แหล่งท่องเที่ยวภายในหมู่บ้าน

แหล่งท่องเที่ยวชุมชน

ในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว จะเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยทางผู้นำชุมชนร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และในส่วนของภาคีเครือข่ายก็จะทำหน้าที่อำนวยความสะดวก ประสานงาน ช่วยเหลือ เป็นพี่เลี้ยง และให้คำปรึกษา

และที่สำคัญต้องปลูกจิตสำนึกให้สมาชิกในชุมชนว่าการพัฒนาการท่องเที่ยวต้องคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม โดยการกำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชนและชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของมีสิทธิในการจัดการดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน โดยใช้กระบวนการ 5 เสน่ห์ เป็นแนวคิดหลักในการพัฒนา ประกอบด้วย

ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว

ภายในชุมชนมีแหล่งท่องเที่ยวให้ได้ไปเยือนหลากหลายรูปแบบ พร้อมทั้งยังมีทัศนียภาพที่สวยงามดึงดูดนักถ่ายรูปให้เข้าไปเก็บภาพและสูดบรรยากาศอันบริสุทธิ์ หรือหากอยากจะทำบุญไหว้พระ ชุมชนบึงแกก็มี "พระใหญ่มิ่งมงคล" ซึ่งประดิษฐาน ณ ปูชนียสถานโนนศาลา และ “วิหารหลวงปู่”ซึ่งประดิษฐาน ณ วัดโพธิกาญจนาราม หรือ อยากบนบานสารกล่าวเพื่อขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็มี “ศาลเจ้าปู่โนนสังข์” ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ให้ได้ไปไหว้ขอพรสักการะกันอีกด้วย (Surprise : มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าตื่นเต้น ประหลาดใจ และประทับใจ มีการดูแลรักษาที่ดี ชุมชนสะอาด มีการดูแลเรื่องความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว)

๑. ดอนปู่ตา

สังคมอีสานเคร่งครัดในรูปแบบของประเพณี พิธีกรรม เชื่อถือในเรื่อง บาป-บุญ คุณ-โทษ ขวัญ-วิญญาณ เทวดาอารักษ์ ตลอดจนผีสางนางไม้อย่างจริงจัง โดยมีการเซ่นสรวงบัดพลีตามฤดูกาลพร้อมกันนี้ การปฏิบัติภารกิจทางศาสนาด้วยความมั่นคงตามค่านิยมของชุมชน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ หรือแก้ไขปัญหาชีวิตที่พึงมี อันจะเป็นประหนึ่งภูมิคุ้มกันภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวงมิให้มากล้ำกรายตน หรือครอบครัวตลอดจนทุกชีวิตในชุมชน นอกจากนี้ยังได้แสดงถึงความกตัญญูเชิดชูคุณความดีของบรรพชนผู้กลายเป็นผีไปแล้วอีกด้วย

“บ้านบึงแก” เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม ที่สืบทอดมรดกจากบรรพชนมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยผูกพันกับธรรมชาติป่าวัฒนธรรมชุมชนอย่างเน้นเฟ้น ได้รับการสั่งสมแนวคิด ภูมิปัญญา ปลูกศรัทธา คติ ความเชื่อจนเป็นแบบแผนการดำรงชีวิตที่มีคุณค่า อันแสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดของทรัพยากรบุคคลและสังคมพื้นถิ่น คติความเชื่อเรื่อง “ผี” นั้น ชาวอีสานเชื่อกันว่า ผีมีอยู่สองกลุ่มใหญ่ กลุ่มหนึ่งเป็นผีประเภทแผ่คุณความดี ช่วยคุ้มครองปกป้องภัยพิบัติทั้งปวงที่จะมากล้ำกราย ตลอดจนดูแลรักษาชุมชนให้เกิดสันติสุข ขณะเดียวกันก็อาจบันดาลให้เกิดความเดือดร้อนยุ่งยากได้ หากผู้ใดล่วงละเมิดขาดความเคารพยำเกรง หรือมีพฤติกรรมอันไม่พึงปรารถนาของชุมชน กลุ่มผีดังกล่าวมีผีเจ้า ผีนาย ผีบ้าน ผีเรือน ผีเจ้าที่ ผีปู่ย่า ผีปู่ตา ผีตายาย ผีมเหสักข์ หลักเมือง ผีฟ้า ผีแถน ผีมด ผีหมอ ผีเจ้าปู่หลุบตา หรือผีที่ชาวบ้านนับถือเฉพาะถิ่นซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เป็นต้น ส่วนผีอีกกลุ่มหนึ่งเป็นผีร้ายที่คอยมุ่งทำลายล้าง เบียดเบียน ก่อความวุ่นวายสับสนให้เกิดโทษภัยอยู่เนืองๆ เช่น ผีปอบ ผีเปรต ผีแม้เล้ง ผีห่า เป็นต้น

