ข้อมูลชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน

คำขวัญประจำตำบลทุ่งรวงทอง

"พระธาตุม่อนหินขาวเป็นสง่า น้ำพริกข่ารสดี

ประเพณีงดงาม ลือนามข้าวหอมมะลิ"

1. ข้อมูลตำบลทุ่งรวงทอง

1.1สภาพทางกายภาพ

1) ขนาดพื้นที่ ตำบลทุ่งรวงทอง มีพื้นที่ประมาณ 48,722 ไร่ หรือประมาณ 77.95 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่อยู่อาศัย 26,464 ไร่ พื้นที่สาธารณะ 1,588 ไร่ พื้นที่ป่า 7,743 ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่ไม่ได้จำแนก 12,927 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

2) ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ

- พิกัดจาก Google map ของตำบล 19.5045779,100.0893863 และ กศน. ตำบล 19.451157, 100.1276823,


1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มและที่ราบเชิงเขา มีแม่น้ำอิงไหลผ่าน พื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรมการประมงและการเลี้ยงสัตว์

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน

ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน

ในปีที่ผ่านมา พ.ศ. 2564 เทศบาลตำบลทุ่งรวงทอง มีอุณหภูมิสูงสุด 42 องศาเซลเซียสและมีอุณหภูมิต่ำสุด 8 องศาเซลเซียส มีฝนตก 47 วัน ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 638 มิลลิเมตร

1.4 ลักษณะของดิน

ทรัพยากรดินโดยทั่วไปของตำบลทุ่งรวงทอง สามารถแบ่งตามลักษณะภูมิประเทศออกเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ 4 ลักษณะดังนี้

1. ดินภูเขา เป็นดินตื้นที่เกิดจากสลายตัวของหินภูเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดินลักษณะนี้แพร่กระจายอยู่ทางทิศตะวันออกของตำบลทุ่งรวงทอง มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา

2. ดินเหนียว เป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่น้ำพัดพามา จึงพบตามบริเวณที่ราบลุ่มน้ำอิง ดินชนิดนี้เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง

3. ดินค่อนข้างใหม่ ดินชนิดนี้เกิดในลักษณะเดียวกับดินเหนียว แต่ลักษณะดินเป็นดินร่นหรือดินทราย พบตามบริเวณที่ราบขั้นบันได ความอุดมสมบูรณ์ของดินลักษณะนี้อยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ

4. ดินตะกอนเก่า เป็นดินที่เกิดในลักษณะเดียวกับดินเหนียวเช่นกัน แต่มีการสะสมตัวของอนุภาคดินในระยะเวลาที่น้อยกว่าดินเหนียว แต่นานกว่าดินค่อนข้างใหม่ และลักษณะดินก็เป็นดินร่วนหรือดินทราย เช่นเดียวกับดินค่อนข้างใหม่ ดังนั้นจึงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ ดินตะกอนเก่านี้จะพบอยู่ในบริเวณที่ราบขั้นบันได เป็นส่วนใหญ่

1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

แหล่งน้ำธรรมชาติ

ลำห้วย 13 สาย

บึงหนอง 2 แห่ง

ลำน้ำ 4 สาย

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

ฝายและพนังกั้นน้ำ 21 แห่ง

บ่อน้ำตื้น 79 แห่ง

บ่อบาดาล 35 แห่ง

อ่างเก็บน้ำ 5 แห่ง

1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้

ป่าไม้ มีพื้นที่ป่าประมาณ 6,637 ไร่ ประมาณร้อยละ 18 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ และป่าไม้เบญจพรรณกระจายอยู่ทั่วไป หมู่บ้านที่มีป่าไม้หนาแน่นได้แก่ บ้านห้วยไคร้ บ้านน้ำริน บ้านห้วยงิ้ว บ้านห้วยสารภี และบ้านห้วยบง ไม้ที่สำคัญคือไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้ยาง ไม้เต็ง และไม้รัง เป็นต้น

2. ด้านการเมือง / การปกครอง

2.1 เขตการปกครอง

- ทิศเหนือติดต่อกับเขตตำบลทุ่งรวงทอง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา โดยถือกึ่งกลางลำน้ำอิงตลอดแนว เป็นแนวแบ่งเขต

- ทิศใต้ติดต่อกับเขตตำบลห้วยยางขาม อำเภอจุน จังหวัดพะเยา โดยถือตีนเขาโจ้โก้และผ่านกึ่งกลางห้วยม้าตาย ผ่านสันเขาห้วยห้าเป็นแนวแบ่งเขต

