“สนุกวิทย์ ฉลาดคิด กับ เทคโนโลยีวิถีไทย”


โซนนี้สนุกกับการเรียนรู้ว่า กล้วยนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของชาวไทยเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง ลองมาหาคำตอบกันนะคะ

This zone is to have fun learning how banana are used in everyday life of Thai people. How are they related? Let's find out the answer

โซนที่ 1 “สนุกวิทย์ ฉลาดคิด กับ เทคโนโลยีวิถีไทย”

รายละเอียดสาระทางวิชาการประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้

1. ปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิต

มนุษย์ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม ในรูปของปัจจัยสี่ เพื่อการดำรงชีวิต ได้แก่

1.1 อาหาร การดำรงชีวิตของมนุษย์ต้องกินอาหารซึ่งมีแร่ธาตุและพลังงานต่างๆ จากพืช และ

สัตว์ อาศัยน้ำที่หมุนเวียนอยู่ในธรรมชาติในการดื่มและใช้ อาศัยดินและสภาวะอากาศเพื่อผลิตผลิต อาหาร การแสวงหาอาหารของมนุษย์ได้มีการพัฒนามาโดยลำดับ เริ่มต้นด้วยการเก็บหาอาหารจาก แหล่งธรรมชาติ การนำอาหารมาเก็บสะสมไว้ที่บ้าน การรู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และการผลิตอาหาร จากทรัพยากรธรรมชาติได้เอง

1.2 ที่อยู่อาศัย เดิมทีมนุษย์อาศัยอยู่ตามแหล่งธรรมชาติตามร่มไม้ หุบเขาหรือถ้ำจนพัฒนามา

สร้างที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันภัยจากธรรมชาติ สัตว์อื่น รวมทั้งการป้องกันภัยจากมนุษย์ด้วย กันเอง การเลือก ที่อยู่อาศัยตามแหล่งที่สามารถหาอาหาร ได้สะดวกและปลอดภัย ดังนั้นการเลือกที่อยู่อาศัยต้องมีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้เราจะพบว่ารูปแบบและวัสดุในการสร้างที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในแต่ละท้องถิ่นก็แตกต่างกันล้วนมาจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น เช่น บ้านไทยหรือชุมชนอื่นในเขตร้อนชื้น จะเป็น บ้านยกพื้นใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วมและระบายอากาศ ได้ดีไม่ร้อนมาก หลังคาทรงจั่วแหลมเพื่อให้ น้ำฝนไหลลงได้สะดวก และวัสดุมักมาจากไม้ ซึ่งแตกต่างจากเขตอากาศอบอุ่นบ้านจะตั้งบนพื้นดิน ผนังทึบแน่น เพราะต้องการความอบอุ่น ป้องกันอากาศหนาวในฤดูหนาวที่มีหิมะตกหนัก เป็นต้น

1.3 เครื่องนุ่งห่ม เริ่มจากการนำใบไม้เยื่อไม้และหนังสัตว์ที่หาได้มาห่อหุ้มร่างกายเพื่อให้

ความอบอุ่น หรือ ประดับร่างกายเพื่อแสดงความสามารถในการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ จากนั้นมี การผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจากวัสดุที่หาได้ในถิ่นที่อยู่อาศัยสำหรับสมาชิกในครอบครัว จนมาถึงการ ผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเพื่อการค้าในยุคปัจจุบัน

1.4 ยารักษาโรค มนุษย์เริ่มใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งใช้ครั้งละมากๆ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสม เช่น แอลกอฮอล์ อีเทอร์สกัดเอาตัวยาแท้ๆ จากส่วนต่างๆ ของต้นไม้ แล้วทำให้ตัวทำละลายระเหยไป เหลือแต่ตัวยาไว้ แล้วทำให้เป็นผงหรือผลึก ใช้กินแต่น้อย นอกจากการสกัดตัวยาจากสมุนไพรแล้ว มนุษย์ยังใช้วิธีสังเคราะห์ยาเลียนแบบตัวยาในสมุนไพร โดยใช้วัตถุดิบอื่นจากสิ่งแวดล้อม

