วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับปัจจัย 4 ในการดำเนินชีวิต

โซนที่ 2 “วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับปัจจัย 4 ในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง”

แนวคิดนำเสนอแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. “วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับปัจจัย 4 ในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง”

2. ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์...อนุรักษ์พันธุ์พืช

รายละเอียดสาระทางวิชาการประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้

นำเสนอส่วนที่ 1.“วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับปัจจัย 4 ในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง”

ประโยชน์ของกล้วย

กล้วยมีความผูกพันในวิถีชีวิตคนไทยมาช้านาน คนไทยรู้จักใช้ประโยชน์จากต้นกล้วย นอกจากบริโภคเป็นอาหารแล้ว ทุกส่วนของกล้วยยังนำมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งในชีวิตประจำวันด้วย

1. การใช้ประโยชน์ในการบริโภค

กล้วยเป็นผลไม้ที่มีเปลือกหุ้มเช่นเดียวกับผลไม้อื่นๆ แต่วิธีการปอกเปลือกกล้วยนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ เพียงใช้มือเด็ดปลายหรือจุก ก็สามารถปอกเปลือกได้ด้วยมือและรับประทานได้ทันที จึงเป็นผลไม้ที่รับประทานง่าย ดังคำโบราณว่า "ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก" นอกจากปอกเปลือกง่ายแล้ว กล้วยสุกเมื่อรับประทานแล้ว ก็จะลื่นลงกระเพาะได้ง่าย และย่อยง่าย ด้วยเหตุที่กล้วยลื่นลงกระเพาะได้ง่าย ให้บางคนไม่ค่อยเคี้ยวกล้วยซึ่งเป็นวิธีการที่ผิด การรับประทานกล้วยจำเป็นต้องเคี้ยวให้ละเอียด เพราะกล้วย มีแป้งร้อยละ 20 - 25 ของเนื้อกล้วย ถ้าเคี้ยวไม่ละเอียด น้ำย่อยในกระเพาะต้องทำงานหนัก หากย่อยไม่ทัน กล้วยจะอืดในกระเพาะ อย่างไรก็ตาม กระเพาะของคนใช้เวลาในการย่อยกล้วยสั้นกว่าการย่อยส้ม นม กะหล่ำปลี หรือแอปเปิล ดังนั้นคนไทยจึงนิยมใช้กล้วยที่ขูดเอาแต่เนื้อ ไม่เอาไส้ บดละเอียดให้ทารกรับประทาน นอกจากทารกแล้ว คนชราก็รับประทานกล้วยได้ดีเช่นกัน ในกรณีคนหนุ่มสาว กล้วยเหมาะสำหรับคนที่ต้องการลดความอ้วน เนื่องจากกล้วยมีคุณค่าทางอาหารสูงพอๆ กับมันฝรั่ง แต่มีปริมาณไขมัน คอเลสเตอรอล และเกลือแร่ต่ำ กล้วยมีโซเดียมเพียงเล็กน้อย แต่มีโพแทสเซียมสูง การมีโพแทสเซียมสูงนี้จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ ในประเทศอินเดียมีความเชื่อว่า หากรับประทานกล้วย 2 ผลต่อวัน จะสามารถลดความดันโลหิตได้ถึงร้อยละ 10 ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์

กล้วยยังเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร และท้องเสียบ่อย เพราะสามารถช่วยลดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ กล้วยเมื่อยังดิบจะมีแป้งมาก แต่เมื่อสุก แป้งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ดังนั้นหากท้องเดิน การกินกล้วยดิบจะช่วยทำให้อาการท้องเดินหยุดได้ และเมื่อเป็นโรคกระเพาะ ให้กินกล้วยที่ สุกแล้ว สำหรับกล้วยที่ทำให้สุกด้วยความร้อน วิตามินจะลดลง

2. การใช้ประโยชน์ในพิธีกรรมต่างๆ และในชีวิตประจำวัน

2.1 ในพิธีทางศาสนา เช่น การเทศน์มหาชาติ และการทอดกฐิน มักใช้ต้นกล้วยประดับ

ธรรมาสน์ และองค์กฐิน

2.2 ในพิธีตั้งขันข้าว หรือค่าบูชาครูหมอตำแย สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และไปขอให้หมอ

ตำแยทำคลอดให้ จะต้องใช้กล้วย 1 หวี พร้อมทั้งข้าวสาร หมากพลู ธูปเทียนสำหรับการทำพิธีบูชาครู ก่อนคลอด และเมื่อคลอดแล้ว จะต้องอยู่ไฟ ก็ยังใช้ต้นกล้วยทำเป็นท่อนล้อมเตาไฟ ป้องกันการลามของไฟ

2.3 ในพิธีทำขวัญเด็ก เมื่อเด็กอายุได้ 1 เดือน กับ 1 วัน มีการทำขวัญเด็กและโกนผมไฟ