- ทิศตะวันออกติดต่อตับเขตตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดยถือสันเขาห้วยห้า ผ่านกึ่งกลางห้วยบงไปสิ้นสุดที่กึ่งกลางลำน้ำอิง เป็นแนวแบ่งเขต

- ทิศตะวันตกติดต่อกับเขตตำบลลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา โดยถือกึ่งกลางลำน้ำร่องแฟนตลอดแนวเป็นแนวแบ่งเขต

- ตำบลทุ่งรวงทอง มีเนื้อที่โดยประมาณ 41,875 ไร่ (67 ตารางกิโลเมตร)

2.2 การเลือกตั้ง

เทศบาลตำบลทุ่งรวงทอง เป็นเทศบาลตำบลขนาดกลาง มีเขตปกครอง 13 หมู่บ้าน ประชากร จำนวน 7,842 คน โดยมีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง คือ ระบบการปกครองท้องถิ่นที่เปิดโอกาสให้ ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ สามารถเลือกตั้งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน เขตท้องถิ่นของตนได้โดยตรง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 เขต 13 หน่วยเลือกตั้ง

3. สภาพทางสังคม - ประชากร

1) จำนวนครัวเรือน, จำนวนประชากร


3) ศาสนา ส่วนใหญ่ประชากรตำบลทุ่งรวงทอง นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 96 % รองลงมานับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 4.16 % ตามลำดับ

4) ชาติพันธุ์ ส่วนใหญ่ประชากรตำบลทุ่งรวงทองเป็นชาติพันธุ์เป็นคนพื้นเมือง

5) ระดับการศึกษา

4. สภาพทางสังคม

4.1 การศึกษา

โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง

โรงเรียนมัธยม 2 แห่ง

ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 6 แห่ง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5 แห่ง

4.2 สาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง

อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ 100 เปอร์เซ็นต์

4.3 อาชญากรรม

ในปีงบประมาณปีงบประมาณ 2563 ตำบลทุ่งรวงทองไม่มีคดีทางอาชญากรรมใดๆ

4.4 ยาเสพติด

สถานการณ์ปัญหาเชิงประเด็นยาเสพติดของตำบลทุ่งรวงทอง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ในปีงบประมาณ 2563 มีรายชื่อผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด จำนวน 8 ราย และมีคดีเกี่ยวกับการค้าหรือเสพยาเสพติด จำนวน 7 ราย แต่ทางหน่วยงานภาครัฐและชุมชนช่วยกันปราบปราม ป้องกัน มีการจัดตั้งชุดรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน

4.5 สังคมสงเคราะห์

การวิเคราะห์สภาพปัญหาทางสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในด้านสังคมสงเคราะห์ของตำบลทุ่งรวงทอง ปัญหาเชิงประเด็นสังคมด้านการมีงานทำและรายได้น้อย ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย และปัญหาสังคมเชิงกลุ่มเป้าหมายด้านเด็กและเยาวชน ด้านครอบครัว ด้านสตรี ด้านผู้สูงอายุ ด้านคนพิการ และด้านแรงงาน ทางสำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งรวงทองโดยงานพัฒนาชุมชน ได้ประสานงานขอรับงบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพะเยาดังนี้

๑. ทุนการศึกษามูลนิธิอาสาสมัครนานาชาติช่วยงานสังคมสงเคราะห์ (ISGF) จำนวน 18 ราย

๒. ทุนการศึกษามูลนิธิราชประชาสมาลัย จำนวน 3 ราย

๓. ทุนการศึกษาองทุนคุ้มครองเด็ก จำนวน 10 ราย

๔. ทุนการศึกษาครอบครัวอุปถัมภ์ จำนวน 13 ราย

๕. ทุนการศึกษากรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ จำนวน 10 ราย

๖. ทุนซ่อมแซมบ้านกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ จำนวน 2 ราย

๗. ทุนซ่อมแซมบ้านกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัดพะเยาจำนวน 1 ราย

และในส่วนงบประมาณจากเทศบาลตำบลทุ่งรวงทอง ได้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน เมื่อปี พ.ศ. 2554 ที่ช่วยเหลือประชานชนที่เป็นสมาชิกกองทุน โดยมีสวัสดิการ คือ เงินช่วยเหลือค่านอนรักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือคลอดบุตร และช่วยเหลือกรณีเสียชีวิต

