ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ประเพณีการเข้าสุหนัต (มาโซะยาวี)

ประวัติ / ความเป็นมา

การเข้าสุหนัต หรือมาโซะยาวี เป็นประเพณีการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumscission) ซึ่งชาวมุสลิมทุกคนต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด


มาโซะยาวี เป็นภาษาถิ่นมลายู หมายถึง การขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศ (มาโซะ = ตัด, ยาวี รหือยาวา หมายถึง ชาวชวาที่นำเอาศาสนาอิสลามมาเผยแพร่ครั้งรก ณ เมืองปัตตานี ยาวีจึงมีความหมายกว้าง หมายถึง มุสลิม รวมความแล้ว มาโซะยาวี หมายถึง การตัดหรือขลิบอวัยวะเพศ เพื่อเป็นมุสลิม) การขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพส เป็นสิ่งที่ท่านศาสดาทั้งปฏิบัติ และให้ปฏิบัติ ในสังคมชาวไทยมุสลิมจึงนิยมเรียกการปฏิบัตินี้ว่าการเข้าสุหนัตแทนการใช้ศัพท์จากภาษาอาหรับ ซึ่งเรียกการขลิบนี้ว่า “คอตัน” ส่วนภาษามลายูใช้ศัพท์คำว่า “มาโซะยาวี”


ชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่นิยมทำการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพสในทารพ หรือเด็กเล็ก จึงมักทำเมื่อเด็กโตขึ้น อายุประมาณ 7-10 ขวบขึ้นไป ตามหลักแล้วศาสนาอิสลามส่งเสริมให้ชาวมุสลิมเข้าสุหนัต แต่ก็ไม่ได้บังคับใครจะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่ถ้าไม่ทำก็ถือว่าเป็นมุสลิมไม่สมบูรณ์และยังต้องทำความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งก่อนจะทำพิธีละหมาด วันละ 5 เวลา ซึ่งเป็นการยุ่งยากเสียเวลา ดังนั้น ชาวมุสลิมจึงนิยมทำสุหนัต เพื่อความสะอาดและหมดปัญหา นอกจากนี้การเข้าสุหนัตยังเพื่อต้องการเป็นมุสลิมที่สมบูรณ์ เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาดอวัยวะเพศในการอาบน้ำละหมาดวันละ 5 เวลา และยังเป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีต่อญาติพี่น้อง เพื่อนๆ และชาวมุสิลมด้วยกันอีกทั้งเป็นการรักษากฎประเพณีอันดีงามของชาวมุสลิมอีกด้วย


กำหนดงาน

การเข้าสุหนัตหรือมาโซะยาวี ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยจะทำเมื่อเด็กผู้จะเข้าพิธี อายุระหว่าง 7-10 ขวบขึ้นไป และขึ้นอยู่กับความพร้อมของเจ้าภาพด้วย ไม่มีช่วงเวลาที่แน่นอน


กิจกรรม / พิธี

การเข้าสุหนัตถือว่าเป็นพิธีที่สำคัญพิธีหนึ่งของชาวมุสลิม ดังนั้นก่อนการเข้าสุหนัตจึงได้มีการจัดพิธีกินเหนียวหรือกินเลี้ยง เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่บรรดาผู้ที่จะเข้าสุหนัต งานกินเหนี่ยวหรือการกินเลี้ยงนั้น มีขนาดใหญ่โตมากน้อยแต่ไหนขึ้นอยู่กับฐานะของเจ้าภาพผู้จัดงาน คือ ถ้าเจ้าภาพเป็นผู้มีฐานะดีก็มีการจัดงานอย่างใหญ่โต มีการเชิญญาติพี่น้องและแขกมาร่วมงานอย่างมากมาย มีการล้มวัว ควาย แพะ แกะ อย่างละหลายๆ ตัว นอกจากนี้ยังมีมหรสพสมโภช เช่น หนังตะลุง โนรา ลิเกฮูลู อีกด้วย บางงานเจ้าภาพมีฐานะดีมากๆ อาจจัดถึง 7 วัน 7 คืน ก็มี


