D.I.Y กับเทคโนโลยีวิถีชีวิตไทย


โซนที่ 3 D.I.Y กับ เทคโนโลยีวิถีชีวิตไทย

รายละเอียดสาระทางวิชาการประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้

1. กล้วยนานาพันธุ์

นำเสนอเนื้อหากล้วยในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเขตร้อนชื้น ซึ่งกล้วยสามารถเจริญเติบโตได้ดี ฉะนั้นในประเทศไทยจึงมีพันธุ์กล้วยที่ปลูกในประเทศไทยมากกว่า 197 สายพันธุ์ ทั้งทานได้ ทานไม่ได้และกล้วยสวยงามประเภทประดับ และแสดงถึงความแตกต่างของแต่ละสายพันธุ์ ตัวอย่างเช่น

กล้วยน้ำว้า (Klui Namwa) จัดเป็นกล้วยพื้นเมืองที่พบได้ทั่วไปในทุกภาค เป็นกล้วยที่นิยมปลูกไว้ในทุกครัวเรือนเพื่อการรับประทานผลสุก และแปรรูปผลดิบ รวมถึงการนำส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะใบตองที่ใช้สำหรับห่ออาหารหรือประกอบอาหาร ปลีกล้วย และหยวกกล้วยสำหรับนำมาปรุงอาหาร กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของกล้วยป่า 2 ชนิด ได้แก่

1) Musa acuminate

2) Musa balbisaina

- วงศ์ : Musaceae

- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa sapientum Linn.

- ชื่อสามัญ :

Banana blossom

Pisang Awak

ชื่อท้องถิ่นไทย :

ภาคกลาง และทั่วไป เรียก กล้วยน้ำว้า , ภาคเหนือ เรียก กล้วยใต้ กล้วยเหลือง

ภาคอีสาน เรียก กล้วยตานีอ่อง กล้วยอ่อง ,ภาคตะวันออก เรียก กล้วยมะลิอ่อง เป็นต้น

2. พันธุ์กล้วยน้ำว้าที่พบในไทย ได้แก่

– กล้วยน้ำว้าแดง

– กล้วยน้ำว้าค่อม

– กล้วยน้ำว้าเหลือง

– กล้วยน้ำว้าขาว

– กล้วยน้ำว้านวล

กล้วยน้ำว้า

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ราก และลำต้นกล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีลำต้นสูง 3.0- 4.5 เมตร ลำต้นแท้จะเป็นส่วนหัว/เหง้าที่อยู่เหนือดินเล็กน้อย หรือ ฝังอยู่ใต้ดิน เหง้ากล้วยน้ำว้าสามารถแตกหน่อแยกเป็นต้นใหม่ได้ ส่วนลำต้นเหนือดินที่เป็นลำต้นเทียมประกอบด้วยกาบใบ และใบ โดยกาบใบจะแทงออกจากเหง้าเรียงซ้อนกันแน่นเป็นวงกลม

จนกลายเป็นลำต้นตามที่มองเห็น แผ่นกาบด้านนอกที่มองเห็นจะมีสีเขียว และมีสีดำประเล็กน้อย กาบใบเป็นแผ่นโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม โดยมีแกนกลางเป็นกาบอ่อนเรียงซ้อนกัน แต่เมื่อกล้วยออกปลี/ดอก แกนกลางจะกลายเป็นแก่นกล้วยแทน ขนาดของลำต้นเทียมประมาณ 15-25 ซม.ส่วนรากล้วยจะมีเพียงระบบรากแขนงที่แตกออกจากเหง้ากล้วย รากแขนงนี้มีลักษณะเป็นเปลือกหุ้มสีดำ แก่นรากมีสีขาว ขนาดของรากประมาณ 0.5-1 ซม. หรือ ขนาดประมาณเท่านิ้วก้อย