5. ระบบบริการพื้นฐาน

5.1 การคมนาคมขนส่ง

ถนนติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ระหว่างตำบล เข้าสู่อำเภอเป็นถนนลาดยาง ถนนในหมู่บ้านเป็นถนนดินลูกรังและหินคลุก ซึ่งมีฝุ่นมากและเป็นหลุมเป็นบ่อการสัญจรยังไม่สะดวก ถนนสู่พื้นที่ในการเกษตรก็ยังไม่ดีพอ

5.2 การไฟฟ้า

มีไฟฟ้าเข้าถึงหมู่บ้าน จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้าแทบทุกหลังคาเรือน แต่บางหลังคาเรือนยัง อาศัยไฟโดยการต่อพวงกับบ้านใกล้เคียงเนื่องจากเสาไฟเข้าไม่ถึงมีไฟฟ้าใช้ จำนวน ทุกหลังคาเรือน

5.3 การประปา

มีประปาเข้าถึงหมู่บ้าน จำนวนประชากรที่ใช้ประปาแทบทุกหลังคาเรือน

5.4 โทรศัพท์

ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 31 แห่ง

5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสาร

ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเอกชน 1 แห่ง

6. ระบบเศรษฐกิจ

6.1 การเกษตร

ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพในการทำนา 75%

อาชีพทำไร่/ทำสวน 5%

6.2 การประมง

ไม่มี

6.3 การปศุสัตว์

อาชีพเลี้ยงสัตว์ 5%

6.4 การบริการ

-ไม่มี

6.5 การท่องเที่ยว

ตำบลทุ่งรวงทอง มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติ โบราณและประวัติศาสตร์ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมประเพณี โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญดังนี้

1. แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อ่างเก็บน้ำห้วยสารภี อ่างเก็บน้ำห้วยงิ้ว ลำน้ำร่องแมด

2. แหล่งท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณสถาน เช่น พระธาตุม่อนหินขาว

3. กิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น งานสรงน้ำพระธาตุม่อนหินขาว งานแห่เทียนพรรษา งานแห่ต้น กระธูป งานแห่ไม้ค้ำแคร่ งานสืบสานตำนานไทลื้อ

6.6 อุตสาหกรรม

พื้นที่ในตำบลทุ่งรวงทอง มีอุตสาหกรรมโรงสีข้าวขนาดใหญ่ จำนวน 2 แห่ง

6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

ปั๊มน้ำมัน 7 แห่ง­­

โรงสีข้าว 6 แห่ง

โรงเผาอิฐ 1 แห่ง

โรงงานสร้างบล๊อค, ท่อ คสล.,เสา 2 แห่ง

ร้านขายของชำทั่วไป 31 แห่ง

โรงอบลำไย - แห่ง

ร้านขายวัสดุก่อสร้าง 1 แห่ง

ร้านอาหาร 11 แห่ง

ร้านกาแฟ 4 แห่ง

ร้านบริการล้างรถ 3 แห่ง

ร้านบริการอินเตอร์เน็ต 4 แห่ง

ร้านเสริมสวย 8 แห่ง

ร้านขายเกลือ 1 แห่ง

โรงผลิตน้ำดื่ม 3 แห่ง

บ้านเช่า 9 แห่ง

โรงกลั่นสุรา 3 แห่ง

ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ 1 แห่ง

โรงปั่นที่นอนนุ่น 3 แห่ง

ร้านรับซื้อของเก่า 2 แห่ง

มีสหกรณ์ร้านค้าชุมชน 3 แห่ง

กลุ่มอาชีพในตำบลทุ่งรวงทอง มี จำนวน 65 กลุ่ม สนับสนุนให้ความช่วยเหลืองบประมาณแล้วจำนวน 30 กลุ่ม ต้องการความช่วย

เหลืออีก 35 กลุ่ม งบประมาณ 300,000 บาท

6.8 แรงงาน

ภาพรวมผู้มีงานทำมีแนวโน้มลดลงเกือบทุกวุฒิ การศึกษาโดยวุฒิการศึกษาที่ทำงานในตลาดแรงงานลดลงคือระดับต่ำกว่าประถมศึกษา รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ และระดับประถมศึกษา สะท้อนในเห็นว่าในอนาคตมีแนวโน้มที่จะขาดแรงงานในวุฒิการศึกษาในระดับนี้ สำหรับวุฒิการศึกษาที่อยู่ในตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นคือ วุฒิปริญญาตรี มัธยมศึกษาตอนต้นและสายอาชีวศึกษา สะท้อนให้เห็นว่าผู้ที่มีวุฒิการศึกษาเหล่านี้มีการออกหางานทำ และเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น