ส่วนเจ้าภาพที่มีฐานะไม่ค่อยดีนักก็เพียงเชิญญาติพี่น้องเพ่อบ้านที่สนิทจริงๆ มาร่วมรับประทานอาหารด้วยกันเท่านันแขกผู้ถูกรับเชิญมากินเลี้ยงเรียกว่า “มาแกปุโละ” และเมื่อการกินเลี้ยงจบลง แขกผู้มางานก็มักจะมอบเงินใส่ซองให้แก่ผู้จัดงานตามฐานะเท่าไหร่ก็ได้ การจัดงานเลี้ยงถือได้ว่าเป็นหน้าเป็นตาของผู้จัดอย่างมาก ถ้างานยิ่งใหญ่โตมากผู้จัดก็จะยิ่งมีหน้ามีตาในสังคมมากด้วย


การทำพิธีสุหนัตเริ่มขึ้นในตอนเย็น โดยจัดให้มีการบายศรี (บุหงาสำระ) มีข้าวเหนียวแดงเหลือง ขาว ประกอบพิธี ผู้เข้าสุหนัตแต่งตัวโอ่อ่าตามแบบชาวมลายู คือ นุ่งกางเกงขายาว แล้วนุ่งโสร่งทับแค่เข่า สวมเสื้อแขนยาวคอปก และมีผ้าโพกศีรษะ ต่อมาในวันรุ่งขึ้นเริ่มด้วยการจัดขบวนแห่เด็ก ผู้จะเข้าสุหนัตซึ่งเรียกว่า “อาเนาะตูนอ” ผู้มีฐานะดีก็จัดขบวนขนาดใหญ่มีการแห่นก แห่ช้าง ขบวนรถยนต์ จักรยานยนต์ร่วมขบวนเป็นที่สนุกสนาน เสร็จแล้วก็ให้เด็กที่จะเข้าสุหนัตอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดแล้วนุ่งผ้าขาวม้าหรือผ้าถึงผืนเดียว (โดยมากมักลงแป้งให้แข็ง เพราะเวลานุ่งจะได้โป่งออกไม่กระทบผิวหนัง) เข้าไปในโรงพิธีโดยในโรงพิธีมีหยวกกล้วยและใบตองรองไว้ มีผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา ได้แก่ โต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม หรือผู้อาวุโส เชิญ โต๊ะ มูเด็ง (ผู้ทำพิธีขลิบ) มาอ่านดูอา เพื่อเป็นการขอพรจากพระเจ้า เสร็จแล้วมีการเลี้ยงอาหารจากนั้นโต๊ะ มูเด็งพาเด็กชายผู้จะเข้าสุหนัต ไปนั่งคร่อมบนหยวกกล้วย เพื่อให้เกิดความเย็นชาเวลาขลิบจะได้ไม่เจ็บ แต่ปัจจุบันมียาชาและน้ำแข็งช่วย การนั่งบนหยวกกล้วยจึงไม่ค่อยนิยม โต๊ะมูเด็งหรือหมอผู้ทำการขลิบจะวัดระยะของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศที่จะขลิบออก โดยมีผู้ช่วยจับเด็กชายในท่าล็อคคอ เพื่อป้องกันการดิ้นซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายขณะขลิบ จากนั้นดึงปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศออกมา โต๊ะมูเด็งกล่าวนามพระผู้เป็นเจ้าพร้อมกับลงมือตัดหนังหุ้มที่ทำเครื่องหมายไว้ด้วยมีดหรือกรรไกร เสร็จแล้วจึงเอายาใส่แผล ซึ่งสมัยก่อนยาใส่แผลมักเป็นสมุนไพร เปลือกไม้ แต่ปัจจุบันในยาตำราหลวงรักษาการอักเสบ ซึ่งสะดวกและหายเร็วและพันแผลไว้ประมาณ 15 วัน แผลก็จะหายสนิท เวลาที่นิยมทำมักเป็นเวลาเช้าหรือเย็นๆ เพราะอากาศเย็นสบายและช่วยการห้ามเลือดไปในตัวด้วย

ปัจจุบันการจัดพิธีมาโซะยาวีหรือเข้าสุหนัต ยังนิยมทำกันในชนบทแบบดั้งเดิม แต่ในเมืองใหญ่นิยมทำกันที่โรงพยาบาล เพราะสะอาดและมีเครื่องมือทันสมัย

ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลบาลอ มีความสามารถในการ ทำพิธีการเข้าสุหนัต ซึ่งมีชื่อดังต่อไปนี้

นายมูซอ ดาอูแม

นายอาหามะ ยะดารอ

นายมะซากี ยะดารอ

ทั้ง 3 คนนี้

นายมูซอ ดาอูแม

นายอาหามะ ยะดารอ

นายมะซากี ยะดารอ