โรงพักเก่าสวรรคโลก (ทรงปั้นหยา)

ประวัติศาสตร์โรงพักเรือนทรงปั้นหยา ยุคก่อนสงครามโลก ครั้งที่2 ณ ที่ทำการสถานีตำรวจภูธรสวรรคโลก อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัยโดยอาคารไม้โบราณหลังนี้ พล..ต.ต.รังสรรค์ คชไกร ผบก.ภ.จว.สุโขทัย ได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการบูรณะเพื่อให้เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อไปในอนาคต ​ก่อนปีพ.ศ.2482 สมัยที่สวรรคโลกยังเป็นจังหวัด สถานีตำรวจ หรือโรงพักสวรรคโลก ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม ด้านทิศใต้ของวัดสวัสติการาม เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะเดียวกับส่วนราชการอื่น ต่อมาในปีพ.ศ.2482 เมื่อเปลี่ยนจากจังหวัดสวรรคโลก เป็นจังหวัดสุโขทัย โรงพักก็ย้ายมาอยู่ฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำยม ด้านทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอหลังใหม่​​การก่อสร้างได้เริ่มขึ้นสมัยหลวงกำแหง สิงหนาท เป็นผู้กำกับการ สถานที่ก่อสร้างเดิมเป็นวัดหลวงคลัง โดยหลวงคลังเป็นคนถวายที่ให้วัด ต่อมากลายเป็นวัดร้าง จึงได้ใช้เป็นสถานที่ก่อตั้งโรงพักแห่งใหม่ และใช้ชื่อโรงพักอำเภอสวรรคโลกนับแต่นั้นมา​​โรงพักแห่งนี้ ได้กำหนดแบบก่อสร้างเป็นเรือนทรงปั้นหยา มีมุขกลาง1ห้อง เสาล่างเป็นคอนกรีต เสาบนไม้แดง ฝาไม้สัก พื้นฝาเครื่องไม้ตะแบก หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์ ขนาดกว้าง10เมตร ยาว30เมตร ค่าก่อสร้างเป็นเงิน 7,000บาท ต่อมาในปีพ.ศ.2521 ได้มีหลักฐานการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาเป็นกระเบื้องลอนคู่ และไม้เชิงชายรอบตัวอาคาร​การสืบค้นเอกสารหลักฐาน รวมถึงการบันทึกเรื่องราวจากคำบอกเล่าของข้าราชการตำรวจโรงพักอำเภอสวรรคโลก โดยเฉพาะตำรวจวัย๙๖ปี ร.ต.ต.นก พ่วงหงษ์ หรือหลวงตานก ทำให้รู้ถึงชีวิตการทำงานของตำรวจในสมัยนั้น​​หลวงตานก เล่าว่า ในสมัยนั้นมีกำลังพล 248นาย ด้านข้างโรงพักฝั่งทิศใต้จะพลับพลาอยู่หลังหนึ่ง ลักษณะเป็นอาคารยกพื้นต่ำปูพื้นไม้ ไม่มีข้างฝา แต่มีหลังคาคลุมกันแดดกันฝนได้ ใช้เป็นเรือนนอนสามารถจุคนได้เป็นร้อยคน ตำรวจส่วนใหญ่ที่บ้านเรือนอยู่ต่างอำเภอก็จะอาศัยพลับพลาหลังนี้เป็นที่หลับนอน ด้านหลังโรงพักฝั่งด้านทิศเหนือเป็นบ้านผู้กำกับการ ถัดมาเป็นคอกเลี้ยงม้าโดยมีม้าอยู่ 7ตัวสำหรับใช้เป็นพาหนะเดินทางไปราชการต่างอำเภอ สมัยก่อนจะใช้การเดินเท้า และพายเรือ จักรยานมีใช้กันหลังสงครามโลกครั้งที่2 ด้านหลังโรงพักฝั่งทิศใต้เป็นหลุมหลบภัยสร้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2ลักษณะหลุมหลบภัยจะขุดเป็นคูคดเคี้ยวสูงท่วมหัว ส่วนตรงปลายจะทำเป็นเนินดินให้คนเข้าไปหลบได้โดยข้างบนปลูกต้นขนุนคลุมไว้​​“สมัยก่อนบ้านเมืองมีแต่ศึกสงคราม ทั้งสงครามอินโดจีน(ไทย-ฝรั่งเศส) สงครามเวียดนามกบฏแมนฮัตตัน สงครามโลกครั้งที่2 ดังนั้นชายไทยที่มีอายุ17ปี จะถูกฝึกให้จับปืนเพื่อออกไปร่วมรบ หลวงตาก็เป็นหนึ่งในนั้น ตอนบรรจุเป็นตำรวจ ตอนนั้นยังเป็นพลอาสารบ ได้เงินเดือน11บาท สองสลึง(11.50 บาท) ระหว่างเป็นตำรวจก็ยังไปร่วมรบด้วย โดยเฉพาะช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2ปีพ.ศ.2484 ตอนนั้นตำรวจอำเภอสวรรคโลกไป1 กองร้อย” หลวงตานกฟื้นอดีตที่ยังแจ่มชัด “การออกไปร่วมรบแต่ละครั้งจะประมาณ 5-6เดือน ใครใฝ่รู้ก็ได้เรียนรู้ภาษาต่างถิ่นไปด้วย

หลวงตาเองก็อาศัยเรียนรู้ไปด้วย จึงสามารถพูดสื่อสารได้ทั้งภาษาจีน ญี่ปุ่น ลาว และภาษาชนเผ่าเมื่อกลับจากสงคราม ก็เริ่มมาทำงานในตำแหน่งเสมียนคดี จากนั้นจึงเข้ารับการอบรมด้านพิสูจน์หลักฐาน ที่กองวิทยาการ จ.พิษณุโลก และที่กรุงเทพฯ รวม9เดือน แล้วจึงกลับมาทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน และอยู่ในตำแหน่งนี้เรื่อยมา จนอายุรับราชการร่วม40ปี จึงได้รับการติดยศ ร.ต.ต.นก พ่วงหงษ์ ในวันเกษียณ

ขณะที่พล.ต.ต.รังสรรค์ บอกว่ารู้สึกเสียดายที่เห็นอาคารหลังนี้ผุพังและได้เห็นอาคารหลังนี้มาตั้งแต่เด็ก จึงเริ่มหาความร่วมมือจากภาคเอกชนในที่สุดได้รับความร่วมมือจากบริษัทน้ำตาลทิพย์สุโขทัยผ่านพล.ต.อ.เขตต์ นิ่มสุมบุญ เป็นทุนประเดิม 8 แสนบาท

“พอเริ่มบูรณะได้เริ่มสืบค้นเอกสารหลักฐาน รวมทั้งการบอกเล่าจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเก่าที่อยู่ตั้งแต่ก่อตั้งอาคารเรือนปั้นหยา ทำให้ผมกับคณะข้าราชการตำรวจได้แนวทางบูรณะที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ มีการจัดกิจกรรมระดมทุนจนสุดท้ายได้งบประมาณ 2.5 ล้านบาท”

พล.ต..ต.รังสรรค์ กล่าวว่าอยากให้อาคารหลังนี้เป็นมรดกทางระวัติศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชขาติ เนื่องจากมีเรื่องราวในเชิงประวัติศาสตร์บรรจุไว้มากมาย รวมทั้งเชิงสถาปัตยกรรมเรือนปั้นหยาในยุคนั้น