โรงเรียนวัดท่าสำเภาใต้

โรงเรียนวัดท่าสำเภาใต้ ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๔ ตำบลชัยบุรีอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต ๑ เดิมเป็นโรงเรียนวัด ตั้งอยู่ที่วัดท่าสำเภาเหนือ มีพระอธิการชุม (พระครูพิพัฒน์กิจจาธร) เป็นผู้จัดตั้งและเป็นครูผู้สอน ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนเป็นโรงเรียนประชาบาล เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๗๕ ใช้ชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลมะกอกใต้ ๓ (วัดท่าสำเภาเหนือ) มี นายเพี้ยน มุสิกนุเคราะห์ เป็นครูใหญ่ พระอธิการชุม และนายศรี เนตรนพรัตน์ เป็นครูน้อย

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๑ ทางราชการได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่วัดท่าสำเภาใต้ เนื่องจากอยู่กลางที่ชุมชนและบริเวณนี้มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ใช้ชื่อว่า โรงเรียนวัดท่าสำเภาใต้ มีนักเรียนในเขตบริการ ๔ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๕ และ หมู่ที่ ๗ มีนายเพี้ยน มุสิกนุเคราะห์ เป็นครูใหญ่ นายร่วง เศรษฐพงศ์ เป็นครูน้อย ในการสอนนั้นได้ใช้อาคารศาลาโรงธรรมของวัดท่าสำเภาใต้ เป็นเวลา ๘ ปี

วันที่ ๒๑ มิถุนายนพ. ศ ๒๔๙๔ นายมุมุสิกนุการได้ไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนวัดท่าสำเภาเหนือซึ่งเป็นโรงเรียนเปิดใหม่และนายสนามเศรษฐพงศ์ได้เลื่อนตำแหน่งครูใหญ่

พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้ร่วมกันสู้รบของวัดท่าเรือสำเภาใต้ทางทิศใต้ด้านหลัง ๖ ไร่เช่าสถานที่ตั้งอาคารเรียน

พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้สร้างอาคารเรียนแบบป ๑ ก. ขนาด ๘ คูณจุลภาคมีมุขขนาด ๓๐ บาท (สองหมื่นบาทรอบคอบ) และเงินที่ชุมชนร่วมกันอีก ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาท) ใช้เวลาก่อสร้างสี่ปี แล้วเสร็จและได้รับเงินจัดซื้อครุภัณฑ์ทั้งหมด ๔,๐๐๐ บาท (สี่พันบาทรอบคอบ)

พ.ศ. ประชุมหารือได้รับบริจาคสร้างส้วมจำนวน ๓ ที่นั่งและฝาปิดช่องแคบเป็นเงิน ๖,๘๐๐ บาท

พ.ศ. เหยียบย่ำนายเกตุทางลาดเงิน ๓,๐๐๐ บาทสร้างเสาธง

พ.ศ. เบี้ยแก้นายวินเพชรสงค์เงิน ๓,๗๐ บาทสร้างป้ายชื่อโรงเรียน

พ.ศ.๒๕๑๕ ได้ขยายพื้นที่โรงเรียนโดยการซื้อที่ดินเพิ่มพื้นที่ ๓ งานราคา ๒,๐๐๐ บาท และสร้างอาคารเรียนเพิ่ม เป็นแบบ ป ๑ ขนาด ๒ ห้องเรียน พื้นที่ ๑๖ X๘ เมตรสิ้นเงิน ๑๗,๕๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน)

พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ๐๐๔ ขนาด ๘ ห้องเรียนโดยแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๒๐

พ.ศ.๒๕๑๙ ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู ๑ หลัง

พ.ศ.๒๕๒๑ ส่งโรงเรียนเข้าประกวดโรงเรียนดีเด่น ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับอำเภอ และรางวัลที่ ๒ ระดับจังหวัดได้รับเงินรางวัล ๑,๕๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๒๓ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๓ โรงเรียนได้โอนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ.๒๕๒๔ นายร่วง เศรษฐพงศ์ เกษียณราชการ นายสนธิ์ สุวรรณเกษา มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และได้ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ๑ หลัง เป็นเงิน ๓๕,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๒๗ นายสนธิ์ สุวรรณเกษา ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนวัดแจ้ง และได้แต่งตั้งนายสวาท เรืองพริ้ม มาดำรงตำแหน่ง

พ.ศ. ๒๕๒๙ นายสวาท เรืองพริ้ม ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านท่าช้าง ทางราชการจึงย้ายนายประจวบ ส่งแสง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านควนประกอบ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนวัดท่าสำเภาใต้ ในปีนี้ไดมีการปรับพื้นที่ภายในโรงเรียนพร้อมทั้งจัดสร้างที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำสถานศึกษา

พ.ศ. ๒๕๓๕ ทางราชการย้ายนายประจวบ ส่งแสง ไปเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดสุวรรณวิหารน้อย และย้ายนายจิต ขาวขำ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดชายคลอง มาดำรงตำแหน่งโรงเรียนนี้เมื่อ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และในปีนี้ได้เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนจาก ๓ ภาคเรียน เป็น ๒ ภาคเรียน

