งานวิจัยและพัฒนา กศน

งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาการบวกลบจำนวนตัวเลขเศษส่วน ของนักศึกษา กศน.ตำบลโพธิ์ทอง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้แบบฝึกทักษะ


1. ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนาการบวกลบจำนวนตัวเลขเศษส่วน ของนักศึกษา กศน.ตำบลโพธิ์ทอง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้แบบฝึกทักษะ

2. ผู้วิจัย : นายกิตติ ละครสิงห์

3. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ทักษะการคิดคำนวณมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ ในวิชาคณิตศาสตร์เป็นอย่างมากนักศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดทักษะในการคิดคำนวณ ซึ่งมีสาเหตุได้หลายประการ ดังนี้

1. พื้นฐานการเรียนรู้ของนักศึกษาในระยะแรกเริ่มไม่ดีพอ

2. นักศึกษาขาดการฝึกฝนในการคิดที่ต่อเนื่อง

3. นักศึกษามีทักษะการบวกลบจำนวนเศษส่วนในขั้นพื้นฐานที่ไม่ถูกต้อง

จากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้พัฒนาการในการเรียนการคำนวณจำนวนเศษส่วนของนักศึกษาไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นผู้วิจัยจึงคิดหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งจากการจัดการเรียนรู้แล้วพบว่า ทักษะการบวกลบจำนวนเศษส่วนของนักศึกษา กศน.ตำบลโพธิ์ทอง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 7 คน ยังมีข้อบกพร่องอยู่มาก ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาทักษะการบวกลบจำนวนเศษส่วนของนักศึกษากลุ่มนี้ โดยการให้นักศึกษาได้ฝึกบวกลบ ตามแบบฝึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา

4. วัตถุประสงค์การวิจัย

4.1 เพื่อพัฒนาทักษะการบวกลบจำนวนเศษส่วนของนักศึกษา

4.2 เพื่อศึกษาทักษะการคิดคำนวณของนักศึกษา กศน.ตำบลโพธิ์ทอง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลังใช้แบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้น

5. วิธีดำเนินการ

5.1 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษา กศน.ตำบลโพธิ์ทอง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 2/2555 จำนวน 7 คน

5.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

5.2.1 ใบความรู้เรื่องจำนวนเศษส่วน เรื่อง การบวกลบจำนวนเศษส่วน จำนวน 1 ชุด

5.2.2 แบบฝึกทักษะการบวกลบจำนวนเศษส่วน จำนวน 4 ชุด

5.2.3 แบบวัดทักษะในการบวกลบจำนวนเศษส่วน จำนวน 1 ชุด

5.3 ระยะเวลาในการวิจัย ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2555

5.4 ขั้นตอนการวิจัย

5.4.1 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1.ใบความรู้ 2. แบบฝึกทักษะ 3.แบบวัดทักษะ

5.4.1 ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบที่จัดทำขึ้น

5.4.2 ให้นักศึกษาศึกษาใบความรู้พร้อมอธิบายเพิ่มเติม และให้นักศึกษาทำแบบฝึกทักษะที่กำหนดให้ จำนวน 3 ชุด

รายละเอียดการดำเนินการ ดังนี้

วัน เดือน ปี กิจกรรม

20 พ.ย. 2555 ทำแบบฝึกทักษะชุดที่ 1

22 พ.ย. 2555 ทำแบบฝึกทักษะชุดที่ 2

27 พ.ย. 2555 ทำแบบฝึกทักษะชุดที่ 3

29 พ.ย. 2555 ทำแบบฝึกทักษะชุดที่ 4

5.4.3 ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน

5.4.4 นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ผล

6. ผลกาวิเคราะห์ข้อมูล

ที่ ชื่อ – สกุล คะแนนก่อน คะแนนหลัง คะแนน

การพัฒนา การพัฒนา ความก้าวหน้า

10 คะแนน 10 คะแนน ( +,-)

1 นายประเสิฐ ศรีวิบูลย์ 2 6 4

2 นางอานิชา แก้วภักดี 4 7 3

3 นายเฉลิม ศิลาเกษ 3 7 4

4 นางดาวรุ่ง เพ็งผลา 4 8 4

5 นายสุรัก สมมงคล 3 7 4

6 นางสมหมาย สวัสดิ์ผล 4 7 3

7 นายสำราญ มัตริ 2 6 4

ผลรวม 22 48 26

ค่าเฉลี่ย 3.14 6.86 3.71

ค่าเฉลี่ยร้อยละ 31.4 68.6 37.1

จากตาราง พบว่า นักศึกษามีผลการพัฒนาการบวกลบจำนวนตัวเลขเศษส่วนเพิ่มขึ้น หลังการพัฒนา (ค่าเฉลี่ยร้อยละ 68.6) สูงกว่าก่อนการพัฒนา (ค่าเฉลี่ยร้อยละ 31.4) และมีค่าเฉลี่ยความก้าวหน้าเท่ากับ ร้อยละ 37.1

7. สรุปผลการวิจัย

จากการใช้แบบฝึกทักษะการบวกลบจำนวนตัวเลขเศษส่วนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พบว่า ในระยะแรก ก่อนใช้แบบฝึกทักษะการบวกลบจำนวนตัวเลขเศษส่วน นักศึกษากลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 7 คน ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน หลังจากจาก ใช้แบบฝึกทักษะการบวกลบจำนวนตัวเลขเศษส่วน นักศึกษาทั้ง 7 คน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด มีพัฒนาการบวกลบจำนวนตัวเลขเศษส่วนโดยรวม ร้อยละเฉลี่ย 37.1

จากผลการประเมินสรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะการบวกลบจำนวนตัวเลขเศษส่วน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนั้น สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาการบวกลบจำนวนตัวเลขเศษส่วนได้เป็นอย่าดี และผู้วิจัยมีความเห็นว่าหากนักศึกษาได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้นักศึกษาสามารถบวกลบจำนวนตัวเลขเศษส่วนได้อย่างคล่องแคล่วและเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับที่สูงขึ้นไปได้เป็นอย่างดี