ใบกล้วย/ใบตอง

ใบกล้วยเป็นส่วนที่ถัดจากกาบกล้วย ประกอบด้วยส่วนก้านใบ และใบ ก้านใบมีความยาวประมาณ 0.5-1 เมตร ถัดมาจะเป็นส่วนใบ หรือเรียก ใบตอง ซึ่งเป็นแผ่นเดียวกัน ซ้าย-ขวา ที่ถอดยาวไปจนถึงปลายใบยาว 1.5-2 เมตร แผ่นใบหรือใบตองที่เป็นยอดอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน และตั้งตรง เมื่อแก่จะมีสีเขียวสด และก้านใบโน้มลงด้านล่าง แผ่นใบมีลักษณะเรียบ แผ่นใบด้านบนมีสีเขียวสด และเป็นมัน ส่วนแผ่นใบด้านล่างมีสีเขียวอมเทา ความยาวของแผ่นใบแต่ละข้างจะยาวเท่ากันประมาณ 25-30 ซม.

ดอก และผลกล้วยน้ำว้า

ดอกกล้วยจะแทงออกที่ปลายยอด มีลักษณะเป็นช่อห้อยลง เรียกว่า เครือกล้วย โดยเครือกล้วยประกอบด้วยใบประดับสีแดงหุ้มดอกไว้ เรียกว่า ปลีกล้วย มีลักษณะค่อนข้างป้อมเมื่อเทียบกับปลีกล้วยชนิดอื่น ใบประดับส่วนปลายม้วนงอ แผ่นใบประดับด้านนอกบริเวณส่วนบนมีสีแดงม่วง ส่วนล่างมีสีแดง แผ่นใบประดับด้านในมีสีครีม ส่วนดอกที่อยู่ด้านในจะมีหลายดอกย่อยเรียงซ้อนกันเป็นแผง เรียกว่า หวี โดยกล้วยน้ำว้า 1 เครือ จะมีหวีกล้วยประมาณ 7-12 หวี แต่ละหวี มีผลกล้วยประมาณ 10-16 ผล ผลกล้วยจะเจริญจากดอก ผลอ่อนมีลักษณะเปลือกผลสีเขียว และเป็นเหลี่ยม ผลห่ามจะมีเหลี่ยมน้อยหรืออวบกลม ไม่มีเหลี่ยม และจะมีสีเขียวอมเทา ส่วนผลสุก เปลือกผลจะค่อยเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อกล้วยที่ถัดจากเปลือกผล เมื่อยังอ่อนจะมีสีขาว เนื้อแน่นเหนียว แต่หากสุกจะมีสีเหลืองอ่อน เนื้อสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม ให้รสหวาน แต่ไม่ส่งกลิ่นหอมเหมือนกล้วยชนิดอื่น เช่น กล้วยหอม

การนำมาใช้ประโยชน์

เนื่องจากกล้วยน้ำว้ามีลักษณะลำต้น และใบที่มีขนาดใหญ่กว่ากล้วยชนิดอื่นๆ จึงนิยมนำส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่

1. กล้วยน้ำว้าสุก

– กล้วยน้ำว้าสุก นำมารับประทานเป็นผลไม้

– กล้วยน้ำว้าสุกใช้ทำเป็นขนม ของหวานต่างๆ อาทิ กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี มีลักษณะ

สีเหลืองทั้งเปลือก และเนื้อ มีรสหวาน เหนียวนุ่ม นำมารับประทานเป็นผลไม้ และทำขนมหวาน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยตาก หรือ ข้ามต้มมัด เป็นต้น

– นำมาใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญบ้าน พิธีเข้าพาขวัญ/สู่ขวัญ เป็นต้น

– กล้วยดิบหรือกล้วยห่าม นำมาปอกเปลือก และนำผลไปตากแห้ง แล้วบดเป็นผงกล้วย

สำหรับใช้ประกอบอาหารหรือทำขนมหวาน

2. กล้วยน้ำว้าดิบ

– นำมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ ทอด และโรยน้ำตาลหรือน้ำเชื่อม

