อ่างเก็บน้ำคลองกะทูน

อ่างเก็บน้ำคลองกะทูน

บ้านกะทูน เป็นชุมชนขนาดเล็กมีประวัติชุมชนที่น่าสนใจ เนื่องจากที่ตั้งบ้านกระทูนอยู่ในที่ราบกลางหุบเขาในเทือกเขานครศรีธรรมราช จึงทำให้ชุมชนมีลักษณะเป็นรูปกระทะ เป็นจุดกำเนิดของสายน้ำเล็กใหญ่มากมาย เช่น สายคลองดินแดง คลองกะทูน คลองระแนะ และคลองใหญ่ ที่รวมกันเป็นแม่น้ำตาปี

อ่างเก็บน้ำคลองกะทูนอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นอ่างเก็บน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุด ในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่สร้างมาในเวลาใกล้เคียงกับอ่างเก็บน้ำคลองดินแดง จนทำให้ อำเภอพิปูนกลายเป็นอำเภอที่ได้ชื่อว่าเป็น “เมือง 2 อ่าง” หรือ เป็นเมืองที่มี “ทะเลสาบกลางหุบ”

อ่างเก็บน้ำคลองกะทูนกลายเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเยี่ยมชมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เป็นเพราะ

- มีทัศนียภาพรอบอ่างเก็บน้ำคลองกะทูนที่มีภูเขาล้อมรอบมีทิวทัศน์สวยงามมากบางครั้งในช่วงเช้าหรือบ่ายจะมีทะเลหมอกที่หนาทึบมากทำให้ดูสวยงามดุจทะเลสาบน้ำแข็ง

- ทัศนียภาพรอบอ่างเก็บน้ำในยามเช้าหรือบ่ายจะเหมาะสำหรับการพักผ่อนแบบสบายๆ หรือการออกกำลังกายในหลายรูปแบบ เพราะตรงพื้นที่บริเวณสันเชื่อนของอ่างเก็บน้ำจะสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่เป็นที่ราบในหุบเขาในระยะไกล มีวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ที่เรียบง่าย ใจดีและเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว รวมถึงชุมชนดั้งเดิมที่เสียหายตอนน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2531 และชาวกะทูนมีมติร่วมกันว่าจะปล่อยให้จมอยู่ใต้น้ำตามสภาพที่หลงเหลืออยู่หลังน้ำท่วม ดังนั้นชุมชนที่จมอยู่ใต้น้ำประกอบด้วยหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน โรงเรียน นาข้าว สวนยาง โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ถึง 2 โรง วัดที่เมรุที่มองเห็นโผล่พ้นน้ำให้เห็นในระยะไกลในน้ำนั้นถูกสร้างขึ้นและเผาศพได้เพียงศพเดียวและยังตั้งอยู่ได้ ขณะล่องเรือนักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นแนวเสาไฟเดิมของหมู่บ้านที่อยู่ใต้น้ำด้วย

- มีการบริการล่องเรือชมเมืองใต้น้ำ การชมซากปรักหักพังของชุมชนที่หลงเหลืออยู่หลังน้ำท่วม และการเล่าประวัติศาสตร์ชุมชนที่เคยรุ่งเรืองจากการค้าไม้ ขายยางพารา ค้าแร่และผลผลิตทางการเกษตร มีสะพานข้ามคลองกะทูนคงจะเป็นจุดถ่ายรูปที่สำคัญ (Landmark) แห่งใหม่ การขับรถรอบอ่างเก็บน้ำในตอนเช้าและแวะถ่ายรูปไปเรื่อยๆ จะเห็นหมอกลดระดับลงมาปกคลุมเขาและรอบๆ อ่างเก็บน้ำ

-อ่างเก็บน้ำคลองกะทูนยังมีพื้นที่ท่องเที่ยวกระจัดกระจายในอีกหลายจุดอยู่รอบๆอ่าง บางจุดสามารถเชื่อมต่อระหว่างสถานที่ท่องเที่ยวจากบ้านกะทูนในรัศมี 2-3 กิโลเมตร เช่น สวนผลไม้ หมู่บ้านศุภนิมิต ห้างทองโบราณ จุดที่น่าสนใจมาก คือ จุดสุดท้ายของถนนสาย 4189 ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นถนนเชื่อมต่อระหว่างอำเภอพิปูน กับ อำเภอนบพิตำของจังหวัดนครศรีธรรม และเชื่อมต่อกับจังหวัดราชสุราษฎรธานี ในภาพที่ 3.11 และ ภาพที่ 3.12 ส่วนนี้เป็นเส้นทางที่เหลืออยู่ก่อนที่ถูกน้ำท่วมไปพร้อมๆกับการสร้างอ่างเก็บน้ำในเวลาต่อมา ถนนที่จมอยู่ใต้น้ำทางฝั่งตะวันออกนี้จะมีเห็นเห็นอีกส่วนหนึ่งในทิศตะวันตก