7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน

ประกอบด้วย 13 หมู่บ้าน คือ บ้านห้วยไคร้ หมู่ที่ 1,บ้านห้วยงิ้ว หมู่ที่ 2,บ้านห้วยบง หมู่ที่ 3,บ้านร่องแมด หมู่ที่ 4,บ้านสันหลวง หมู่ที่ 5,บ้านห้วยงิ้วใหม่ หมู่ที่ 6,บ้านร่องแมดใหม่ หมู่ที่ 7,บ้านห้วยไคร้ใหม่ หมู่ที่ 8,บ้านทุ่งรวงทอง หมู่ที่ 9,บ้านสันหลวงใหม่ หมู่ที่ 10,บ้านร่องแมดสันติสุข หมู่ที่ 11,บ้านห้วยสารภี หมู่ที่ 12,บ้านน้ำริน หมู่ที่ 13

7.2 ข้อมูลด้านการเกษตร

ประชากรส่วนใหญ่มีการทำนา 75 % ทำไร่/ทำสวน 5 % เลี้ยงสัตว์ 5 %

7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร

แหล่งน้ำธรรมชาติ มีลำห้วย 13 สาย, บึงหนอง 2 แห่ง, ลำน้ำ 4 สาย

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น มีฝายและพนังกั้นน้ำ 21 แห่ง, บ่อน้ำตื้น 79 แห่ง, อ่างเก็บน้ำ 5 แห่ง

7.4 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)

แหล่งน้ำกิน น้ำใช้ในตำบล คือ ประปาบาดาล 35 แห่ง, ประปาผิวดิน 4 แห่ง

8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

8.1 การนับถือศาสนา

ตำบลทุ่งรวงทอง มีสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งสิ้น 11 แห่ง ประกอบด้วยวัด จำนวน 8 แห่ง สำนักสงฆ์ จำนวน 3 แห่ง

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 7,817 คน คิดเป็น ร้อยละ 99.68 รองลงมานับถือศาสนาคริสต์ จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 0.32

8.2 ประเพณีและงานประจำปี

ตำบลทุ่งรวงทอง มีการดำเนินงานจัดกิจกรรมประเพณีวัฒนธรรม 12 เดือน เช่น งานสรงน้ำพระธาตุม่อนหินขาว งานแห่เทียนพรรษา งานแห่ต้นกระธูป งานแห่ไม้ค้ำแคร่ งานสืบสานตำนานไทลื้อ งานสืบชะตาหมู่บ้าน งานบวงสรวงเจ้าพ่อเสือ งานบวงสรวงเจ้าพ่ออาฮักคำเขียว งานบวงสรวงเจ้าพ่อคำแดง

8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

ภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น มี 3 เชื้อชาติ คือ ล้านนา อีสาน ไทลื้อ

8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

สินค้า OTOP เช่น น้ำพริกข่า ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว สื่อกก เปลนอนไม้ไผ่ ข้าวหอมมะลิ

9. ทรัพยากรธรรมชาติ

9.1 น้ำ

ลำห้วย 13 สาย

บึงหนอง 2 แห่ง

ลำน้ำ 4 สาย

ฝายและพนังกั้นน้ำ 21 แห่ง

บ่อน้ำตื้น 79 แห่ง

บ่อบาดาล 35 แห่ง

อ่างเก็บน้ำ 5 แห่ง

9.2 ป่าไม้

ตำบลทุ่งรวงทองส่วนที่มีสภาพเป็นพื้นที่ป่าประมาณ 6,637 ไร่ ประมาณร้อยละ 18 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยประเภทของป่าที่พบส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เบญจพรรณ ร้อยละ 78.4 และป่าดงดิบ ร้อยละ 27.6 กระจายอยู่ทั่วไป หมู่บ้านที่มีป่าไม้หนาแน่นได้แก่ บ้านห้วยไคร้ บ้านน้ำริน บ้านห้วยงิ้ว บ้านห้วยสารภี และบ้านห้วยบง ไม้ที่สำคัญคือไม้สักไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้ยาง ไม้เต็ง และไม้รังเป็นต้น