พ.ศ. ๒๕๓๖ พระครูวิสุทธิ์กิติยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดกิตติสังฆาราม(วัดกะตะ) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ได้บริจาคอาคารเรียนแบบ ป ๑ ก จำนวน ๔ ห้องเรียน เพื่อนำมาซ่อมอาคารชั่วคราวจำนวน ๒ ห้องเรียนและต่อเติมอีก ๓ ห้องเรียน รวมเป็น ๕ ห้องเรียน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๔๑ นายจิต ขาวขำ เกษียณราชการ ทางราชการได้แต่งตั้ง นายผาด เทวยุรัง มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และได้ปรับปรุงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้อำนวยการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔

พ.ศ. ๒๕๔๘ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ตลอดจนศิษย์เก่าระดมเงินจัดสร้างอาคารห้องสมุด ๑ หลัง เป็นเงิน ๓๔๐,๐๐๐ บาท(สามแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)

วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ ทางราชการได้ย้ายนายผาด เทวยุรัง ไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโคก

ชะงายและย้ายนายวิโชติ วิเวกอรุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาโหนด มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดท่าสำเภาใต้

ปีการศึกษา ๒๕๕๐ เปิดทำการศึกษามีนักเรียน ๑๒๔ คน ครู ๑๐ คน ครูอัตราจ้าง ๒ คน ปีนี้ได้มีการปรับปรุงปูกระเบื้องห้องเรียน อาคารเรียนจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน งบประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๐ จัดกิจกรรมระดมทุนจากศิษย์เก่า ได้เงิน ๓๔๐,๐๐๐ บาท ได้ปรับปรุงบริเวณ ดังนี้ จัดสร้างศาลาที่พัก ๒ หลัง เงิน ๖๐,๐๐๐ บาทกั้นรั้วโรงเรียนเป็น คาน เสา คอนกรีต กั้นลวดหนามด้านทิศตะวันออก เงิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท ปรับปรุงอาคารอเนกประสงค์ซึ่งชำรุดใช้การไม่ได้เป็นโรงอาหารใช้เงิน ๑๒๐, ๐๐๐ บาท ปรับปรุงอาคารวิสุทธิกิติยาภรณ์ ด้วยการปูพื้นกระเบื้อง ใช้เงิน ๘๐,๐๐๐ บาท

ปีการศึกษา ๒๕๕๑ เปิดทำการศึกษามีนักเรียน ๑๑๐ คน ครู ๑๐ คน ครูอัตราจ้าง ๒ คน ได้ปรับปรุงพื้นที่ทิศตะวันออกเป็นถนนเพื่อไปโรงอาหารโดยจัดทำเป็นถนนคอนกรีต กว้าง ๔.๒๐ เมตร ยาว ๔๔ เมตร เงิน ๔๙,๐๐๐ บาท จัดทำที่แปรงฟันสำหรับนักเรียนเพิ่มเติมด้านหลังอาคารวิสุทธิกิติยาภรณ์ เงิน ๓๕,๐๐๐ บาท ได้รับบริจาคเงินจัดทำเรือนเพาะชำ ๑ หลัง เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท ปีนี้มีครูออกจากราชการ ๒ คน

ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เปิดทำการสอนมีนักเรียน ๑๐๙ คน ครู ๘ คน ครูอัตราจ้าง ๒ คน พนักงานบริการ ๑ คน ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑ คน ปีนี้ได้ปรับปรุงบริเวณด้วยการจัดทำถนนคอนกรีตหน้าอาคารเรียนกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๑๗ เมตร เป็นเงิน ๒๗๐,๐๐๐ บาท

ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เปิดทำการสอนมีนักเรียน ๙๕ คน ครู ๘ คน ครูอัตราจ้าง ๑ คน พนักงานบริการ ๑ คน ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑ คน ปีนี้มีครูลาออกจากราชการ ๒ คนทำให้ระหว่างปีมี ครูประจำการ ๖ คน รวมทั้งผู้บริหาร ดังนั้น อาจารย์จุไรรัตน์ บำรุงรัตน์ ซึ่งได้ขอลาออกจากราชการในปีนี้ ได้อยู่ช่วยปฏิบัติงานสอนต่อไปโดยมีรับค่าตอบแทน โรงเรียนได้ปรับปรุงอาคารเรียน ๒ ชั้นแบบ ๐๐๔ เนื่องจากชำรุดโดยเปลี่ยนฝาห้องและเพดานห้องเรียน ใช้งบประมาณ ๑๖๗,๐๐๐ บาท และได้จัดงานชุมนุมศิษย์เก่าได้รับเงิน ๔๒๐,๐๐๐ บาท

ปีการศึกษา ๒๕๕๔ เปิดทำการสอนมีนักเรียน ๙๗ คน ครู ๖ คน ครูอัตราจ้าง ๑ คน พนักงานบริการ ๑ คน ครูเกษียณราชการช่วยสอน ๒ คน คือ นายภูวดล ชูกลิ่น และนางจุไรรัตน์ บำรุงรัตน์ ปีนี้ได้ปรับปรุงระบบสื่อการสอนด้วยการจัดติดตั้งระบบโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในทุกห้องเรียน งบประมาณ ปรับปรุงห้องโสตทัศนูปกรณ์ งบประมาณ ๒๔๐,๐๐๐ บาท และได้รับงบประมาณจากโครงการไทยเข้มแข็งจัดสร้างอาคารเรียนแบบ สปช ๑๐๕/๒๙ ปรับปรุงพิเศษ ๒ ชั้น ๔ ห้องเรียนใต้ถุนโล่ง ๑ หลัง งบประมาณ ๒,๙๗๐,๐๐๐ บาท