วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับวิถีชีวิตไทย

ความเป็นมา

นิทรรศการ”วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับวิถีชีวิตไทย” เป็นแนวคิดที่นำเสนอเรื่องราวของมนุษย์กับการดำรงชีวิต ที่ต้องประสบปัญหาต่างๆ จนทำให้มนุษย์เกิดการคิดแก้ปัญหา ที่จะทำอะไรเพื่อแก้ปัญหานั้นๆ แรกเริ่มอาจจะคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน จากนั้นจึงมีการพัฒนา และต่อยอดความคิดให้สามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้นกว่าเดิม จนสามารถแก้ปัญหานั้นได้มนุษย์มีการคิดอยู่ตลอดเวลา ทำให้มนุษย์มีพัฒนาการ เกิดความคิดประดิษฐ์ในเรื่องต่างๆ ซึ่งมีมากมายตามยุคสมัยของมนุษย์ ปัจจุบันเทคโนโลยีเองเป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดจากความคิดและการพัฒนาของมนุษย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา ได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีมีกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ซึ่งอยู่คู่กันมาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการแก้ปัญหาพื้นฐาน ในการดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค แม้สมัยระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานไม่สลับซับซ้อนเหมือนดังปัจจุบัน การเพิ่มจำนวนของประชากร และข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาความสัมพันธ์ภายในและต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์เอง ก็มีความสัมพันธ์กันมากเพราะเทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้า ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา เป็นสถานศึกษาที่มีบทบาทหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและจัดกิจกรรมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตไทย ให้แก่นักเรียน นักศึกษา เยาวชนและประชาชนทั่วไปในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจเชิงหลักการทฤษฎีและความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยนำไปสู่การนำไปใช้ผ่านการนำเสนอแนวคิด เนื้อหาสาระ รูปแบบที่ส่วนใหญ่เป็น การเรียนรู้ผ่านนิทรรศการด้วยของจริง เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและการปรับตัวตามเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับวิถีชีวิตไทย

2) เพื่อสร้างนิทรรศการ สื่อผสม เสมือนจริงและผู้รับบริการได้รับความรู้และมีความพึงพอใจ

นิทรรศการ แบ่งเป็น 4 โซน ดังนี้

โซนที่ 1 “สนุกวิทย์ ฉลาดคิด กับ เทคโนโลยีวิถีไทย”

โซนที่ 2 “วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับปัจจัย 4 ในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง”

โซนที่ 3 D.I.Y กับ เทคโนโลยีวิถีชีวิตไทย

โซนที่ 4 กล้วย… ผลไม้มหัศจรรย์ เกี่ยวพันวิถีชีวิตไทย

เรียบเรียงโดย : นางสาวสมิตานัน จันทร์สระน้อย และนางสาวธนจรร เจ๊กนอก