือ ปูทองหลาง

ปูขาวหรือ ปูทองหลาง (Scylla paramamosain) มีความเหมาะสมกับการเลี้ยงในบ่อดิน มีการเจริญเติบโตเร็ว ขนาดตัวใหญ่ ส่วนในด้านการผลิตลูกพันธุ์ปูขาวให้ได้ปริมาณมากนั้น ต้องใช้แม่พันธุ์ปูไข่นอกกระดองที่มีคุณภาพ ซึ่งโดยธรรมชาติการผสมพันธุ์ของปูเกิดขึ้น หลังจากตัวเมียลอกคราบใหม่ๆ ตัวผู้จะเข้าผสมพันธุ์และปล่อยถุงน้ำเชื้อ ไปเก็บไว้ใน Receptacle ของปูตัวเมีย เมื่อไข่พัฒนาเต็มที่ ตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมาผสมกับน้ำเชื้อ แล้วนำไข่มาเก็บบริเวณจับปิ้ง เรียกว่า “ปูไข่นอกกระดอง” โดยไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะพัฒนาเป็นตัวอ่อนและฟักเป็นลูกปูระยะซูเอี้ย ซึ่งปริมาณความแข็งแรงของลูกปูแรกฟักขึ้นอยู่กับอายุ ความสมบูรณ์แข็งแรง ขนาดของพ่อแม่พันธุ์ สภาพแวดล้อม

และที่สำคัญคืออาหารที่พ่อแม่พันธุ์ได้รับ การจัดการอาหารสำหรับพ่อแม่พันธุ์ปู นับเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าการจัดการด้านสภาพแวดล้อม และเทคนิคการเพาะขยายพันธุ์

สูตรอาหารของปูเลี้ยง

สูตรอาหารสำหรับนำมาเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปูขาว เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์เพศ พบว่า พ่อแม่พันธุ์ปูขาวที่เลี้ยงด้วยอาหารทดลอง ที่มีส่วนผสมของอาหารสด 60 เปอร์เซ็นต์ คือ หอยแครง 7.5 เปอร์เซ็นต์ เพียงทราย 30 เปอร์เซ็นต์ หมึก 7.5 เปอร์เซ็นต์ และเนื้อกุ้ง 15 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับ 40 เปอร์เซ็นต์ ของส่วนผสมอื่นที่ประกอบด้วย อาหารผงสำเร็จรูป 36 เปอร์เซ็นต์ สไปรูลิน่า 2 เปอร์เซ็นต์ วิตามินซี 1 เปอร์เซ็นต์ และน้ำมันปลา 1 เปอร์เซ็นต์ ช่วยให้พ่อแม่พันธุ์ปูขาวมีความสมบูรณ์เพศ โดยพบว่า แม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปูขาวที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรดังกล่าว มีการปล่อยไข่ออกนอกกระดองมากขึ้น ดัชนีความสมบูรณ์เพศ และคุณภาพของน้ำเชื้อสูงขึ้น เนื่องจากอาหารสูตรดังกล่าว มีองค์ประกอบของกรดไขมัน (ARA, EPA, DHA) และโปรตีนในปริมาณมาก ช่วยให้แม่พันธุ์ปูขาวนำไปใช้ในการพัฒนาไข่ให้สมบูรณ์ ที่สำคัญคือมีฮอร์โมนหลายชนิดจากเพรียงทราย และหมึก ช่วยกระตุ้นการเจริญของรังไข่ พัฒนาเซลล์ไข่ให้กลายเป็นไข่แก่พร้อมปล่อยไข่ออกนอกกระดอง ช่วยให้พ่อพันธุ์ปูขาวมีน้ำเชื้อสมบูรณ์ คุณภาพดี นอกจากนี้ยังมีสารสีจากเนื้อกุ้ง ช่วยลดความผิดปกติและป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์สเปิร์มอีกด้วย

วิธีการเลี้ยงปูทะเลโดยวิธีขุน

วิธีขุนปู หรือการขุนปูทะเล หมายถึงการนำปูที่มีขนาดตั้งแต่ 1-4 ตัว/กก. ขณะที่ยังเป็นปูโพรก (ปูที่เนื้อไม่แน่นยังมีปริมาณน้ำอยู่ในเนื้อมาก) และปูเพศเมียที่มีไข่อ่อนมาขุนเลี้ยงเป็นระยะเวลาประมาณ 20-30 วัน ก็จะได้ปูเนื้อแน่นและปูไข่แก่ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด


เกษตรกรแหลมฟ้าผ่า การเลี้ยงสัตว์ทะเลอินทรีย์ สุรกิจ-ฟาร์ม-ประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระบบอินทรีย์

นายสุรกิจ ละเอียดดี

อาชีพ เลิ้ยงกุ้งทะเล ปูทะเล


ตำแหน่งที่ตั้ง : หมู่ 13 ถ. สุขสวัสดิ์ ต. แหลมฟ้าผ่า อ. พระสมุทรเจดีย์ จ. สมุทรปราการ

โทร : 09-4463-3526

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว โดย นายวิมล ยิ่งหาญ

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นายวิมล ยิ่งหาญ