9.3 ภูเขา

เขาโจ้โก้ เขาห้วยห้า

9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

ตำบลทุ่งรวงทอง มีแหล่งทุนทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย พร้อมหนุนเสริมปัจจัยการผลิตและการดำรงชีพของประชาชนได้ในบาง

ส่วน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1) ทรัพยากรป่าไม้

ตำบลทุ่งรวงทองส่วนที่มีสภาพเป็นพื้นที่ป่าประมาณ 6,637 ไร่ ประมาณร้อยละ 18 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยประเภทของป่าที่พบส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เบญจพรรณ ร้อยละ 78.4 และป่าดงดิบ ร้อยละ 27.6 กระจายอยู่ทั่วไป ส่วนป่าเสื่อมโทรม ป่าแดง และ/หรือป่าเต็งรัง และ/หรือป่าโคก และ/หรือป่าแพเสื่อมโทรม สวนป่าผสม สวนป่า ป่าไผ่ พบประปรายในพื้นที่โดยรวมร้อยละ 2.77

2) ทรัพยากรน้ำ

ตำบลทุ่งรวงทองตั้งอยู่ในลุ่มน้ำอิงซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง ในลุ่มน้ำโขงตอนกลางโดยครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ 1,838 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณน้ำตามธรรมชาติ 847 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับแหล่งน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลในพื้นที่ตำบลทุ่งรวงทองบริเวณแอ่งเชียงราย–พะเยา–แม่สาย มีสภาพทางธรณีวิทยาประกอบด้วยชั้นน้ำ 3 ชั้นได้แก่ชั้นน้ำบาดาลในตะกอนน้ำพายุคปัจจุบันตะกอนน้ำพายุคเก่าและตะกอนลานตะพักลำน้ำระดับสูง

3) แหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญของตำบลทุ่งรวงทอง

“แม่น้ำอิง” มีต้นกำเนิดจากดอยหลวงอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอแม่ใจ ลำน้ำส่วนหนึ่งไหลไปรวมกันที่หนองเล็งทราย ทำให้เกิดเป็นแหล่งน้ำอิงแล้วไหลลงสู่กว๊านพะเยาและไหลลงสู่ลำน้ำโขงที่อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงรายมีความยาวรวมทั้งสิ้น 240 กิโลเมตร และมีความยาวของลำน้ำที่อยู่ในพื้นที่ตำบลทุ่งรวงทอง 30 กิโลเมตร

“ลำน้ำร่องขุ่น” มีต้นกำเนิดจากพื้นที่บ้านสันหลวงใหม่ หมู่ที่ 10 อยู่ทางทิศตะวันออกของตำบลทุ่งรวงทอง ลำน้ำส่วนหนึ่งไหลลงสู่ลำน้ำอิงที่ตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีความยาวรวมทั้งสิ้น 195 กิโลเมตร และมีความยาวของลำน้ำที่อยู่ในพื้นที่ตำบลทุ่งรวงทอง 71 กิโลเมตร

“ลำน้ำร่องแฟน” มีต้นกำเนิดจากป่าไม้แม่จุนอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอจุน ลำน้ำส่วนหนึ่งไหลลงสู่ลำน้ำอิงที่บ้านร่องแมด หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งรวงทอง มีความยาวรวมทั้งสิ้น 199 กิโลเมตร และมีความยาวของลำน้ำที่อยู่ในพื้นที่ตำบลทุ่งรวงทอง 119 กิโลเมตร

10. อื่นๆ

เทศบาลตำบลทุ่งรวงทองขอประกาศสงครามกับ “ปัญหาความยากจนในชุมชน”

ประกาศ วาระแห่งท้องถิ่น ประชาชนในตำบลทุ่งรวงทองช่วยเหลือตนเองได้ มีความเป็นอยู่ที่ดี ปลอดหนี้สิน

ตำบลทุ่งรวงทองมีระบบการสื่อสาร ระบบคมนาคมที่รวดเร็วและมีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง

ประชาชนในตำบลทุ่งรวงทองมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ประเพณีท้องถิ่นในตำบลทุ่งรวงทองได้รับการอนุรักษ์สืบทอด

ประชาชนในตำบลได้รับการบริการที่ดีและรวดเร็ว

1.5 ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนที่จำแนกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย

1) ด้านการรู้หนังสือ

2) ด้านการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สายสามัญ และ ปวช.)

3) ด้านอาชีพ

4) ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต

5)ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน

6) ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

7) ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย