งานวิจัยชุมชน


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดประชาชนของนักศึกษา กศน. นักเรียนและประชาชนทั่วไป ฉบับนี้เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดประชาชนของนักศึกษา กศน. นักเรียนและประชาชนทั่วไป เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจซึ่งได้วิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มนักศึกษา กศน. นักเรียนและประชาชนทั่วไป ผลการดำเนินงานประเด็นชี้วัดการประเมินความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสมเด็จของนักศึกษา กศน. นักเรียนและประชาชนทั่วไปในอำเภอศรีสมเด็จ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยในครั้งนี้จำนวน 30 คน โดยใช้การวิธีการสุ่มอย่างง่าย การหาประสิทธิภาพของแบบสอบถามและการเก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสมเด็จ ความเหมาะสมของแบบสอบถามที่จะนำไปใช้สำรวจความพึงพอใจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลพิจารณาและปรับปรุงโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นแบบสอบถาม/แบบสำรวจความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุดประชาชนโดยการศึกษาพฤติกรรมที่เข้าใช้บริการบ่อยครั้งและใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่องจนเกิดการเรียนรู้และมีนิสัยรักการอ่าน

จากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม พบว่า นักศึกษา กศน. นักเรียนและประชาชนทั่วไป มีความสนใจในการเข้าใช้บริการห้องสมุดประชาชน ข้อมูลพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดเหตุผลที่ใช้บริการห้องสมุดคือ เล่นอินเตอร์เน็ต เหตุผลที่ไม่อยากเข้าใช้ห้องสมุดคือ ไม่รู้จะไปไหน ด้านประเภทที่ใช้บ่อยในห้องสมุดคือ อ่านนวนิยายและหนังสือพิมพ์ ด้านอุปสรรคในการเข้าใช้ห้องสมุด คือ ติดเรียนเพราะส่วนใหญ่เป็นนักเรียนในระบบของอำเภอศรีสมเด็จ ในส่วนของประเด็นวัดความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุด ด้านการบริการของงเจ้าหนน้าที่/บุคลากรที่ให้บริการ พบว่า เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยรอยยิ้ม สุภาพเป็นมิตร/อัธยาศัยดี ด้านกระบวนการบริการ ขั้นตอนการให้บริการพบว่า มีเครื่องมือที่ทันสมัยในการให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า ได้รับบริการที่เป็นประโยชน์

จากผลการวิจัยการศึกษาพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดประชาชนของนักศึกษา กศน. นักเรียนและประชาชนทั่วไปทำให้พบว่า มีความพึงพอใจในการใช้ห้องสมุดซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนในระบบและประชาชนทั่วไป เพราะจะมีอุปสรรคในการเข้าใช้บริการห้องสมุดประชาชน คือ ติดเรียน และประชาชนทั่วไปจะมีภาระหน้าที่ในการหารายได้แก่ครอบครัวความสนใจและพฤติกรรมการใช้ห้องสมุด นักศึกษา กศน. นักเรียนและประชาชนทั่วไป สนใจที่จะเรียนรู้ในห้องสมุดประชาชน ทั้งนี้เพราะต้องการอาหารสมองที่มีคุณค่าและพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ ให้กับตนเองอยู่ตลอดเวลาและข้อเสนอแนะจากการวิจัยในครั้งนี้ คือขยายเวลาให้บริการของสมุดประชาชน เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่านให้เกิดกับนักศึกษา กศน. และประชาชนทั่วไปจัดกิจกรรมส่งเสริม แนะนำการใช้ห้องสมุดอย่างมีคุณค่าควรจัดทำอย่างต่อเนื่อง ควรจัดงบประมาณในการจัดหาสื่อและจัดกิจกรรมให้เพียงพอต่อการส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อดึงดูดความสนใจให้มาใช้ห้องสมุด ติดตามผล ประเมินและขยายผล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไปควรศึกษาเจาะลึกเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาเชิงพฤติกรรมมากขึ้น ควรศึกษาเจาะลึกถึงสภาพปัญหา สาเหตุของการไม่ชอบมาใช้ห้องสมุด และที่สำคัญคือ ทำไมคนในพื้นที่ไม่ค่อยมาใช้บริการห้องสมุด ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมให้เจาะลึกลงไปอีกเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานว่าควรมีการทำงานอย่างไรถึงจะไม่มีข้อนพกพร่อง หรือถ้ามีให้น้อยที่สุด

