เลี้ยงสัตว์ตำบลบึงน้ำรักษ์

การเลี้ยงวัว

การเลือกพื้นที่วัว

1.พื้นที่ การเลี้ยงวัวต้องใช้พื้นที่ในการเลี้ยง วัวเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ ดังนั้นคุณจะต้องเตรียมพื้นที่ในการเลี้ยงให้เหมาะสม ถ้าหากเป็นชาวบ้านก็จะเลี้ยงปล่อยตามทุ่งนาทั่วไป ซึ่งต้องมีคนเฝ้าและดูแลวัวตลอดทั้งวัน แต่ถ้าหากเราจะเลี้ยงเป็นฟาร์มก็ต้องมีพื้นที่ ทั้งทำคอก ปลูกหญ้า ต่างๆ เพื่อใช้เลี้ยงวัวที่ท่านหามา

การเลือกพันธุ์วัว

2. พันธุ์วัว สิ่งต่อมาที่ท่านต้องเตรียมก็คือพันธุ์วัว เพราะเราต้องรู้ก่อนว่าจะเลี้ยงวัวพันธุ์อะไร เลี้ยงเพื่อไปขายที่ไหน วัวมีด้วยกันหลายสายพันธุ์แบ่งเป็นง่ายๆก็ วันพันธุ์เนื้อและวัวนม ในที่นี้ขอยกตัวอย่างวัวพันธุ์เนื้อพื้นเมืองของไทยเราน่ะครับ

วัวพื้นเมือง

วัวพื้นเมืองของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับวัวพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ แต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อนและอาจ มีสีประรวมอยู่ด้วยเพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 300-350 ก.ก. เพศเมีย 200-250 ก.ก.

ลูกวัวเป็นผลผลิตหลักของการเลี้ยงแม่วัวเนื้อ การเลี้ยงวัวเนื้อจะให้ได้กำไรจะต้องสามารถผลิตลูกวัวให้ได้จำนวนมาก เช่น แม่วัวสามารถให้ลูกได้ปีละตัว เมื่อหย่านมลูกวัวมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดจึงจะขายได้ราคาดี การที่จะสามารถทำกำไรได้ดีดังกล่าวจะต้องเริ่มตั้งแต่เลือกพันธุ์ที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบหรือวิธีการจัดการเลี้ยงดู ให้อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของวัวระยะต่างๆ และมีการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม

การเลี้ยงแพะ

การเลี้ยงแพะ สัตว์เลี้ยงที่ได้ผลผลิตหลายอย่าง การเลี้ยงแพะขายได้ทั้งเนื้อ นม หนัง และขน แต่การเลี้ยงแพะในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังขาดข้อมูลบางอย่างทำให้ผลผลิตได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น แพะ สัตว์ที่หลายคนคิดว่ากลิ่นเหม็นสาบ สกปรก ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยง ใครจะคิดบ้างว่า แพะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใช้เลี้ยงทดแทนโค – กระบือ และยังมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากอีกด้วย ข้อดี-ข้อเสียของการเลี้ยงแพะมีดังนี้

  • เลี้ยงแพะใช้ระยะเวลาสั้นกว่าเลี้ยงวัว

  • แพะหากินเก่ง และกินใบไม้ได้หลายชนิด

  • แพะทนทานต่อทุกสภาพอากาศ

  • แพะมีขนาดตัวเล็ก ใช้พื้นที่น้อย จัดการง่าย

  • แพะให้ผลผลิตได้ทั้งเนื้อ นม หนังและขน

สายพันธุ์แพะ

สำหรับพันธุ์ของแพะที่นิยมนำมาเลี้ยงมีหลายประเภท แต่สายพันธุ์ที่กรมปศุสัตว์วิจัยและปรับปรุงพันธุ์ให้สามารถเลี้ยงได้ในประเทศไทย มี 7 พันธุ์ดังนี้

  • แพะพันธุ์พื้นเมือง แพะพันธุ์พื้นเมืองในภาคใต้ มีสีหลากหลาย ส่วนใหญ่พบว่ามีสีดำ น้ำตาล หรือน้ำตาลสลับดำ แพะโตเต็มที่เพศเมียนมีความสูงตรงปุ่มหน้าขาประมาณ 48.5 ซม. มีน้ำหนักตัวประมาณ 12.8 – 16.4 กก. แพะพันธุ์พื้นเมืองไทยมีลักษณะคล้ายกับแพะพันธุ์กัตจัง (Kambing Katjang) พันธุ์พื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย

  • แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน (Anglonubian) เป็นแพะที่ให้ทั้งเนื้อและนม มีหลายสี ทั้งสีเดียวในตัวและสีด่างปัน สันจมูกเป็นเส้นโค้ง ใบหูยาวปรกลง นำเข้ามาเลี้ยงและขยายพันธุ์ในไทยกว่า 20 ปี

  • แพะพันธุ์บอร์ (Boer) เป็นแพะพันธุ์เนื้อขนาดใหญ่ จากประเทศแอฟริกาใต้ มีลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง ใบหูยาวปรก นำเข้ามาเมื่อปลายปี 2539

  • แพะพันธุ์ซาเนน (Saanen) เป็นแพะพันธุ์นม สีขาวทั้งตัว หูใบเล็กตั้ง หน้าตรง

  • แพะพันธุ์หลาวซาน (Laoshan) เป็นแพะพันธุ์นม จากประเทศจีน มีลักษณะคล้ายพันธุ์ซาเนน

  • แพะพันธุ์อัลไพน์ (Alpine) เป็นแพะพันธุ์นม สีน้ำตาลหรือดำ ใบหูเล็กตั้ง หน้าตรง มีแถบสีข้างแก้ม

  • แพะพันธุ์ทอกเก็นเบิร์ก (Toggenburg) เป็นแพะพันธุ์นม ลำตัวสีช็อกโกแบต ใบหูตั้ง หน้าตรง มีแถบสีขาวข้างแก้ม