– ผลกล้วยน้ำว้าดิบนำมาปอกเปลือก หั่นผลบางๆ แล้วนำมาตำรวมกับมะยม

3. ลำต้นหรือหยวกกล้วยอ่อน

– นำมาปรุงอาการ เช่น หมกหยวกกล้วย แกงหยวกกล้วย เป็นต้น

– นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ ที่ส่วนมากนิยมใช้เลี้ยงสุกร

4. ปลีกล้วย

– ปลีกล้วย นำมาประกอบอาหาร เช่น ยำหัวปลี แกงหัวปลีใส่ปลา ห่อหมกหัวปลีใส่ไก่ เป็นต้น

– ผลอ่อนที่ได้จากการตัดปลีกล้วย ใช้จิ้มน้ำพริกหรือรับประทานสดเป็นเครื่องเคียง

5. ใบกล้วยหรือใบตอง

– นำมาห่ออาหารหรือห่อปรุงอาหาร เช่น ห่อหมกต่างๆ

– ใบกล้วยทีเหลือจากการตัดเครือหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ นำมาเป็นอาหารสัตว์ เช่น ใช้เลี้ยงสุกร และโค เป็นต้น

– ใบกล้วยใช้ทำเครื่องเล่นเด็ก

– ใบกล้วยใช้ทำเครื่องพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ใช้ทำพานบายศรีสู่ขวัญ หรือ ใช้ห่อกระทง เป็นต้น

– ใบกล้วยที่แห้งคาต้น คนโบราณหรือคนในชนบทนิยมในปัจจุบันนำมาใช้มวนยาสูบ

6. กาบกล้วย

– กาบกล้วยสด นำมาฉีกแบ่งเป็นเส้นเล็กๆ สำหรับใช้แทนเชือกรัดของ

7. ก้านกล้วย

– ใช้ทำเครื่้องเล่นให้แก่เด็ก เช่น ม้าก้านกล้วย

คุณค่าทางโภชนาการ

– น้ำ 75.7 กรัม

– พลังงาน 85 แคลอรี่

– โปรตีน 1.1 กรัม

– ไขมัน 0.2 กรัม

– คาร์โบไฮเดรต 22.2 กรัม

– เถ้า 0.8 กรัม

– แคลเซียม (Ca) 8.0 กรัม

– เหล็ก (Fe) 0.7 มิลลิกรัม

– โพแทสเซียม (K) 370 มิลลิกรัม

– แมกนีเซียม (Mg) 33 มิลิกรัม

– วิตามินเอ 190 IU

– วิตามินซี 10 มิลลิกรัม

– ไทอามีน (Thiamine) 0.05 มิลลิกรัม

– ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) 0.06 มิลลิกรัม

– ไนอาซีน (Niacin) 0.7 มิลลิกรัม

องค์ประกอบเคมีของเปลือกกล้วยน้ำว้า

– คาร์โบไฮเดรต 63.6%

– เยื่อใย 8.6%

– เถ้า 11.7%

– ไขมัน 8.6%

– อื่นๆ 7.5

สรรพคุณกล้วยน้ำว้า

ปลีกล้วย

– ช่วยเพิ่มน้ำนมแม่หลังคลอดบุตร

– ช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบ

– ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

– ปลีกล้วยมีสารที่ออกฤทธิ์เป็นด่าง ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร และช่วยป้องกันโรคแผลในกระเพาะอาหาร

– ป้องกันโรคท้องร่วง ทำหน้าที่ต้านเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร

– มีสารต้านอนุมูลอิสระ ออกฤทธิ์ต้านการออกซิเดชันจากสารในกลุ่มฟีนอลิก (Phenolics)

การเพาะขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้า

เรียบเรียงโดย : นางสาวสมิตานัน จันทร์สระน้อย และนางสาวธนจรร เจ๊กนอก