กศน.ตำบลท่าไม้

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพรานกระต่าย

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดกำแพงเพชร

ลานพระร่วง ตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร

จากการสำรวจของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัชวาล ธรรมสอน แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร พร้อมด้วยคณะ เพื่อค้นหาเมืองบางจันทร์ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2550 พบว่า โบสถ์วิหารวัดอินทาราม มีอายุถึงสมัยสุโขทัย เดิมบริเวณวัดนี้เรียกว่าดงตาจันทร์ บ้านตาจันทร์หรือเมืองบางจันทร์ เป็นวัดหลวงแห่งเมืองบางจันทร์ในสมัยนั้น ประวัติการสร้างวัดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2347 ราวรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้ชื่อว่าวัดอินทารามโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2351 นายจันทร์ เป็นผู้ถวายที่ดินเพื่อสร้างวัดภายในวัดมีรอยพระพุทธบาทจำลอง มีพระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสน สุโขทัย อยุธยา “ปัจจุบันได้ทำลูกกรงเหล็กล้อมไว้”กันผู้ร้ายงัดแงะและ เดิมบริเวณนี้เรียกว่าดงตาจันทร์ บ้านตาจันทร์ ไปคล้องกับชื่อ เมืองบางจันทร์โดยบังเอิญ หรือโดยจริงแท้ ยังไม่สามารถสรุปได้ ประวัติการสร้างวัด อินทาราม สร้างเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2347 ราวสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้ชื่อว่าเป็นวัดอินทารามโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2351 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2355 มีหลวงพ่อแก้ว เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และนายจันทร์เป็นผู้ถวายที่ดินสร้างวัด วัดอินทารามมีเจ้าอาวาส ติดต่อกันมา 12 รูป เจ้าอาวาสท่านปัจจุบันคือ พระครูถาวรวชิรสาร ท่านครองวัดตั้งแต่พ.ศ. 2517 จนถึงปัจจุบัน วัดอินทาราม ที่ตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร มีพระอุโบสถและพระวิหาร ที่มีลักษณะงดงามมาก พบพระพุทธรูปโบราณอย่างมากมาย ศิลปะเชียงแสน สุโขทัย อยุธยา มากมายหลายองค์ แต่ที่น่าสังเกตคือ ทั้งโบสถ์และวิหาร ทำลูกกรงเหล็กล้อมพระไว้อย่างน่าสงสัยว่า ทำไมผู้ร้าย นักโจรกรรมทำไมมากมายนัก น่าสลดหดหู่กับภาพที่เห็น เมืองไทยเมืองที่นับถือพระพุทธศาสนา แต่การโจรกรรม พระพุทธรูปพระบูชาพระเครื่อง ยังมีอยู่ทุกหัวระแหง อาจต้องตั้งคำถามว่าทำไม พระพุทธรูปต้องถูกล้อมกรอบด้วยลูกกรงเช่นนี้ แล้วเรายังไม่มีความอับอาย ชาวต่างชาติหรือคนไทยร่วมชาติ หรือ เราไม่สามารถค้นพบ แนวกำแพงเมืองแนวคูเมืองเมืองบางจันทร์ได้ พบเพียงวัดอินทารามที่พอเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า บ้านท่าไม้ อาจเป็นที่ตั้งของเมืองบางจันทร์ ในสมัยสุโขทัย การค้นพบในวันนี้ อาจตอบได้ว่า เมืองบางจันทร์มีจริง และสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ ในบริเวณนี้อย่างแน่นอน แม้ยังไม่สามารถยืนยันด้วยหลักฐานทางโบราณคดีได้

วันนี้ผมจะพาท่านไปไหว้พระที่"วัดอินทาราม" หรือ "วัดท่าไม้" ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร....ครับ.....หลาย ๆ ครั้งที่ได้มีโอกาสจัดประชุมกลุ่มเกษตรกรสำนักงานของผมก็จะขอใช้สถานที่ของวัดท่าไม้เป็นสถานที่ดำเนินการทุกครั้งครับ.....และเคยได้ทราบมาว่าที่วัดนี้มี "พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย"อยู่ในวัดนี้ด้วย....วันนี้ผมจะขออาสาพาท่านไปไหว้พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย....ไปพร้อม ๆ กันครับ

