Best practice

 

วิธีที่ปฏิบัติเป็นเลิศ Best Practice

เรื่องการเพาะพันธุ์กล้าไม้พื้นถิ่น(ทุเรียน,มังคุด,เงาะ)

 

ชื่อผลงาน    การเพาะพันธุ์กล้าไม้พื้นถิ่น(ทุเรียน,มังคุด,เงาะ)

ผู้เสนอผลงาน นางพัชรินทร์  อุตสาหะ

ตำแหน่ง      ครู กศน.ตำบล

สถานศึกษา  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองระยอง

สังกัด         สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดระยอง

 

 บทสรุป

       กศน.ตำบลกะเฉด จัดทำหลักสูตรการเพาะพันธุ์กล้าไม้พื้นถิ่น(ทุเรียน,มังคุด,เงาะ) พื้นที่ตำบลกะเฉดส่วนใหญ่ประชาชนประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำสวนทุเรียน,มังคุด,เงาะเพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้มีทักษะในการเพาะเมล็ดพันธุ์พืช จึงมีความต้องการในการเรียนรู้ด้านการเพาะพันธุ์พืชและขยายพันธุ์พืช เพื่อจำหน่าย ผู้มีความรู้ความสามารถซึ่งเป็นปราชญ์ขาวบ้านมาให้ความรู้ ดังกล่าวยังสามารถทำขายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับ ตนเองและครอบครัว และเป็นที่ต้องการของตลาดอีกด้วย  สามารถทำเพื่อใช้ส่วนตัว ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ชุมชนท้องถิ่น กศน.ตำบลกะเฉด จึงเข้ามาจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อเพิ่มรายได้ และสร้างอาชีพ  

 

ความเป็นมาและความสำคัญ

       ตามที่ สำนักงาน กศน.ดำเนินการจัดกิจกรรมฝึกอาชีพ “เพาะพันธุ์ไม้พื้นถิ่นสร้างอาชีพ สร้างรายได้”เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนที่มีความสนใจในการฝึกอาชีพด้านเกษตรกรรม เกิดกระบวนการเรียนรู้ การเพาะพันธุ์การปลูก การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ไม้พื้นถิ่นอันเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีช่องทางในการประกอบอาชีพจากการเพาะพันธุ์และการปลูกไม้พื้นถิ่น กศน.อำเภอเมืองระยองเมาจึงนำหลักสูตรกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม มาพัฒนาเพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาและต่อยอดประกอบอาชีพของตนเองรวมถึงการก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพสร้างรายได้ประชาชนหรือกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในชุมชน ต่อไป

       ทุเรียน ภาษาอังกฤษคือ Durion เป็นผลไม้ที่มีคนชอบมากเป็นอันดับต้นๆและเป็นผลไม้ขึ้นชื่อในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแหล่งกำเนิดมาจากเกาะสุมาตราด้วยรสชาติหวาน มัน อร่อยถูกปากคนส่วนใหญ่ ซึ่งด้วยกลิ่นที่รุนแรงและหนามที่แข็งรอบตัวทำให้ใครๆ ต่างก็ยกย่องให้ทุเรียนเป็นราชาแห่งผลไม้ ทุเรียนที่นิยมปลูกในประเทศไทยมากที่สุดมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ หมอนทอง ก้านยาว ชะนี กระดุม เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตราคาสูงและ        ยังเป็นพืชไร่ที่สร้างมูลค่ามหาศาลใหักับคนปลูก บางสายพันธุ์ราคาเฉลี่ยหลักร้อยต่อ1กิโลกรัมเลยทีเดียว

       มังคุด เป็นพืชสวนที่นิยมปลูกในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน และเป็นพืชเศรษฐกิจรองลงมาจากทุเรียน เปรียบได้เหมือนกับ “ราชินีผลไม้” แห่งประเทศไทย การปลูกมังคุดต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานและต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมถึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ การทำสวนมังคุดและการปลูกมังคุดจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายคนส่วนใหญ่ ฉะนั้นเกษตรกรผู้สนใจจะปลูกมังคุดควรศึกษาวิธีการปลูกมังคุดอย่างถี่ถ้วน เช่น สภาพพื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกมังคุด การเลือกต้นพันธุ์ หรือวิธีการปลูก เป็นต้น


       เงาะพันธุ์โรงเรียน ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเงาะพันธุ์ที่ดีที่สุดในประเทศไทย และเป็นเงาะพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลกด้วยจึงถือเป็นอีกหนึ่งพันธุ์เงาะที่พี่น้องเกษตรกรนิยมปลูก เพราะสามารถขายได้ในราคาดีทั้งแบบรับซื้อในประเทศและพันธุ์ไม้พื้นถิ่น ทั้ง 3 ชนิดนี้สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เสริมสร้างศักยภาพ   ให้ผู้เรียนมีความรู้ เกิดทักษะในการประกอบอาชีพ สามารถพัฒนาตนเอง หรือกลุ่มไปสู่การบริหารจัดการที่มีมาตรฐานเป็นไปตามหลักการของการประกอบอาชีพ เมื่อจบหลักสูตรแล้วผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์   ไปประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพของตนเอง ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมได้

 

วัตถุประสงค์

       1. ผู้ที่ไม่มีอาชีพ

        2. ผู้ที่มีอาชีพและต้องการพัฒนาอาชีพ

       3. กลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจในการฝึกอาชีพเกษตร

 

เป้าหมาย

       เชิงปริมาณ

       ประชาชนในตำบลกะเฉด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

       เชิงคุณภาพ

       การเพาะพันธุ์กล้าไม้พื้นถิ่น(ทุเรียน,มังคุด,เงาะ)