สิ่งสำคัญที่มนุษย์ต้องรู้จักการพึ่งพาตนเองโดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และรู้จักการนำทรัพยากร ที่เรามีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การดำเนินชีวิตประจำวัน เช่นรู้จักการนำปัจจัยพื้นฐานมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขความสบาย และพอเพียงกับตนเอง

2. กล้วย กับชีวิต

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กล้วยมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญๆ ดังนี้

กล้วยเป็นไม้ดอกล้มลุกขนาดใหญ่ ทุกส่วนเหนือพื้นดินของกล้วยเจริญจากส่วนที่เรียกว่า "หัว" หรือ "เหง้า" ปกติแล้ว ต้นกล้วยจะสูงและแข็งแรงพอสมควร ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นต้นไม้ ซึ่งแท้จริงแล้วส่วนที่คล้ายกับลำต้นคือ "ลำต้นเทียม" (pseudostem) ใบของกล้วยประกอบด้วย "ก้านใบ" (petiole) และแผ่นใบ (lamina) ฐานก้านใบแผ่ออกเป็นกาบ กาบที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นทำให้เกิดลำต้นเทียม มีหน้าที่ชูก้านใบ พยุงให้พืชตั้งตรงดูคล้ายต้นไม้ เมื่อแรกเจริญขอบของกาบจะจรดกันคล้ายท่อ เมื่อมีใบเจริญขึ้นใหม่ที่ใจกลางลำต้นเทียม ขอบกาบที่จรดกันนั้นก็จะแยกออกจากกัน พันธุ์กล้วยนั้นมีความผันแปรมากขึ้นอยู่กับพันธุ์ปลูกและสภาพแวดล้อม โดยมาก สูงประมาณ 5 เมตร (16 ฟุต) จาก 'กล้วยหอมแคระ (Dwarf Cavendish)' ซึ่งสูงประมาณ 3 เมตร (10 ฟุต) ไปจนถึง 'กล้วยหอมทอง (Gros Michel)' ที่สูงประมาณ 7 เมตร (23 ฟุต) หรือมากกว่า ใบแรกเจริญจะขดเป็นเกลียวก่อนที่จะแผ่ออก อาจยาวได้ถึง 2.7 เมตร (8.9 ฟุต) และกว้าง 60 ซม. (2.0 ฟุต) แผ่นใบมีขนาดใหญ่ ปลายใบมน รูปใบขอบขนาน โคนใบมน มีสีเขียว ใบฉีกขาดได้ง่ายจากลม ทำให้บางครั้งมองดูคล้ายใบเฟิร์น รากเป็นระบบรากฝอย แผ่ไปทางด้านกว้างมากกว่าทางแนวดิ่งลึก

ต้นกล้วยที่มีผลและหัวปลี

เมื่อกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่ หัวจะสร้างใบสุดท้ายที่เรียกว่า "ใบธง" จากนั้นจะหยุดสร้างใบใหม่ และเริ่มสร้างช่อดอก (inflorescence) ลำต้นที่มีช่อดอกอ่อนบรรจุอยู่ จะพัฒนาขึ้นภายในลำต้นเทียม จนในที่สุดมันก็โผล่ออกที่ด้านบนลำต้นเทียม แต่ละลำต้นเทียมจะสร้างช่อดอกเพียงช่อเดียว ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "ปลี” (banana heart)" (บางครั้งมีกรณีพิเศษ เช่นกล้วยในประเทศฟิลิปปินส์สร้างปลีขึ้นมาห้าหัว ช่อดอกประกอบด้วยกลุ่มของช่อดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ มีใบประดับสีม่วงแดงหรือที่เรียกว่า "กาบปลี" (บางครั้งมีการเข้าใจผิดเรียกเป็นกลีบดอก) ระหว่างแถวของช่อดอกย่อย ช่อดอกย่อยแต่ละช่อมีดอกเรียงซ้อนกันอยู่ 2 แถว ดอกตัวเมีย (ที่สามารถเจริญเป็นผลได้) จะอยู่ในช่อดอกย่อยที่บริเวณโคนปลี (ใกล้กับใบ) ดอกตัวผู้จะอยู่ที่ปลายปลี หรือส่วนที่เรียกว่า "หัวปลี" รังไข่อยู่ต่ำกว่าซึ่งหมายความว่ากลีบดอกขนาดเล็กและส่วนอื่นๆ ของดอกจะอยู่ในปลายรังไข่ หลังให้ผล ลำต้นเทียมจะตายลง แต่หน่อหรือตะเกียงจะพัฒนาขึ้นจากตา (bud) ที่หัว ส่งผลให้กล้วยเป็นพืชหลายปี หากเกิดขึ้นหลายหน่อพร้อมกันจะเรียกว่า "การแตกกอ" ในระบบการเพาะปลูก จะอนุญาตให้เจริญเติบโตเพียงหน่อเดียวเท่านั้นเพื่อให้ง่ายต่อการจัดสรรพื้นที่

