แนวทางการอนุรักษ์และสืบสานประเพณี แซนโฎนตา


1 เรื่องวิจัย.....แนวทางการอนุรักษ์และสืบสานประเพณี แซนโฎนตา ตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์...

2 คนในชุมชนที่ทำการวิจัย ตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

3 ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย

ประเพณีแซนโฎนตา เป็นประเพณีที่สำคัญสำหรับชาวไทยเชื่อสายเขมรบุรีรัมย์ในรอบปี กระทำขึ้นเพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อบรรพบุรุษ เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ปู่ย่า ตายาย ที่ล่วงลับไปแล้วหรือผีบรรพบุรุษหรือผู้อื่นที่ล่วงลับไปแล้ว โดยไม่เจาะจงว่าเป็นใครอีกด้วย

ประเพณีแซนโฎนตาเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา “โฎนตา” หมายถึง การทำบุญให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ให้ได้รับกุศลผลบุญที่ลูกหลานได้อุทิศให้ซึ่งเป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามดั้งเดิมของจังหวัดบุรีรัมย์

ที่ชนเผ่าเขมรในท้องถิ่นได้ถือปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งตรงกับแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี (Burirum Provincial Cultural Office, 2010) โดยในวันนี้ชนเผ่าเขมรในท้องถิ่นจะถือว่าเป็นวันรวมญาติซึ่งทุกคนจะหยุดภาระหน้าที่การงานทั้งหมดและนัดหมายไปรวมกัน ณ บ้านที่เป็นจุดศูนย์กลางของครอบครัว โดยเฉพาะบ้านของผู้ที่อาวุโสที่สุดของครอบครัว พร้อมกับเตรียมอาหาร เช่น ไก่เนื้อ หมู ปลา ข้าวสาร ข้าวสวย ผลไม้ ขนมกระยาสารท และข้าวต้มหางยาวใส่กระเชอโฎนตาและอาหารคาวหวานที่ร่วมกันปรุง เพื่อเตรียมเซ่นไหว้บรรพบุรุษของตนที่ล่วงลับไปแล้ว

ถึงแม้ชาวชุมชนจะพยายามรักษาและสืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพชนเพียงใด แต่ปัจจัยภายนอกบางประการ เช่น สภาพเศรษฐกิจ สังคม เวลา สถานที่ และกระแสโลกาภิวัตน์ ฯลฯ มีส่วนทำให้ต้องมีการปรับรูปแบบ ขั้นตอน หรือรายละเอียดของกิจกรรมและพิธีกรรม บางช่วงตอน หากแต่สาระสำคัญของประเพณีที่มุ่งเน้นให้คนที่มีชีวิตอยู่ได้ตอบแทนบุญคุณ คนตาย คนเป็น และพุทธศาสนา ผ่านทุกช่วงกิจกรรมยังคงได้รับการรักษาและสืบทอดไว้อย่างมั่นคงตามฐานความเชื่อเดิม ลักษณะเช่นนี้ช่วยตอกย้ำให้เห็นความเข้มแข็งและจิต วิญญาณด้านการอนุรักษ์ของชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมร

ประเพณีนี้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ โดยมีฐานความเชื่อเรื่องความมีอยู่ของดวงวิญญาณบรรพบุรุษ และอำนาจในการให้คุณให้โทษแก่ผู้ที่ยังมีชีวิต คอยผลักดันให้ลูกหลานชาวไทยเชื้อสายเขมรช่วยกันรักษาและสืบทอดประเพณีที่มีมาแต่โบราณนี้ให้คงอยู่และจากความเชื่อที่ว่า ในรอบหนึ่งปีเทวดาหรือพญายมจะปล่อยดวงวิญญาณของบรรพบุรุษได้มาเยี่ยมเยียนลูกหลานในโลกมนุษย์ปีละครั้ง เพื่อให้มารับส่วนบุญส่วนกุศลที่ลูกหลานได้ ทำไปให้ โดยเริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 10 ถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 (อัษฎางค์ ชมดี,2553)

ประเพณีแซนโฎนตา ของประชาชนตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้สูงวัยเป็นผู้สืบทอดเพียงไม่กี่คน ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ หากไม่มีการอนุรักษ์ให้คงอยู่และสืบสานประเพณี แซนโฎนตาไว้ในอนาคตอาจเกิดความผิดเพี้ยนได้

4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาความเป็นมา ความเชื่อ ในประเพณีแซนโฎนตา ของประชาชนตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

2. เพื่อศึกษาแนวทางอนุรักษ์ และสืบสานประเพณีแซนโฎนตา ของประชาชนตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

3. เพื่อศึกษาคุณประโยชน์ในประเพณีแซนโฎนตา ของประชาชนตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีต่อสังคม

5.คำถามของการวิจัย แนวคิดของประชาชนบ้านหนองตาแอก ตำบลละหานทราย อำเภอละหานทรายจังหวัดบุรีรัมย์ เกี่ยวกับการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีแซนโฎนตา

6. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

6.1 ทฤษฎี

1) ทฤษฎีการเล่าเรื่อง (Storytelling)

2) ทฤษฎีวิพากษ์(critical theory)

6.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1) การอนุรักษ์ประเพณีแซนโฎนตาที่มีผลต่อวิถีชีวิตของชาวอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

2) แนวทางการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบของชาติพันธุ์มอญตำบลทรงคนองอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

3) การสํารวจการจัดกิจกรรมและการให้บริการพื้นที่ทางวัฒนธรรมด้านทํานุบํารุง

ศิลปวัฒนธรรมของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

7. ขอบเขตของการวิจัย

7.1 รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)

7.2 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลเอกสารจากผู้รู้ จำนวน 6 คน ผู้เกี่ยวข้อง 30 คน กำหนดแนวทาง วางแผนการพัฒนาแนวทางการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีแซนโฎนตา ตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์.

7.3 เนื้อหาครอบคลุม

1) แนวทางการอนุรักษ์และสืบสานประเพณี

2) ประเพณี แซนโฎนตา ตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์.

7.4 ระยะเวลาในการวิจัย ปี 2563

7.5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1) แบบสอบถามความคิดเห็น

2) แบบสัมภาษณ์

7.6 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย

1) ศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2) ส่งแบบสอบถามความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง

3) สัมภาษณ์ผู้รู้

4) วิเคราะห์ผลการวิจัย

5) ปรับปรุงและสรุปรายงานผลการวิจัย