ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้

ศูนย์กีฏวิทยาป่าไม้ที่ 1 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของแมลงต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบนิเวศ เช่น กลุ่มผีเสื้อกลางวัน และ ผีเสื้อกลางคืนบางชนิด ชนิดพรรณไม้ที่ปลูกจำนวนกว่า 50 ชนิด ชนิดผีเสื้อ ลักษณะตัวหนอน และพืชอาหาร ซึ่งผีเสื้อกลางวันมักมีพืชอาหารเฉพาะ การจัดการเรื่องพืชอาหาร แสดงวิธีตัดแต่งทรงพุ่มให้เตี้ย ขยายทรงพุ่มโดยการโน้มกิ่งและเด็ดยอดทิ้ง เพื่อให้ตาข้างของกิ่งแตกยอด ซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมนพืชในการควบคุมการเจริญเติบโตของต้นไม้ เส้นทางศึกษาธรรมชาติจัดเป็นสวนผีเสื้อแบบเปิด ซึ่งมีการปลูกพืชที่มีดอก และพืชที่เป็นพืชอาหารของผีเสื้อที่น่าสนใจ ทำให้ความหลากหลายของชนิดของผีเสื้อมากกว่าในคุ้มผีเสื้อ การศึกษาวงจรชีวิตของแมลงคุ้มครอง เช่น ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายตรง แมลงหายากบางชนิด แมลงที่ใช้ในการควบคุมศัตรูพืช เช่น มวนเพชฌฆาต และมวนพิฆาต รวมทั้ง แมลงที่มีค่าทางเศรษฐกิจบางชนิด องค์ความรู้ที่สามารถนำเสนอได้ เช่น การเพาะเลี้ยง หนอนผีเสื้อหางยาว ผีเสื้อไหมป่า ผีเสื้อถุงทอง ด้วงชนิดต่างๆ มวนเพชฌฆาต และ จิ้งโกร่ง การศึกษาด้านการผสมพันธุ์แบบเลือดชิด (Inbreeding) ของผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายตรง การเพาะเลี้ยงมวนเพชฌฆาต เพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชสวนป่า โดยเฉพาะหนอนกินใบสัก ซึ่งเดิมศูนย์ฯแห่งนี้ มีภาระหน้าที่ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชป่าไม้ การใช้มวนเพชฌฆาต จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่เลือกใช้ แต่ปัจจุบัน ได้เพาะเลี้ยงเพื่อการสาธิตเท่านั้น การทดลองเพาะเลี้ยงจิ้งกุ่ง หรือ จิ้งโกร่ง ปัจจุบันได้ข้อมูลเกี่ยวกับวงจรชีวิตของแมลงชนิดนี้แล้ว แม้ว่าการเพาะเลี้ยง ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ แต่หากมีการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงอย่างเหมาะสม ก็อาจนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเลี้ยงเป็นรายได้เสริม โดยพัฒนาขั้นตอนการอนุบาลตัวอ่อนให้มีอัตราการรอดตายสูง และมีระยะตัวอ่อนที่เหมาะสม หลังจากนั้นนำไปปล่อยในร่องสวนผลไม้ที่มีคูน้ำโดยรอบ ให้เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติ ซึ่งจะทำการศึกษาต่อไปในภายหลัง การศึกษา สำรวจ และวิจัยทางกีฏวิทยาป่าไม้ เช่น อุปกรณ์สำรวจแมลงบิน อุปกรณ์สำรวจแมลงผิวดิน อุปกรณ์สำรวจแมลงน้ำ และ อุปกรณ์คัดแยก แมลงกับดักมุ้ง เช่น กับดักแสงไฟ (Light trap) กับดักมาเลส (Malaise trap) กับดักบินชน (Flight intercept trap) กับดักผีเสื้อกลางวัน (Butterfly trap) กับดักถาด (Pan trap) ถาดเก็บแมลงในทรงพุ่ม (Beating tray) กับดักฟีโรโมน (Pheromone trap) กับดักหลุม และ ถุงแยกแมลงแบบ winkler