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

       การสร้างอาชีพด้วยการเพาะพันธุ์กล้าไม้พื้นถิ่น(ทุเรียน,มังคุด,เงาะ) ใช้เทคนิคการบริหารงานแบบคุณภาพ PDCA (Deming Cycle) ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนางานหรือพัฒนาองค์การ ให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เน้นให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติตามแผน ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนการปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสมมีรายละเอียด ดังนี

 

 การดำเนินการตามขั้นตอนการพัฒนา

 

1. ขั้นวางแผน (Plan)

                - กำหนดการประชุมคณะทำงาน

                  จัดการประชุมหารือ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน โดยใช้รูปแบบการมีส่วนร่วม วางแผนการพัฒนาตามแนวทางของการพัฒนากลยุทธ์

                - วิเคราะห์นโยบาย จุดเน้น วิเคราะห์สภาพแวดล้อม

              ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของพื้นที่โดยทั่วไปของตำบลกะเฉด ข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการสำหรับผู้รับบริการที่มาใช้งานกิจกรรมและสื่อต่าง ๆ ศึกษาสภาพแวดล้อมขององค์การ วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค ที่ส่งผลมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 มาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สอดคล้องกับนโยบาย และจุดเน้นการดำเนินงาน กศน.

        การศึกษาต่อเนื่อง

            จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำในกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม และอาชีพเฉพาะทาง
หรือการบริการ รวมถึงการเน้นอาชีพช่างพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน ความต้องการและศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยจัดให้มีหนึ่งอาชีพเด่นต่อหนึ่งศูนย์ฝึกอาชีพ รวมทั้งให้มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

 

มาตรฐานการศึกษาต่อเนื่อง

มาตรฐานการศึกษาต่อเนื่อง มีจำนวน 3 มาตรฐาน ประกอบด้วย

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง ซึ้งมีประเด็นการพิจารณา จำนวน 3 ประเด็น ประกอบด้วย

1.1     ผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องมีความรู้ ความสามารถ และหรือทักษะ และหรือคุณธรรม

เป็นไปตามเกณฑ์การจบหลักสูตร

1.2     ผู้จบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ หรือประยุกต์ใช้ บนฐาน

ค่านิยมร่วมของสังคม

1.3  ผู้จบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องที่นำความรู้ไปใช้จนเห็นเป็นประจักษ์หรือตัวอย่างที่ดี

มาตรฐานที่ 2 คุณภาพการจัดการเรียนรู้การศึกษาต่อเนื่อง ซึ่งมีประเด็นการพิจารณา จำนวน 5 ประเด็น ประกอบด้วย

2.1  หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องมีคุณภาพ

2.2  วิทยากรการศึกษาต่อเนื่อง มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ตรงตามหลักสูตร

การศึกษาต่อเนื่อง

2.3  สื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้

2.4  การวัดและประเมินผลผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง

2.5  การจัดกระบวนการเรียนรู้การศึกษาต่อเนื่องที่มีคุณภาพ

 

 

 

2. ขั้นดำเนินงาน (Do)

                - ดำเนินการปฏิบัติงานตามแผนการพัฒนาที่ได้กำหนดไว้

Ø ในการดำเนินการ การสร้างอาชีพด้วยการเพาะพันธุ์กล้าไม้พื้นถิ่น(ทุเรียน,มังคุด,เงาะ) มีบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ

Ø ดำเนินการจัดทำกิจกรรม / โครงการ ดังนี้

หลักสูตรการเพาะพันธุ์กล้าไม้พื้นถิ่น(ทุเรียน,มังคุด,เงาะ)

Ø ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแนวทางการ

Ø ดำเนินการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ในรูปแบบ Re-Skill& Up-skill 

3. ขั้นตรวจสอบ (Check)

                ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการตามแนวทาง“การเพาะพันธุ์กล้าไม้พื้นถิ่น(ทุเรียน,มังคุด,เงาะ)” โดยประเมินความสำเร็จ ของการปฏิบัติจากการประเมินความพึงพอใจ รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรม/โครงงาน

4. ขั้นปรับปรุงและพัฒนา (Action)

                สะท้อนผลการดำเนินงาน และผลของการพัฒนาที่เกิดขึ้น ทั้งจากการรายงานสรุปผลการประเมินโครงการ การประเมินความพึงพอใจและการสะท้อนโดยการมีส่วนร่วม จากคณะทำงาน เพื่อให้มีการถอดบทเรียนความสำเร็จ เพื่อพัฒนาและหาแนวทางการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาต่อไป

 

ผลการดำเนินงาน

       ผลที่เกิดกับประชาชน

1. ประชาชนสร้างอาชีพการเพาะพันธุ์กล้าไม้พื้นถิ่น(ทุเรียน,มังคุด,เงาะ)     
2. บุคลากรมีความสามารถในจัดกิจกรรมบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

บทเรียนที่ได้รับ

                1. อาชีพบางอาชีพสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชน

                2. งานฝีมือเป็นที่ต้องการของตลาด

ปัจจัยที่ส่งผลความสำเร็จ

             1. ผู้บริหารและบุคลากรที่รับผิดชอบ มีการวางแผนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ ทำให้มีกิจกรรมและโครงการที่สอดคล้องกับนโยบาย เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและผู้รับบริการ

                2. มีภาคีเครือข่ายที่ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาต่อเนื่อง

                3. การศึกษาหลักทฤษฎีและแนวคิดที่ถูกต้องทำให้กิจกรรมการดำเนินงานสามารถตอบโจทย์ผู้ใช้บริการและสามารถดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

Ø  ข้อเสนอแนะต่อสถานศึกษา

                สถานศึกษาควรจัดหาตลาด สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่