บทนำ

ห้องสมุดเปรียบได้กับคลังความรู้ ผู้ใช้บริการหลายคนเข้าใจว่าห้องสมุดเป็นสถานที่เงียบสงบเพื่อการอ่านหนังสือเท่านั้น แต่หลายคน หลายอาชีพ เพศและวัยแตกต่างกัน การใช้บริการห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสมเด็จก็ย่อมแตกต่างกัน

ห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสมเด็จเป็นห้องสมุดที่เปิดให้บริการกับนักศึกษา กศน. นักเรียนและประชาชนทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่พฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดไม่เหมือนกัน เช่น การใช้เพื่อการศึกษาค้นคว้า การใช้บริการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ การใช้บริการเพื่อการผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการทำงาน การใช้เพื่อพบปะเพื่อนฝูง และอื่นๆอีกมากมายหลายเหตุผล

ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นสมควรว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่สามารถนำมาทำการวิจัย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสมเด็จต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดประชาชนของนักศึกษา กศน. นักเรียน และประชาชนทั่วไป

2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุดประชาชนของนักศึกษา กศน. นักเรียนและประชาชนทั่วไป

3. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสมเด็จ

ขอบเขตการวิจัย

ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.ประชากร

-ประชากร คือ นักศึกษา กศน. นักเรียนและประชาชนทั่วไป

2.กลุ่มตัวอย่าง

-กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษา กศน. นักเรียนและประชาชนทั่วไป จำนวน 30 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย

3.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

- ตัวแปรต้น คือ พฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดประชาชนของนักศึกษา กศน.

นักเรียนและประชาชนทั่วไป

- ตัวแปรตาม คือ ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุดประชาชนของนักศึกษา กศน. นักเรียนและประชาชนทั่วไป

นิยามคำศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

1. พฤติกรรม หมายถึง การกระทำหรืออาการที่แสดงออกทางความคิดและความรู้สึก

2. ความพึงพอใจ หมายถึง ความพอใจในการใช้หนังสือกับสถานที่ที่จัดเตรียมไว้เพื่อการบริการ

3. นักศึกษา กศน. หมายถึง นักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน

4. นักเรียน หมายถึง นักเรียนในระบบโรงเรียน

5. บรรณารักษ์ หมายถึง ครูที่มีวุฒิทางบรรณารักษศาสตร์ หรืออาจไม่มีวุฒิทางบรรณารักษศาสตร์ แต่ได้รับหมอบหมายจากผู้บริหารให้ทำหน้าที่บรรณารักษ์

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ได้ทราบพฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดประชาชนของนักศึกษา กศน. นักเรียนและประชาชนทั่วไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำข้อมูลไปใช้ในการกำหนดแนวทางในการพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสมเด็จ


เอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสมเด็จของนักศึกษา กศน.นักเรียนและประชานทั่วไป และรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. ความหมายและความสำคัญของสมุด

2. ปัญหาการอ่านและการใช้ห้องสมุด

3. การศึกษาตลอดชีวิต

4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ความหมายและความสำคัญของห้องสมุด

ห้องสมุดประชาชน หมายถึง ห้องสมุดที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ประชาชน โดยไม่จำกัด เพศ วัย

เชื้อชาติ ศาสนา และพื้นความรู้ ให้บริการสารสนเทศครบทุกหมวดวิชา และอาจมีการบริการบางเรื่องเป็นพิเศษตามความต้องการของท้องถิ่น และจะจัดให้บริการแก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่า

บทบาทหน้าที่ของห้องสมุดประชาชน มี 3 ประเภท คือ

1. หน้าที่ทางการศึกษา ห้องสมุดประชาชนเป็นแหล่งให้การศึกษานอกระบบโรงเรียน มีหน้าที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป ทุกระดับการศึกษา

2. หน้าที่ทางวัฒนธรรม ห้องสมุดปะชาชนเป็นแหล่งสะสมมรดกทางปัญญาของมนุษย์ ที่ถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ห้องสมุดตั้งอยู่

3. หน้าที่ทางสังคม ห้องสมุดประชาชนเป็นสถาบันทางสังคมได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและท้องถิ่นมาดำเนินกิจการ จึงมีหน้าที่ แสวงหาข่าวสารข้อมูลที่มีประโยชน์มาบริการประชาชน

ห้องสมุดประชาชนในประเทศไทยมีหน่วยงานต่างๆรับผิดชอบ ดังนี้

1. ห้องสมุดประชาชนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้แก่ ห้องสมุดประชาชนระดับจังหวัด และระดับอำเภอ นอกจากนี้กรมการศึกษานอกโรงเรียนยังได้จัดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน ที่อ่านหนังสือในวัด และห้องสมุดเคลื่อนที่

