วัดบ้านค่าย

ประวัติวัดบ้านค่ายหรือวัดชัยชมภูพล ตำบลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

ประวัติวัดบ้านค่ายหรือวัดชัยชมภูพล ระยอง ชื่อวัดโดยทางราชการวัดบ้านค่าย ชื่อที่ชาวบ้านเรียกหรือชื่อเดิม วัดบ้านค่ายสังกัด มหานิกาย อยู่ในเขตปกครองสงฆ์ ตำบลบ้านค่าย ชากบก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ภาค 13

ตำเเหน่งที่ตั้งวัด เลขที่ 145 ถนนสาย บ้านค่าย หนองคอกหมู หมูที่ 5 ตำบลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของบริเวณที่ตั้งวัด

วัดบ้านค่ายมีลักษณะพื้นที่ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่ม ด้านทิศตะวันออกของเเม่น้ำระยองล้อมรอบการตั้งวัด เเต่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 มกราคมพศ 2506 มีขนาดเนื้อที่ กว้าง15 เมตร ยาว 30เมตร เเละได้ประกอบพิธีผูกธสีมาเมื่อปี พศ 2509

ประวัติความเป็นมาของวัดบ้านค่ายคัดลอกมาจากหนังสือประวัติวัดในจังหวัดระยอง

วัดบ้านค่ายนี้ตามคำเล่า ที่เล่าสืบต่อกันมาสร้างในกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สมัยนั้นขอมยังปกครองดินเเดนเเถบนี้อยู่ ได้สร้างวัดเเละโบสถ์ ชาวบ้านเรียกว่า โบสถ์ขอม ขณะนี้ปรักหักพังไปหมดเเล้ว ยังคงเหลืออยู่เต่ซากอิฐพอเป็นเค้าให้เห็นอยู่บ้าง พร้อมทั้งเค้าถนนรอบค่าย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นค่ายของขอม ภายหลังขอมเสื่อมอำนาจลงต้องอพยพไปจากที่นี้ จุงทำให้วัดร้างไปด้วย

ต่อมา นายตาลซึ่งเป็นชาวระยองได้มาตั้งบ้านเรือน ได้ชักชวนชาวบ้านสร้างกุฎิขึ้นใหม่ พอที่พระภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่ได้ เเละอาราธนาหลวองพ่อเเป้นหรืออุปัชฌาย์เเป้น จากวัดวงเวียนตะเคียน 7 ต้น มาอยู่ทีวัดนี้ สำหรับอุโบสถได้ปรักพักไปหมดเเล้วยังมิได้สร้างขี้นมาใหม่ กล่าวกันว่า ครั้งหนึ่งสงฆ์ในวัดได้เเตกเเยกกัน เพราะไม่มีอุโบสถที่จะประกอบสังฆกรรม เพื่อให้สงฆ์สามัคคีกันได้จึงคิดสร้างอุโบสถขึ้นใหม่เเต่พิจารณาเห็นว่า วัดนี้ไม่เหมาะสมเนื่องจากอยู่ใกล้เเม่น้ำ เเม่น้ำระยอง ถูกสายน้ำเเทงมายังวัด จึงย้ายที่สร้างวัดลงมาตอนล่าง หลวงพ่อเเป้นพร้อมด้วยนายตาลเเละประชาชนในเเถบนั้นไปดูสถานที่นายเรืองเเจ้งว่าจะถวายให้สร้างวัด มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 40 ไร่เศษ สถานทึ่นี้มีเสาตลุงช้างอยู่ 4 ต้น ไม่ทราบว่าเป็นที่ผูกช้างหรือโรงน้ำชาของผู้ใด ซึงภายหลังนายเรืองได้จับจองไว้ เเต่ยังมิได้ทำประโยชน์อย่างไรเพราะเป็นที่ป่ารกชัฎ เล่ากันว่า มีเสือเเม่ลูกอ่อนอยู่ ณ ที่นั่นเอง เมื่อพิจารณาดูเเล้วเห็นว่าเป็นที่เหมาะสม หลวงพ่อเเป้นจึงย้ายกุฎิมาปลูกสร้างใหม่ในเนื้อที่ของนายเรือง ประชาชน นิยมเรียกว่า วัดล่าง เเละวัดเติมเรียกว่า วัดบน ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นวัดบ้านค่าย ตามลักษณะที่มีค่ายของขอมปรากฎอยู่ จากหลักฐานทั้ง 2 พอจะอนุมานได้ว่า วัดบนทำเลไม่เหมาะสม เพราะมีกระเเสน้ำไหลเซาะตลิ่งในฤดูน้ำหลาก จึงย้ายมาอยู่ในที่ปัจจุบันได้ประมาณ 200 ปีล่วงมาเเล้ว