เมื่อบ้านบึงแกได้ก่อตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นมา มีการสร้างบ้านเรือน โรง หอ หรือศาล (ตูบ) ไว้เป็นที่พำนักอาศัยของกลุ่มผีประเภทที่ให้คุณไว้เสมอ ณ บริเวณใกล้เคียง เพื่อเป็นที่พึ่งพิงสำหรับบูชาเซ่นสรวงสังเวยเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจ กลุ่มผีให้คุณที่ชาวอีสานดูจะให้ความเคารพศรัทธาค่อนข้างมากนั้นดูจะเป็น “ผีปู่ตา” ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มผีบรรพชน หรือกลุ่มผีประจำตระกูลที่ล่วงลับไปแล้วของชาวอาน แต่ดวงวิญญาณยังเป็นห่วงบุตรหลานอยู่จึงเฝ้าคอยดูแล รักษา คุ้มครอง ป้องกันภัยร้ายทั้งปวงที่จะเกิดขึ้นในชุมชนโดยมอบหมายกำหนดให้ “เฒ่าจ้ำ” ทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อประสานงานสื่อสารระหว่างผีบรรพชนกับชาวบ้าน ความเชื่อถือ ศรัทธาเรื่องผีบรรพชน หรือ “ผีปู่ย่าตายาย” ของชาวอีสานนั้นปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นประเพณีทุกท้องถิ่นชุมชน และดูเหมือนว่าชุมชนจะยึดมั่นเคารพในผีเพศชายเป็นสำคัญ จึงคงเหลือชื่อเป็น “ผีปู่ตา” หรือ “ผีตาปู่” ส่วน “ผีย่ายาย” นั้นกลับเลือนหายไป อย่างไรก็ตามการคงชื่อ “ปู่” และ “ตา” อาจมุ่งหวังเป็นบรรพชนทั้งฝ่ายบิดามารดา ให้ทัดเทียมกันด้วย “ปู่” เป็นญาติข้างฝ่ายชาย และ “ตา” เป็นญาติข้างฝ่ายหญิง

2.จารึกโนนสัง (จารึกโนนสังข์)

ศิลาจารึกนี้เป็นหินชนิดละเอียด (ลับมีด) เป็นรูปยาวรีแหลม ฝังอยู่ที่โนนสังข์ ทิศตะวันตกบ้านบึงแก ห่างบ้านประมาณ 20 เส้น อยู่ข้างขวาของทางหลวงสายอุบลฯ ไปอำเภอฟ้าหยาด อยู่ห่างทาง 3 วา ทางผ่านกลางโนน ปักหันหน้าหนังสือไปทางทิศตะวันตก ฝังอยู่พ้นดิน 1 คืบ บนโนนเป็นดินทรายกรวด โนนสูงจากระดับพื้นดินประมาณ 3 วา โนนกลมวัดศูนย์กลางประมาณ 2 เส้น นอกจากเสาหินนี้แล้วไม่พบโบราณวัตถุอย่างอื่น

ใจความจารึก กล่าวถึงพระเจ้าโสมาทิตยะ ว่าเป็นผู้เกิดแต่พระเจ้าอินทรวรมัน ในมหาศักราช 811 พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลแด่พระราชบิดา โดยการประทานสิ่งต่างๆ ได้แก่รัตนะ และป่าไม้แก่จอมมุนี จารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 6 บอกมหาศักราช 811 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2432 อันเป็นสมัยของพระเจ้ายโศวรมัน (พ.ศ. 1431-1453) จารึกโนนสัง รูปร่างคล้ายใบเสมา สร้างด้วยหินทรายสีแดง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16-17 ราวพุทธศักราช 1432 อักษรที่ในจารึกเป็นอักษรหลังปัลลวะ ใช้ภาษาสันสกฤตบันทึก บันทึก 1 ด้าน มี 16 บรรทัด ขนาดกว้าง 64 ซม. สูง 46 ซม. หนา 36 ซม. ตั้งอยู่บ้านบึงแก ตำบลบึงแก อำเภอมหาชัยชนะ จังหวัดยโสธร

3. ปูชนียสถานโนนศาลา


4. บึงแข้


5. บึงคก/บึงหนาด

6. วัดโพธิกาญจนาราม