2. ห้องสมุดประชาชน สังกัดกรุงเทพมหานคร มีทั้งหมด 12 แห่ง ได้แก่ ห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี ห้องสมุดประชาชนซอยพระนาง ห้องสมุดประชาชนปทุมวัน ห้องสมุดประชาชนอนงคาราม ห้องสมุดประชาชนวัดสังข์กระจาย ห้องสมุดประชาชนบางเขน ห้องสมุดประชาชนบางขุนเทียน ห้องสมุดประชาชนวัดรัชฎาธิษฐานวรวิหารตลิ่งชัน ห้องสมุดประชาชนประเวช ห้องสมุดประชาชนวัดลาดปลาเค้า ห้องสมุดประชาชนภาษีเจริญ ห้องสมุดประชาชนวัดราชโอรส

3. ห้องสมุดประชาชนของธนาคารพาณิชย์ เป็นห้องสมุดที่ธนาคารพาณิชย์เปิดขึ้นเพื่อบริการสังคม และเพื่อประชาสัมพันธ์กิจการของธนาคารให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เช่น ห้องสมุดประชาชนของธนาคารกรุงเทพจำกัด

4. ห้องสมุดประชาชนของรัฐบาลต่างประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างประเทศ เช่น ห้องสมุดบริติชเคาน์ซิล ของรัฐบาลสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่บริเวณสยามสแควร์ กรุงเทพมหานคร

5. ห้องสมุดประชาชนเสียค่าบำรุง ห้องสมุดประชาชนประเภทนี้ให้บริการเฉพาะสมาชิกเท่านั้น โดยผู้ที่เป็นสมาชิกจะต้องเสียค่าบำรุงตามระเบียบของห้องสมุด ได้แก่ ห้องสมุดนีลสันเฮย์ ตั้งอยู่ที่ถนนสุริวงศ์ กรุงเทพมหานคร

บทบาทและความสำคัญของห้องสมสุดต่อสังคมในด้านต่างๆ

1. เป็นสถานที่เพื่อสงวนรักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรม ห้องสมุดเป็นแหล่งสะสมวิวัฒนาการของมนุษย์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าไม่มีแหล่งค้นคว้าประเภทห้องสมุดเป็นศูนย์กลางแล้ว ความรู้ต่างๆ อาจสูญหายหรือกระจัดกระจายไปตามที่ต่างๆ ยากแก่คนรุ่นหลังจะติดตาม

2. เป็นสถานที่เพื่อการศึกษา ค้นคว้าวิจัย ห้องสมุดทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทุกรูปแบบ ทั้งในและนอกระบบการศึกษา เริ่มจากการศึกษาขั้นพื้นฐานถึงระดับสูง

3. เป็นสถานที่สร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์และความจรรโลงใจ ห้องสมุดมีหน้าที่รวบรวมและเลือกสรรทรัพยากร สารสนเทศ เพื่อบริการแก่ผู้ใช้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าผู้ใช้ได้ความคิดสร้างสรรค์ ความจรรโลงใจนานาประการ เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมต่อไป

4. เป็นสถานที่ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ห้องสมุดจะช่วยให้บุคคลสนใจในการอ่าน และรักการอ่านจนเป็นนิสัย

5. เป็นสถานที่ส่งเสริมการาใช้เวลาว่างในเป็นประโยชน์ ห้องสมุดเป็นสถานที่รวบรวมสารสนเทศทุกประเภท เพื่อบริการแก่ผู้ใช้ตามความสนใจและอ่านเพื่อฆ่าเวลา อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน หรืออ่านเพื่อสาระบันเทิงได้ทั้งสิ้น นับว่าเป็นการพักผ่อนอย่างมีความหมายและให้ประโยชน์

6. เป็นสถานที่ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ห้องสมุดเป็นสาธารณะสมบัติ มีส่วนส่งเสริมให้บุคคลรู้จักสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง กล่าวคือ เมื่อมีสิทธิในการใช้ก็ย่อมมีสิทธิในการบำรุงรักษาร่วมกันและให้ความร่วมมือกับห้องสมุดด้วยการปฏิบัติตามระเบียบ แบบแผนของห้องสมุด