ผลกล้วยพัฒนาจากดอกเพศเมีย กลุ่มของดอกเพศเมีย 1 กลุ่มเจริญเป็นผลเรียกว่า "หวี (hands)" ซึ่งหวีหนึ่งๆ มีผลกล้วยประมาณ 20 ผล กลุ่มหวีบนช่อดอกเจริญเป็น "เครือ (banana stem)" ซึ่งอาจมี 3-20 หวี ผลของกล้วยมีการเจริญได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ จึงทำให้กล้วยส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ด

ดอกตัวเมีย (ซึ่งจะเจริญไปเป็นผล) มีกลีบดอกและส่วนอื่นที่ปลายรังไข่ (รังไข่อยู่ต่ำกว่า (inferior))

ผลกล้วยได้รับการบรรยายเป็น "leathery berry (ลูกเบอร์รี่ที่คล้ายแผ่นหนัง) มีชั้นป้องกันภายนอก (เปลือก) มีสายบางๆ ตามยาว (มัดท่อลำเลียงโฟลเอ็ม) อยู่ระหว่างเปลือกและส่วนที่รับประทานได้ภายใน เนื้อกล้วยมีเนื้อนิ่มสีเหลือง มีรสหวานคล้ายขนม เมล็ดกล้วยมีลักษณะกลมเล็ก บางพันธุ์มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาแข็ง มีสีดำ สำหรับในสายพันธุ์ปลูก เมล็ดกล้วยมีขนาดเล็กมากเกือบจะไม่มีเลย เหลือแค่เพียงจุดสีดำเล็กๆ ภายในเนื้อกล้วยเท่านั้น

อนุกรมวิธาน

สกุล Musa จัดอยู่ในวงศ์ Musaceae ตามระบบ APG III กำหนดให้ Musaceae อยู่ในอันดับ Zingiberales เป็นส่วนหนึ่งในเครือบรรพบุรุษ commelinid ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

บางแหล่งอ้างว่าชื่อ Musa ได้รับการตั้งชื่อตามแอนโตนิอุส มูซา (Antonius Musa) นักพฤกษศาสตร์และแพทย์ประจำประองค์ของจักรพรรดิออกัสตัส แหล่งอื่นกล่าวว่าคาโรลัส ลินเนียสผู้ตั้งชื่อสกุลในปี ค.ศ. 1750 ได้ดัดแปลงมาจากคำว่า mauz ซึ่งแปลว่ากล้วยในภาษาอาหรับ คำว่า banana ในภาษาอังกฤษมีรากมากจากภาษาโวลอฟคำว่า banaana มีพืช 70 ชนิดในสุกล Musa ที่ได้รับการบันทึกใน World Checklist of Selected Plant Families (รายการตรวจสอบวงศ์พืชทั่วโลก) เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 มีหลายชนิดที่ผลรับประทานได้ ขณะที่บางชนิดปลูกไว้เป็นไม้ประดับ

เรียบเรียงโดย : นางสาวสมิตานัน จันทร์สระน้อย และนางสาวธนจรร เจ๊กนอก