ข้าวเกรียบ ภูมิปัญญาสร้างอาชีพ

ข้าวเกรียบ

           ข้าวเกรียบ ในแต่ละพื้นที่ล้วนมีลักษณะและเอกลักษณ์เฉพาะ เกิดจากความสามารถของคนในชุมชนที่ปรับตัวและดัดแปลงธรรมชาติแวดล้อมรอบตัว จนเกิดการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ ความ สามารถในการเข้าถึงวัตถุดิบและทรัพยากรอาหาร ภูมิปัญญาการผลิต ฯลฯ ทั้งหมดเป็นกระบวนการเชื่อมโยงกัน บ่งบอกความความคิดสร้างสรรค์ การประยุกต์และปรับใช้ เป็นประสบการณ์ของชุมชนผ่านการขัดเกลาสั่งสม สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น จนเป็นวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น สะท้อนบ่งบอกถึงการดำ เนินชีวิต บริบทสังคม ภูมิปัญญา ปรากฏให้เห็น เป็นเรื่องราวการกินอยู่ ความเชื่อเรื่องอาหาร พฤติกรรมการบริโภค ตลอดจนสุขภาพของคนในชุมชน 

การผสมแป้ง

การหั่น

การทอด

วิธีการทำข้าวเกรียบ

ส่วนผสม

แป้งมัน  , แป้งสาลีอเนกประสงค์ , กระเทียม  , พริกไทยป่น  , เกลือ  , น้ำตาลทราย , ผงปรุงรส

วิธีทำ

              จากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น การสอนจากแม่สู่ลูก จากผู้รู้สู่ผู้เรียนรู้ หรือ จากการเรียนรู้ศึกษา บนการจัดการความรู้บนฐานทุนชุมชนที่มีประสิทธิภาพจึงสามารถ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น จากการทำข้าวเกรียบรับประทานเองที่บ้าน เป็นการถ่ายทอดไปสู่คนในชุมชนจนเกิดรายได้ที่ยั่งยืน และเป็นเอกลักษณ์ประจำชุมชน อีกทั้งข้าวเกรียบยังตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภค โดยการพัฒนาต่อยอดความรู้ที่มี ให้มีรสชาติที่หลากหลาย ทั้งวัตถุดิบที่ยังใช้ของในชุมชน เพื่อตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคและผู้สนใจ ทุกเพศ ทุกวัยเข้ามาสนใจหรือจับจ่ายซื้อขายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถสร้างงานสร้างรายได้แก่ชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบ บนฐานทุนชุมชนที่ดี จะเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่ น้องประชาชนให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน การจัดการความรู้ของชุมชน จึงเป็นการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบให้เกิดรายได้แก่คนในชุมชนอย่างแท้จริง

ข้าวเกรียบเห็ด

ข้าวเกรียบเต้าหู้

ข้าวเกรียบฟักทอง

ข้อมูลเนื้อหา โดย นางศิริพร  ปอกกันทา

เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวปัทมาภรณ์  จันต๊ะ 

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวปัทมาภรณ์  จันต๊ะ