ปัญหาการอ่านและการใช้ห้องสมุด

ปัญหาในการอ่านที่ทำให้มีผลทำให้เด็กไม่เกิดนิสัยรักการอ่าน ซึ่งมีสาเหตุมาจาก

1.ไม่อ่าน

2. อ่านไม่ออก

3. ไม่มีหนังสืออ่าน

4. ไม่มีเวลาอ่าน

5. ไม่มีที่อ่าน

6. อ่านช้า

7. อ่านไม่เข้าใจ

8. อ่านแล้วไม่เกิดประโยชน์

ปัญหาในการใช้ห้องสมุดที่ทำให้เด็กไม่อยากเข้าใช้บริการห้องสมุด

1. กฎระเบียบ

2. สถานที่อยู่ไกลชุมชน

3. เจ้าหน้าที่ไม่ให้ความสนใจ

4. มีความคิดแบบเดิมๆ ว่าห้องสมุดน่าเบื่อ

5.ไม่มี่แรงจูงใจ

6. สื่อไม่ทันสมัย

7. การบริการไม่เป็นที่พอใจ

นอกจากนี้ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการห้องสมุดยังสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ตัวแปรที่เกี่ยวกับผู้ใช้ ได้แก่ วุฒิภาวะ ความพร้อม การจูงใจ สมรรถวิสัยในการอ่านและคุณลักษณะทางบุคลิกภาพของผู้อ่าน

2. ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน ได้แก่ ความแตกต่างของวัสดุการอ่าน ซึ่งอาจแตกต่างได้ในความยากง่าย ความยาว ความคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้วัสดุการอ่านยังแตกต่างในด้านของความสนุก น่าเรียนหรือน่าเบื่อหน่าย

3. ตัวแปรที่เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด

4. ตัวแปรที่เกี่ยวกับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ บ้าน โรงเรียน เพื่อนและชุมชน

จากข้อความที่กล่าวมาข้างตันสรุปได้ว่า การาใช้ห้องสมุดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม วัสดุการอ่าน และตัวของผู้อ่านเอง

การศึกษาตลอดชีวิต

ความหมายของการศึกษาตลอดชีวิต

คำจำกัดความของการศึกษาตลอกชีวิตได้มีผู้ให้ไว้หลายคนด้วยกันดังนี้คือ สุมาลี สังข์ศรี กล่าวว่า การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง ภาพรวมของการศึกษาทุกประเภทที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตายเป็นการศึกษาเพื่อมุ่งพัฒนาบุคคลให้ปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงในทุกช่วงชีวิตของบุคคลและพัฒนาต่อเนื่องไปให้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล การศึกษาตลอดชีวิตครอบคลุมการศึกษาทุกรูปแบบ ทุกวัย ทั้งการศึกษาสนระบบโรงเรียน และการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาแบบไม่เป็นทางการจากทุกแหล่งความรู้ในชุมชนและสังคมและเกิดขึ้นได้ทุกที่ โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ การศึกษาตลอดชีวิตเป็นการศึกษาที่สัมพันธ์กับชีวิตและผสมผสานกลมกลืนกับการดำเนินชีวิตของบุคคล สุนทร สุนันท์ชัย กล่าวว่า การศึกษาตลอดชีวิตเป็นการศึกษาทั้งหมดของชีวิตมนุษย์ จากเกิดจนตาย มุ่งพัฒนามนุษย์ให้ปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันและพัฒนาต่อเนื่องไปให้เต็มศักยภาพของบุคคลแต่ละคน เป็นการศึกษาที่เกิดจากแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบและไม่เป็นทางการ ปฐม นิคมานนท์ กล่าวว่าการศึกษามิได้หมายถึงเฉพาะกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเท่านั้น หากแต่เกิดขึ้นได้ทุกแห่งทุกหนและตลอดเวลา มีความเกี่ยวพันธ์และต่อเนื่องกันตลอดชีวิต พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 มาตรา 4 ให้ความหมายของการศึกษาตลอดชีวิต ว่า เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากที่มีผู้กล่าวมาถึงความหมายของการศึกษาตลอดชีวิตไว้หลายความหมาย สามารถสรุปได้ว่า การศึกษาตลอดชีวิตเป็นกระบวนการที่มีผลต่อการเรียนรู้ โดยการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เกิดขึ้นกับบุคคลตั้งแต่เกิดจนตายเพื่อให้บุคลได้พัฒนาตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาต่อไปให้เต็มศักยภาพ โดยบุคคลนั้นจะต้องมีแงจูงใจที่จะศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง

ความสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิต

สุมาลี สังข์ศรี สรุปความสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิต ดังนี้

1. การศึกษาตลอดชีวิตทำให้บุคคลมีโอกาส เรียนรู้ทุกช่วงชีวิต

2. การศึกษาตลอดชีวิตทำให้บุคคลมีโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกัน

3. การศึกษาตลอดชีวิตทำให้บุคคลได้รับโอกาสศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสมกลมกลืนกับสภาพการดำเนินชีวิตจริง เพราะการศึกษาตลอดชีวิตเป็นการบูรณาการศึกษากับชีวิต

4. การศึกษาตลอดชีวิตทำให้บุคคลได้รับการศึกษาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงได้

5. การศึกษาตลอดชีวิตทำให้บุคคลได้รับการศึกษาที่สอดคลช้องกับการทำงาน ช่วยให้บุคคล สามารถเลือกอาชีพแลละพัฒนาอาชีพได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

6. การศึกษาตลอดชีวิตช่วยให้บุคคลมีความรู้ ทักษะที่จะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

7. การศึกษาตลอดชีวิตช่วยให้บุคคลมีอิสระในการเรียนรู้สามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตรงกับระดับความสามารถของตน

8. การศึกษาตลอดชีวิตช่วยให้บุคคลสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ

9. การศึกษาตลอดชีวิตช่วยให้บุคคลสามารถพึ่งพาตนเองได้และนำตนเองได้ในการเรียนรู้

10.การศึกษาตลอดชีวิตช่วยให้บุคคลได้พัฒนาตนเองตลอดทุกช่วงชีวิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองได้อย่างเหมาะสม

11. การศึกษาตลอดชีวิตเป็นการศึกษาที่ช่วยให้ผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคมได้มีโอกาสในการศึกษา ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง

12. การศึกษาตลอดชีวิตช่วยให้บุคคลและองค์กรในสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

13. การศึกษาตลอดชีวิตช่วยสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยเรื่อง การใช้ห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสมเด็จของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ของนิสากร กรวยสวัสดิ์ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ส่วนใหญ่มีประสบการณ์การเรียนวิชาการในห้องสมุดหรือวิชาการสารสนเทศ และมีความรู้พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต โดยมีประสบการณ์การใช้ห้องสมุด การใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมากกว่า 8 ปี นักศึกษาร้อยละ 96.4 เข้าใช้ห้องสมุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาคือ การทำรายงานที่อาจารย์มอบหมาย และนักศึกษาส่วนใหญ่ได้รับความรู้เรื่องการใช้ห้องสมุดจากการศึกษาด้วยตนเอง ประเภททรัพยากรสารสนเทศที่ใช้พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้ประกอบการเรียน บริการของสมุดที่นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้ คือ บริการยืม-คืนตำราประกอบการเรียน วิธีการที่นักศึกษาใช้สืบค้นสารสนเทศ คือ เดินดูที่ชั้นความถี่ในการเช้าใช้ห้องสมุดพบว่า นักศึกษาเข้าใช้ห้องสมุดไม่แน่นอนช่วงเวลาในการใช้ห้องสมุด คือ วันจันทร์-ศุกร์ (เวลาว่างระหว่างรอเข้าเรียน)และนักศึกษาส่วนใหญ่ใช้ทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยปัญหาในการเข้าใช้ห้องสมุดของนักศึกษา พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่เป็นปัญหาในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาด้านการบริการที่เป็นปัญหาในระดับมาก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตมีไม่เพียงพอ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สืบค้นขัดข้นบ่อย และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สืบค้นรายการบรรณานุกรมออนไลน์(OPAC) มีไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะในการใช้ห้องสมุดของนักศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เสนอแนะให้ห้องสมุดเพิ่มจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยครั้งนี้ คือ ห้องสมุดควรเพิ่มเติมเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการ ควรจัดหาทรัพยากรสารสนเทศในแต่ละสาขาวิชาเพิ่มเติมมากขึ้นและควรมีตำราประกอบการเรียนที่ทันสมัย ควรจัดทำสื่อแนะนำการใช้ห้องสมุดในรูปแบบต่างๆควรเพิ่มเติมสำหรับให้บริการ และควรจัดให้บุคลากรได้รับการฝึกอบรมในเรื่องเกี่ยวกับการให้บริการที่ดี และมนุษยสัมพันธ์ขอบงผู้ให้บริการ

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าที่มีผลต่อการศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดประชาชนของนักศึกษา กศน. นักเรียน และประชาชนทั่วไปมีงานวิจัยของนายวิชา ทรวงแสวง เรื่องพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับนักศึกษาสถาบันราชภัฏการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับนักศึกษาสถาบันราฏ โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 114 คน เครื่องวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์นักศึกษา การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบสำรวจนิสัยรักการอ่าน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบความแตกต่างของนิสัยการอ่านระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ใช้