ลานพระร่วง

ตั้งอยู่ เขตป่าชุมชน หมู่ 7 บ้านหนองจระเข้ ตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ลานพระร่วงจะมีหลุมอยู่สามหลุม ขนาดย่อมๆ มีน้ำขังอยู่ ชาวบ้านเรียกขานกัน เป็นภาษาสำเนียงพรานกระต่าย ว่า กระโปกพระร่วง กระโปกพระร่วง มีเรื่องเล่าขานเป็นตำนานว่า พระร่วงกษัตริย์แห่งสุโขทัย มาเล่นว่าว ที่บริเวณลานกว้างแห่งนี้ทุกวัน วันหนึ่งวิ่งด้วยความเร็ว ไม่ทันระวัง จึงหกล้ม อวัยวะเพศทางท่าน กระแทกกับลานหิน อย่างจัง ด้วยอภินิหารของพระร่วง ทำให้หิน ที่อวัยวะสำคัญของพระร่วงกระแทก กลายเป็นหลุมขนาดใหญ่พอสมควร และท่านได้สาปว่า ให้มีน้ำขังตลอดปี อย่าได้เหือดแห้ง เพื่อเป็น ที่ดื่มของคนและสัตว์ที่ผ่านไปมาบริเวณ ป่าแห่งนี้ ประชาชน ชาวบ้านที่พบเห็น เข้าใจในตำนาน จึงเล่าขานผูกเป็นเรื่องราว ให้ต่อเนื่องกัน กลายเป็นตำนาน ที่เรียกขานกันอย่างไพเราะ เป็นภาษาบ้านๆ ว่า กระโปกพระร่วง ซึ่งนับว่าเป็นภาษาไทยอีกคำ ที่คนไทยพากันว่าหยาบคาย ที่จริงแล้วน่าฟังและเห็นภาพพจน์ที่ชัดเจนกว่าอย่างอื่น เมื่อท่านมองภาพที่เห็น ท่านได้ใช้วิจารณญาณว่า หลุมไหนคือส่วนไหนของ ของลับที่ไม่ลับ ของพระร่วง เมื่อจินตนาการบรรเจิด ความสุขก็จะกลับมา อีกครั้ง ชาวบ้านเมื่อไป ป่ากลับมาเมื่อใกล้ถึงหมู่บ้าน ได้พากันนำน้ำที่เหลือ จากการเดินป่า มาเทไว้ในหลุมทั้งสาม เป็นความค่านิยมสืบมา จนปัจจุบัน

ถ้ำอึดใจ เมืองลับแลใต้พิภพ ตำนานพิศวง บ้านหนองจระเข้ ตำนาน คือ เรื่องเล่าขานที่มีมาแต่อดีต เปรียบได้เหมือนเครื่องมือที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ รวมถึงประเพณีต่างๆ ของคนในยุคอดีต ที่บ้านหนองจระเข้ หมู่ที่ ๗ ตำบล ท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร มีตำนานอันน่าพิศวง เรื่องราวของเมืองลับแล ใต้พิภพ ที่ควรได้รับการศึกษา และเล่าขานกันให้นานแสนนาน ถ้ำอึดใจ ที่กล่าวนี้ เป็นถ้ำ ใต้แผ่นดิน ด้านบนเป็นศิลาแลง ลาด ขนาดกว้างพอสมควร มีปากถ้ำขนาดใหญ่ พอที่คนลอดไปได้ ข้างในถ้ำ มีร่องรอย การเข้าไปอยู่อาศัย ในสมัยโบราณ รอบบริเวณมีปล่อง สำหรับหายใจ หลายปล่อง มีทางออกซึ่งอยู่ไม่ห่างทางเข้านัก คุณลุงฉ่ำ มณีนก อายุ ๗๖ ปี ครูภูมิปัญญาแห่งบ้านหนองจระเข้ ได้เล่าให้ฟังอย่างมีความสุขว่า ท่านเกิดที่บ้านหนองจระเข้แห่งนี้ ได้ฟังเรื่อง ถ้ำอึดใจ ต่อเนื่องมาหลายชั่วคนว่า ถ้ำแห่งนี้ เป็นเมืองลับแล ในสมัยโบราณ ผู้คน จะมาจุดธูปขอยืม ข้าวของ จากคนในถ้ำเมืองลับแลแห่งนี้ ซึ่งได้แก่ข้าวของเครื่องใช้ จาน ชาม และเครื่องประกอบพิธี ทุกชนิด ในตอนเช้า จะมีข้าวของที่ยืม มากองไว้ที่ปากถ้ำ เพื่อให้คนยืมมารับเอาไป และเมื่อเสร็จ จึงนำมาคืน และจุดธูปบอกกล่าว ของนั้นจะถูกขนไว้ไปเก็บในถ้ำตามเดิม นับว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่ควรบันทึกตำนานนี้ไว้ เล่าให้ลูกหลาน เพื่อพัฒนา ถ้ำอึดใจ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีตำนานประกอบต่อไป เหตุที่เรียกว่าถ้ำอึดใจ มีตำนานว่า มีผู้พบเห็น เต่าทองที่สวยงามมาก คลานเข้าไปในถ้ำแห่งนี้ ผู้คนอยากได้ จึงตามเต่าทองเข้าไปในถ้ำ มีหลายคน ที่พยายาม จะจับเต่าทองให้ได้ คนที่ตามเข้าไปในถ้ำ กล่าวกันว่า อีกอึดใจเดียว จะถึงตัวเต่าทองแล้ว กล่าวเช่นนี้ ซ้ำๆหลายครั้ง ในที่สุด ไม่สามารถ ถึงตัวเต่าทองได้ หายไปในที่สุด จึงเรียกกันว่าถ้ำอึดใจ อีกตำนานหนึ่ง กล่าวว่า ใต้ถ้ำ มีบันได ลงไปข้างล่างถ้ำอีกหลายขั้น มีทรัพย์สมบัติ ของชาวลับแลซ่อนไว้จำนวนมาก ในถ้ำมืด และขาดอากาศหายใจ จะลงไปได้เพียงแค่อึดใจ ต้องรีบขึ้นมา สูดอากาศข้างบน จึงอาจเรียกขานกันว่า ถ้ำอึดใจ