ปราชญ์ชาวบ้าน

ปราชญ์ชุมชน

บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จสามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม  ความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้านคือ บทบาทและภารกิจในการนำภูมิปัญญาไปใช้แก้ปัญหา และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิปัญญาที่จะนำไปแก้ปัญหาและถ่ายทอดกล่าวคือ ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยย่อมมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาระดับชาติไปแก้ปัญหา หรือถ่ายทอด หรือผลิตผลงานใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น 

ปราชญ์ชาวบ้าน

ปราชญ์ชาวบ้านคนส่วนใหญ่มักจะคิดถึงองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาที่มาจากชาวบ้านเป็นความรู้ ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ปรับตัวผ่านประสบการณ์ที่สั่งสมพัฒนาและสืบทอดกันต่อๆมา เพื่อใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขหลักการแนวคิดและวิถีชีวิตของปราชญ์ เป็นสิ่งที่คนในยุคสมัยปัจจุบันนี้ควรได้เรียนรู้และนำไปเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตการนำภูมิปัญญาจากปราชญ์ชาวบ้านมาประยุกต์ใช้ในการทำงานซึ่งสามารถนำไปใช้ปฏิบัติใช้ในระดับบุคคลและชุมชนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี บรรพบุรุษของชาวไทยเป็นชนชาติที่มีศิลปะวัฒนธรรมจารีตประเพณีที่เก่าแก่สืบทอดกันมานานนับร้อยนับพันปีโดยบรรพบุรุษของชาวไทยได้นำเอาความรู้ความสามารถด้านต่างๆถ่ายทอดให้คนรุ่นหนึ่งไป สู่คนอีกรุ่นหนึ่งโดยมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเพื่อนำความรู้นั้นๆมาใช้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมชุมชนท้องถิ่นให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นโดยความรู้ความสามารถเหล่านี้จะเรียกว่า “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” 

ปราชญ์ชาวบ้าน
        หมายถึงบุคคลในสังคมชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของภูมิปัญญาและนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จ จากการสั่งสมประสบการณ์และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เชื่อมโยงคุณค่าภูมิปัญญาของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับการดำรงชีพในปัจจุบัน

ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน หมายถึง สิ่งที่แสดงความรู้ ความคิด และการกระทำของบรรพบุรุษของเรา เพื่อที่จะดำรงชีวิตรอดอย่างมีความสุข

ประเภทของภูมิปัญญา

ภูมิปัญญาไทย แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ชาติ และระดับท้องถิ่น

1. ภูมิปัญญาระดับชาติ เป็นภูมิปัญญาที่พัฒนาสังคมไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ในอดีตเช่น การกอบกู้เอกราชโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และการเสียแผ่นดินบางส่วนของประเทศไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อรักษาเอกราชชาติไทย ทำให้ประเทศไทยไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอณานิคม หรือจักรวรรดินิยม

 2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน คือสิ่งที่แสดงความรู้ ความคิดและการกระทำของบรรพบุรุษของเรา เพื่อที่ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข 

ศูนยการเรียนรู้ชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" บ้านหลวงใหม่ ตำบลทาแม่ลอบ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

เรียบเรียงข้อมูล/เนื้อหา : นางสาวพนิดา  ตาพนัส ครู ศศช.บ้านหลวงใหม่ 

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ : นางสาวพนิดา  ตาพนัส ครู ศศช.บ้านหลวงใหม่ 

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 25 เมษายน 2567

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ lpn.amt_nfedc@nfe.go.th หรือโทร 053-976-291

ลิงก์อ้างอิง https://district.cdd.go.th/