T-Test

ผลการศึกษาพบว่า หลักการของรูปแบบที่นำมาใช้ ได้แก่ การเรียนแบบร่วมมือ และการใช้แฟ้มสะสมผลงานในกระบวนการประเมินนิสัยรักการอ่าน แบบสำรวจนิสัยรักการอ่าน มีค่าความเชื่อมั่น .9155 การหาประสิทธิภาพของรูปแบบ ใช้วิธีการกึ่งทดลอง โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 57 คน กลุ่มควบคุม 57 คน ในรายวิชาการอ่านเพื่อชีวิต ระยะทดลอง 1 ภาคเรียน แบบแผนการทดลองเป็นชนิด Non-Equivalent Control , Pretest-Posttest design ผลการทดสอบทางสถิติพบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบนิสัยรักการอ่าน ของนักศึกษากลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มนิสัยรักการอ่านของนักศึกษากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจาการวิจัยครั้งนี้ เป็นการเริ่มต้นและมีข้อจำกัดด้วยระยะเวลาทดลอง ประเด็นที่เสนอแนะคือการวิจัยระยะยาว การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การแบบสังเกตของกลุ่มเพื่อน การแจงนับปริมาณความถี่ การยืมหนังสือจากบัตรห้องสมุด ส่วนอาจารย์ที่จะนำรูปแบบไปใช้ ควรปรับ เนื้อหาให้สอดคล้องกับธรรมชาติของรายวิชาและความสนใจของนักศึกษา

วิธีการดำเนินงาน

การศึกษาพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสมเด็จของนักศึกษา กศน. นักเรียนในระบบ และประชาชนทั่วไปผู้วิจัยลำดับขั้นตอนการวิจัยไว้ดังนี้

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2. วิธีการดำเนินการ

3. เครื่องมือที่ใช้ในกาวิจัย

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล

5. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

-ประชากร นักศึกษา กศน. นักเรียนในระบบและประชาชนทั่วไปทั้งหมด จำนวน 150 คน

- กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษา กศน. นักเรียนในระบบและประชาชนทั่วไป จำนวน 30 คน โดยหารสุ่มโดยง่าย

วิธีการดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล

1.ขั้นเตรียมการ

1.1 ผู้วิจัยได้จัดเตรียมสถานที่และเครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ

1.2 เตรียมแบบสังเกตพฤติกรรม

2.การดำเนินการวิจัย

2.1 กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามที่ผู้วิจัยแจกให้

2.2 จากนั้นให้ผู้เรียนทำแบบสอบถามความพึงพอใจ เพื่อวัดระดับความพึงพอใจในการทำแบบทดสอบ

2.3 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด คือจากแบบสอบถามความพึงพอใจที่กลุ่มทดลองมีต่อการทำแบบทดสอบ

เครื่องมือที่ใช้และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล มีดังนี้

1. แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้ห้องสมุด ประกอบด้วย

1.1 พื้นฐาน หรือข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม

1.2 ความสนใจและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ

2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

สรุปผลการวิจัย อภิปราย และข้อเสนอแนะ

ในศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดประชาชนของนักศึกษา กศน. นักเรียน และประชาชนทั่วไป สรุปได้ดังนี้

1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดประชาชนของนักเรียน กศน. นักเรียน และประชาชนทั่วไป

2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใบริการห้องสมุดประชาชนของนักเรียน กศน. นักเรียน และประชาชนทั่วไป

3. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสมเด็จ

2. วิธีการดำเนินการวิจัย

1. ประชากร

- ประชากร คือ นักศึกษา กศน. นักเรียน และประชาชนทั่วไป

2. กลุ่มตัวอย่าง

- กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษา กศน. นักเรียนและประชาชนทั่วไป จำนวน 30 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย

3. ตัวแปที่ใช้ในการวิจัย

- ตัวแปรต้น คือ พฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดประชาชนของนักศึกษา กศน. นักเรียน และประชาชนทั่วไป

- ตัวแปตาม คือ การพึงพอใจในกาใช้บริการห้องสมุดประชาชนของนักศึกษา กศน. นักเรียน และประชาชนทั่วไป

4. เครื่องมือที่ใช้และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล มีดังนี้

1.แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้ห้องสมุด ประกอบด้วย

1. ข้อมูลพื้นฐาน หรือข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม

2. ความสนใจและพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ

2.ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

4.วิธีการสร้างเครื่องมือ

การสร้างแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง เพื่อใช้ในการสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ

1. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบสอบถาม เพื่อมาสร้างประเด็นสัมภาษณ์

2. วิเคราะห์โครงสร้างรูปแบบ แล้วนำผลการวิเคราะห์มาสร้างแบบสอบถามมาสอบถามผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ตรวจสอบความถูกต้อง

3. นำแบบสอบถามมาทดลองใช้ และปรับปรุงแก้ไข

4. นำแบบสอบถามที่มีโครงสร้างที่แก้ไขแล้ว ไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่าน จำนวน 3 คนเพื่อหาข้อมูลสรุปเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบถาม

การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ มีขั้นตอนการสร้างดังนี้

1. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ

2. กำหนดรูปแบบสอบถามความพึงพอใจเป็น 2 ส่วน คือแบปลายปิดที่มีลักษณะการตอบแบบมาตรส่านประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับของเบสท์ (Best) และแบบสอบถามแบบปลายเปิดเพื่อสอบถามความคิดเห็นอื่น ๆ

3. นำแบบสอบถามความพึงพอใจไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสมและความเที่ยงตรง (Validity) ตลอดจนให้ข้อแนะนำ

4. ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามความพึงพอใจ ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ

5. นำแบบสอบถามความพึงพอใจให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน รายชื่อในภาคผนวก เสนอแนะค่าสอดคล้องของข้อคำถามกับเนื้อหา IOC โดยมีข้อคำถาม 10 ข้อ เกณฑ์การคัดเลือก

+1 คือ ข้อคำถามสอดคล้องกับเนื้อหา

0 คือ ตัดสินไม่ได้

-1 คือ ข้อคำถามไม่สอดคล้องกับเนื้อหา

6. นำแบบสอบถามความพึงพอใจที่ผ่านขั้นตอนตอบทั้งหมดไปใช้ในการทดลองจริง

5. การเก็บรวบรวมข้อมูล

กลุ่มประชากรที่เลือกมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา กศน. นักเรียน และประชาชนทั่วไป โดยเริ่มทดลองระหว่างวันที่ 1-10 พฤศจิกายน 2251 จากนั้นให้ผู้ใช้บริการทำแบบสอบถามความพึงพอใจเพื่อวัดความพึงพอใจในการบริการของห้องสมุด ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด คือ ค่าเฉลี่ยจากแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการบริการของห้องสมุดประชาชน


6. การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังต่อไปนี้

1. วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ซึ่งดู จากผลการสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและแบบสอบถาม จำนวน 3 ท่าน

2. วิเคราะห์ค่าความความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับก

3. รวบรวมข้อมูลของกลุ่มทดลองจากการทำแบบสอบถามมาหาค่าเฉลี่ย

4. จากนั้นนำค่าเฉลี่ยมาเปรียบเทียบความแตกต่าง

5. วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้ห้องสมุด มีลักษณะเป็นแบบค่ามาตราส่วนประเมิน ซึ่งกำหนดน้ำหนักของระดับความพึงพอใจ เป็น 5 ระดับ

มากที่สุด มีค่าเท่ากับ 5

มาก มีค่าเท่ากับ 4

ปานกลาง มีค่าเท่ากับ 3

น้อย มีค่าเท่ากับ 2

น้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 1

ค่าระดับความพึงพอใจที่ได้จากการตอบแบบสอบถาม นำมาหาค่าระดับความพึงพอใจ โดยหาค่าเฉลี่ย (x) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) พึงพอใจในช่างต่าง ๆ ดังนี้

4.50-5.00 หมายความว่า มากที่สุด

3.50-3.49 หมายความว่า มาก

2.50-2.49 หมายความว่า ปานกลาง

1.50-1.49 หมายความว่า น้อย

1.00-1.49 หมายความว่า น้อยที่สุด

6. วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจ ที่ลักษณะปลายปิด โดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ซึ่งดูจากความถี่ที่ปรากฏ

7. นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจ ในรูปแบบความเรียงและตาราง

7. สรุปผลการวิจัย

การศึกษาพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดประชาชนของนักศึกษา กศน. นักเรียน และประชาชนทั่วไป เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการนำไปพัฒนาการบริการของห้องสมุดประชาชน ให้มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

จากนั้นสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม พบว่า นักศึกษา กศน.นักเรียน และประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่ที่มาใช้บริการห้องสมุดประชาชนเป็นผู้หญิง ด้านอายุส่วนใหญ่มีอายุส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 15-20 ปี รองลงมา จะมีอายุ 21-30 ปี ด้านการศึกษาส่วนใหญ่ อยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ในด้านอาชีพส่วนใหญ่จะระบุว่ากำลังศึกษาอยู่ รองลงมาคือกลุ่มเกษตรกรเหตุผลในการใช้ห้องสมุด ส่วนใหญ่เข้ามาเพื่อเล่นอินเตอร์เน็ต รองลงมาคือ การบริการที่ดีและเพิ่มพูนความรู้ ด้านเหตุผลที่ไม่อยากเข้าใช้ห้องสมุด ส่วนใหญ่ ไม่รู้จะไปไหน รองลงมาคือ มีกฎระเบียบและไม่มีกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจ ด้วยบริการที่ใช้บ่อยที่สุดแบ่งออกเป็น หนังสือที่ชอบอ่านมากที่สุดคือ หนังสือพิมพ์และนวนิยาย รองลงมาคือ วารสาร นิตยสาร สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการใช้ห้องสมุดมากที่สุด คือ ติดเรียน รองลงมา คือ ต้องทำงานหารายได้ของครอบครัวด้านการบริการของเจ้าหน้าที่ คือ เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยรอยยิ้ม สุภาพเป็นมิตร/อัธยาศัยดี รองลงมา คือ เจ้าหน้าที่ดูแลเอาใจใส่ กระตือรือร้น เต็มใจบริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกมากที่สุดอุปกรณ์เครื่องมือทันสมัยในการให้บริการ รองลงมา คือ ให้บริการเป็นระบบและเป็นขั้นตอน ได้รับการบริการที่เป็นประโยชน์ รองลงมา คือ ห้องน้ำสะอาด

8. อภิปราย

จากผลการวิจัยการศึกษาพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดประชาชนของนักศึกษา กศน. นักเรียน และประชาชนทั่วไปทำให้พบว่า มีความพึงพอใจในการใช้ห้องสมุดประชาชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนในระบบและประชาชนทั่วไป เพราะจะมีอุปสรรคในการเข้าใช้บริการห้องสมุดประชาชน คือ ติดเรียน และประชาชนทั่วไปจะมีภาระหน้าที่ในการหารายได้แก่ครอบครัว

ความสนใจและพฤติกรรมการใช้ห้องสมุด นักศึกษา กศน. นักเรียน และประชาชนทั่วไป สนใจที่จะเรียนรู้ในห้องสมุดประชาชน ทั้งนี้เพราะต้องการอาหารสมองที่มีคุณค่าและพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ใหม่ ๆ ให้กับตนเองอยู่ตลอดเวลา

9. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย

1.ขยายเวลาให้บริการของห้องสมุดประชาชน

2. การสร้างนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้นกับนักศึกษา กศน. นักเรียน และประชาชนทั่วไป

1. การจัดกิจกรรมส่งเสริม แนะนำการใช้ห้องสมุดอย่างมีคุณค่า ควรจัดทำอย่างต่อเนื่อง

2. ควรจัดงบประมาณในการจัดหาสื่อและจัดกิจกรรมให้เพียงพอต่อความต้องการ

3. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อดึงดูดความสนใจให้มาใช้ห้องสมุด ติดตามผล ประเมินและขยายผล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

10. ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรศึกษาเจาะลึกเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาเชิงพฤติกรรมมากขึ้น ควรศึกษาเจาะลึกถึงสภาพปัญหา สาเหตุของการไม่ชอบมาใช้ห้องสมุด และที่สำคัญ คือ ทำไมคนในพื้นที่ไม่มาใช้บริการห้องสมุด

2. ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมให้เจาะลึกไปอีกเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานว่าควรมีการทำงานอย่างไรจึงจะไม่มีข้อพกพร่อง หรือให้มีน้อยที่ส



ประวัติผู้วิจัย

1. ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ นางสาวคำปุ่น นามสกุล บุตรแสน

วัน/เดือน/ปีเกิด วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2524

สถานภาพ โสด อีเมล์ newmuy@thaimail.com

ที่อยู่ 24 หมู่ที่ ตำบลปอภาร อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด 45000

คติประจำใจ เต็มที่กับสิ่งที่ทำ โทรศัพท์เคลื่อนที่ 0933256077

ชื่อหน่วยงาน ห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสมเด็จ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีสมเด็จ สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด

จังหวัดร้อยเอ็ด รหัสไปรษณีย์ 45000 โทรศัพท์ 043-508122

3.ข้อมูลการทำงานปัจจุบัน

อาชีพ รับราชการ

ตำแหน่งงาน บรรณารักษ์ ระดับ ปฏิบัติการ

4. ข้อมูลประวัติการศึกษา