รักการอ่าน

กรอบแนวทางขับเคลื่อน การส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย การส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต

การอ่าน เป็นวัฒนธรรมในการแสวงหาความรู้ของประชากรทุกคน ปัจจุบันสังคมโลกเป็นสังคม แห่งการเรียนรู้และการแข่งขัน การอ่านจึงเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ประชากรได้รับความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และ แนวคิดใหม่ๆ อันจะเป็นการพัฒนาตนเองและรู้จักปรับตัวให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ประเทศไทยตระหนัก ถึงความส าคัญดังกล่าวและให้การส่งเสริมสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีหน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมกันจัด กิจกรรมและรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน กอปรกับรัฐบาลได้ก าหนดนโยบายปฏิรูปการศึกษาทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ มาตรฐานและความเหลื่อมล้ าทางการศึกษา โดยมุ่งแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพ โอกาส และ ประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ โดยให้มีความเชื่อมโยงและส่งผลดี ต่อการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง (ที่มา: นโยบายด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา : ๒๕๕๙) และยุทธศาสตร์๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ แผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ของไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การอ่านหนังสือเป็นการพัฒนาตนเองและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นสิ่งจ าเป็นมากในการ พัฒนาคนและพัฒนาสังคม ถ้าจะให้การอ่านหนังสือเกิดเป็นนิสัยจ าเป็นต้องมีการปลูกฝังและชักชวนให้เกิด ความสนใจ มีการอ่านอย่างต่อเนื่องและสม่ าเสมอ โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ซึ่งควรมีลักษณะ ดังนี้ ๑. เร้าใจ บุคคลที่เป็นเป้าหมายอาจเป็นคนเดียว กลุ่มคน หรือคนทั่วไป ให้เกิดความอยากอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่มีคุณภาพตามที่ประสงค์ หรือที่ผู้จัดกิจกรรมเห็นว่าควรอ่าน ๒. จูงใจ บุคคลที่เป็นเป้าหมายเกิดความพยายามที่จะอ่านให้แตกฉาน เพื่อจะได้รู้เรื่องราวอันน่ารู้ น่าสนุก นอกจากประโยชน์แล้วยังเกิดความรู้สึกว่าความพยายามอ่านให้เข้าใจถ่องแท้นั้นคุ้มค่า ให้ความรู้สึก เป็นอิสระเสรี ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นให้ช่วยอ่าน เห็นความจ าเป็นที่จะต้องฝึกฝนการอ่านและการใช้คู่มือช่วยการอ่าน เช่น พจนานุกรม ศัพท์วิชาเฉพาะ เป็นต้น ไม่เกิดความเบื่อหน่ายท้อแท้ที่จะต้องต่อสู้เอาชนะตนเองให้เอาชนะ หนังสือให้ได้ ๓. กระตุ้น แนะน า ให้อยากรู้อยากเห็น เรื่องราวต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหนังสือมากมายหลายอย่าง อยากมองดูให้รู้รอบและรู้ลึกซึ้ง เปิดความคิดให้กว้าง เมื่ออ่านเรื่องหนึ่งแล้วก็อยากอ่านเรื่องอื่นต่อไป มีความรู้สึกว่า การอ่านเป็นกิจกรรมประจ าวันที่ขาดเสียมิได้ เกิดความรู้สึกว่าหนังสือท้าทายให้อ่าน ให้วิจารณ์ ให้ประเมินค่า ให้อยากน าเอาความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้อย่างเหมาะสม อยากเขียนหนังสือท านองเดียวกันนี้ให้ดีกว่าเล่มที่อ่าน เหล่านี้เป็นต้น ๔. สร้างบรรยากาศการอ่านขึ้นในบ้าน ในโรงเรียน และในสังคม นอกจากกิจกรรมจะเร้าใจ จูงใจ ให้อ่าน และกระตุ้นให้เกิดความคิดให้กว้างแล้ว กิจกรรมส่งเสริมการอ่านจะเกี่ยวข้องกับการผลิตวัสดุการอ่าน ให้เหมาะสม การสร้างและปรับปรุงแหล่งวัสดุการอ่านให้มีเพียงพอ การบูรณาการการอ่านในการเรียนการสอน และในการตัดสินใจเพื่อด าเนินการต่าง ๆ

ห้องสมุดสำหรับ

ชาวตลาด


ห้องสมุดสำหรับ

ชาวตลาด


ห้องสมุดสำหรับ

ชาวตลาด


กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่ ณ กศน.ตำบลบาลอ บ้านปาโฮะ หมู่ที่ 2 ตำบลบาลอ อำภอรามัน จังหวัดยะลา 95140