จุดเด่นของหมู่บ้าน

ประเพณี/วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ :

ด้านภูมิปัญญา/วิถีชีวิต/วัฒนธรรม/ประเพณีพื้นบ้าน

ชาวไทยอีสานนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองมาแล้วแต่โบราณกาล หลายอย่างล้วนเป็นเอกลักษณ์ มีความเป็นตัวของตัวเองอันแสดงถึงความเป็นมาอย่างน่าภาคภูมิ เช่น มีภาษาพูดเป็นของตนเอง มีศิลปะด้านต่างๆเป็นของตนเองมีวรรณคดี ศิลปวัฒนธรรมและจารีตประเพณีเป็นของตนเอง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

ผู้เฒ่าผู้แก่จะเข้าวัดปฏิบัติธรรมในวันธรรมสวนะทุกครั้ง มีเด็กเยาวชนบ้างแต่ยังน้อย สิ่งที่กล่าวถึงมากที่สุดในความเป็นเอกของชาวอีสานคือ “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” คำว่า “ฮีต” เป็นภาษาไทยอีสาน หมายถึงจารีตประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน เมื่อถึงวาระและเดือนที่จะต้องประกอบพิธีกรรม แต่ละชุมชนจะต้องปฏิบัติเหมือนกัน เช่น บุญเข้ากรรม บุญกุ้มข้าว (บุญคูณลาน) บุญเผวส บุญสงกรานต์ บุญบั้งไฟ บุญเข้าพรรษา บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา บุญกฐิน ส่วนคำว่า “คอง” จะเป็นเหมือนบทบังคับให้ทุกคนต้องปฏิบัติตามไม่ว่าจะเป็นบุคคลระดับใดก็ตาม คลองจะมีความเข้มงวดมากกว่า “ฮีต” หากไม่ปฏิบัติและละเว้นก็จะถูกสังคมลงโทษตามฐานะน็น็น

บ้านบึงแก หมู่ที่ ๑ เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง ทำให้ง่ายต่อการพัฒนารวมทั้งการปกครองดูแล ทำได้อย่างทั่วถึง ผู้นำหมู่บ้านเข้มแข็งและประชาชนให้ความร่วมมือ ตลอดจนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านด้วยดี ประชาชนเกิดการเรียนรู้ในหลายๆเรื่อง เมื่อมีกิจกรรมใดๆเกิดขึ้นในชุมชน ผู้นำหมู่บ้านมีการจัดเวทีประชาคมเพื่อหาข้อสรุป ใช้มติจากที่ประชุมโดยวิธีประชาธิปไตยคือ ยึดเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมเป็นมติเอกฉันท์และมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในสมุดบันทึกการประชุมของหมู่บ้าน มีกลุ่ม/กองทุนต่างๆ เกิดขึ้นจากการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วย มีการบริหารจัดการเงินกองทุนต่างๆ ที่มีในหมู่บ้านอย่างเข้มแข็ง ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน

ประเพณีทำบุญตักบาตร วันขึ้นปีใหม่ และวันสำคัญต่างๆ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีบุญบั้งไฟประเพณีงานบุญเดือน ๔ ตามวิถีฮีตครอง (อนุรักษ์การทำข้าวเขียบโบราณ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น)

ประเพณีเลี้ยงศาลปู่ตา หมอสูตรขวัญ หมอดูดวง หมอลำ และงานปริวาสกรรม

ประเภทอาหารคาวเฉพาะถิ่น :

ประเภทอาหารหวานเฉพาะถิ่น :

จุดภาพถ่าย Landmark ในหมู่บ้าน

ธรรมชาติที่สวยงาม