จะมีกล้วย 1 หวี เป็นส่วนประกอบในพิธีด้วย

2.4 ในพิธีแต่งงาน มักมีต้นกล้วยและต้นอ้อยในขบวนขันหมาก พร้อมทั้งมีขนมกล้วย และ

กล้วยทั้งหวีเป็นการเซ่นไหว้เทวดาและบรรพบุรุษ ในการปลูกบ้าน เมื่อมีพิธีทำขวัญยกเสาเอก จะใช้ หน่อกล้วยผูกมัดไว้ที่ปลายเสาร่วมกับต้นอ้อย และเมื่อเสร็จพิธี ก็จะมีการลาต้นกล้วยและต้นอ้อยนั้น นำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้าน จากนั้นประมาณ 1 ปี หรือเมื่อปลูกบ้านเสร็จแล้วพร้อมอยู่อาศัย ก็มีกล้วยไว้กินพอดี

2.5 ในงานศพ ในสมัยโบราณ มีการนำใบตอง มารองศพ ก่อนนำศพวางลงในโลงนอกจากนี้

ใบตองยังมีบทบาทสำคัญมากในพิธีกรรมต่างๆ โดยการนำมาทำกระทงใส่ของ ใส่ดอกไม้ และประดิษฐ์เป็นกระทง บายศรี

2.6 ในชีวิตประจำวัน ใช้ใบตองในการห่อผักสดและอาหาร เนื่องจากใบตองสดมีความชื้น

ดังนั้นเมื่อใช้ห่อผักสดหรืออาหาร ความชื้นจะช่วยรักษาผักหรืออาหารให้สดอยู่เสมอ นอกจากนี้ใบตองยังทนทานต่อความเย็นและความร้อน ดังนั้นเมื่อนำใบตองห่ออาหารแล้วเอาไปปิ้ง นึ่ง ต้ม ใบตองก็จะไม่สลายหรือละลายเหมือนเช่นพลาสติก จึงมีอาหารหลายอย่างที่ห่อใบตองแล้วนำไปนึ่ง เช่น ห่อหมก ข้าวต้มผัด ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ หรือเอาไปปิ้ง เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง หรือนำไปต้ม เช่น ข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มจิ้ม อาหารเหล่านี้เมื่อนำไปต้ม ปิ้ง หรือนึ่งแล้ว ยังทำให้เกิดความหอมของใบตองอีกด้วย สำหรับใบตองแห้ง นำมาใช้ทำกระทงเพื่อใส่อาหาร ห่อกะละแม มวนบุหรี่ โดยใบตองแห้งก็จะมีกลิ่นหอมเช่นกัน ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีการทดลองนำเอาใบตองแห้งมาอัดกันแน่นหลายๆ ชั้น ทำเป็นภาชนะใส่ของแทนการใช้โฟมได้อีกด้วย ใบตองแห้งยังนำไปใช้ในงานศิลปกรรมไทยได้อีกหลายอย่าง เช่น นำไปทำ รักสมุก

ในงานของช่างเขียน ช่างปั้น ช่างแกะ และช่างหุ่น เพราะรักสมุกใบตองแห้ง ช่วยในการเคลือบและปกป้อง เนื้อไม้ ขัดแต่งง่าย เมื่อแห้งผิวเป็นมัน น้ำหนักเบา เหมาะในการทำหัวโขน และการลงรักปิดทอง

2.7 ในสมัยโบราณ เมื่อยังใช้เตารีดที่เป็นเตาถ่าน หากเตาร้อนมากไป ก็เอามารีดบน

ใบตองสด ก่อนนำไปรีดบนผ้า เพราะใบตองมีสารจำพวกขี้ผึ้งหุ้มอยู่ ขี้ผึ้งจะช่วยเคลือบเตารีด ทำให้รีดผ้าไม่ติด

2.8 กาบกล้วย ใช้ในศิลปะการแทงหยวกไว้ที่เชิงตะกอนเวลาเผาศพ ส่วนใหญ่ใช้

กาบกล้วยตานี เพราะกาบกล้วยตานีขาวสะอาด ทำให้หยวกที่แทงมีลวดลายสวยงาม งานแทงหยวกเป็นงานที่ต้องทำหลายคนแล้วเอามาประกอบกัน โดยช่างผู้ทำต้องสลักเป็นลายไทยต่างๆ เช่น กระจังตาอ้อย กระหนกเปลว ครีบสิงห์ แข้งสิงห์ รักร้อย และเครือเถา นอกจากนี้กาบกล้วยยังนำมาฉีกเป็นเส้นใหญ่ๆ ใช้มัดผักเป็นกำๆ เช่น ชะอม ตำลึง เพื่อให้ความชื้นกับผัก เพราะกาบกล้วยมีน้ำอยู่มาก ถ้าฉีกเป็นเส้นเล็กๆ ก็ใช้มัดของแทนเชือกได้ กาบกล้วยเมื่อแห้งอาจนำมาทำเป็นเชือกกล้วย สำหรับผูกของและสานทำเป็นภาชนะรองของ หรือสานเป็นกระเป๋า สุภาพสตรี นอกจากนี้ใยของกาบกล้วยยังนำมาใช้ทอผ้าได้ด้วยเช่นกัน

2.9 ต้นกล้วย ที่หั่นเป็นท่อนๆ อาจใช้เป็นทุ่นลอยน้ำให้เด็กๆ ใช้หัดว่ายน้ำ หรือนำมาทำเป็น

แพสำหรับตั้งสิ่งของให้ลอยอยู่ในน้ำ

2.10 ก้านกล้วย เมื่อเอาแผ่นใบออก แกนกลางหรือเส้นกลางใบ อาจนำมาใช้มัดของ หรือ

นำมาทำของเล่นเด็กๆ ได้ เช่น ทำเป็นม้าก้านกล้วย และปืนก้านกล้วย ซึ่งเป็นของเล่นของเด็กไทยในสมัยก่อน

(ที่มาข้อมูล : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ 30 / เรื่องที่ 6 กล้วย / ประโยชน์ของกล้วย)

เป็นการนำเสนอมีเนื้อหาโดยใช้เป็นปัจจัย 4 ที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิต โดยมีการกั้น

ด้วยวัสดุใสและทึบ เป็นบางช่วง เพื่อป้องกันแดดและเป็นห้องสาธิตทดลอง โมเดล และนิทรรศการสำเร็จรูป นำเสนอดังนี้

1) นิทรรศการ อาหารจากกล้วย

จัดแสดงด้วยโมเดลและของจริง เนื้อหาเกี่ยวกับกล้วยกับวิถีชีวิตไทย ซึ่งเป็นพืชสารพัด

ประโยชน์สามารถใช้รับประทานอาหารได้ตั้งแต่ราก ใบ และผล ลำต้น เป็นทั้งอาหารและมีสรรพคุณเป็น ยารักษาโรคพื้นบ้าน

2) นิทรรศการ เครื่องนุ่มห่ม/กับการทอผ้าพื้นเมือง

โซนสาธิตและลงมือปฏิบัติพร้อมชุดนิทรรศการ การทอผ้าในโซนนี้ต้องชุดการทอผ้า

ขนาดเล็กที่มีการขึงเป็นโครงสามารถใช้เชือกหรือไหมพรมทำเป็นชิ้นงานได้ จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ชุด พร้อมชุดนิทรรศการสำเร็จรูปการทอผ้าพื้นเมือง เช่นผ้าญวน ผ้าฝ้าย โดยมีชุดการทอผ้าสาธิตขนาดปกติ จำนวน 1 ชุด เพื่อประกอบนิทรรศการทอผ้าพื้นเมือง

3) นิทรรศการ ยารักษาโรคจากภูมิปัญญาไทย

โซนนิทรรศการพร้อมวัสดุ อุปกรณ์ การสาธิตและมีการลงมือปฏิบัติในเรื่อง เครื่องบดยา

กระโจมสมุนไพร ลูกปะคบ โดยมีการทดลองและลงมือปฏิบัติได้ เช่น การบดขมิ้นผง การผสมดินสอพอง กลิ่นของสมุนไพรแต่ละชนิดในชีวิตมีความแตกต่างกันอย่างไร สรรพคุณของสมุนไพร ใช้ปรับธาตุ กลุ่มร้อน-เย็น ของสมุนไพรแต่ละชนิด

4) นิทรรศการ ที่อยู่อาศัยที่เก็บเกี่ยวประโยชน์จากการใช้ต้นยางนา

4.1 โซนจัดแสดงประโยชน์จากต้นยางนา มีต้นยางนาปลูกเป็นตัวอย่าง 3-5 ต้น

ด้านนอก และเชื่อมโยงกับประโยชน์จากผลผลิตคลั่งจากยางนา ที่มีการนำเสนอชุดนิทรรศการตั้งแต่การเพาะปลูก การใช้ประโยชน์จากต้นยางนา การนำคลั่งไปใช้ในชีวิตประจำวัน

4.2 มีเออาร์โค้ด รายละเอียดของต้นยางนา

ส่วนจัดแสดงที่ 2 “ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์...อนุรักษ์พันธุ์พืช”

เป็นโซนเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย มีลักษณะเป็นห้อง Lab สำหรับทดลองเพาะเนื้อเยื่อกล้วย

นิทรรศการที่จัดแสดงเรื่องเกี่ยวกับ กล้วยสารพัดกลิ่น กล้วยที่ออกผลกลางลำต้นกำหนดทิศทางได้ตามต้องการ และการทดลองสาธิต มีเออาร์โค้ด เรื่องกล้วยที่เราเห็นได้ในแต่ละภูมิภาคพร้อมประโยชน์ สรรพคุณ แต่ละชนิด

เรียบเรียงโดย : นางสาวสมิตานัน จันทร์สระน้อย และนางสาวธนจรร เจ๊กนอก