ประวัติความเป็นมาและตราสัญลักษณ์

องค์การบริหารส่วนตำบลโคกขาม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มีภารกิจที่สำคัญในการปฏิบัติงานเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาประเทศโดยส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ที่สร้างกระบวนการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดกรอบความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และอำนาจในการวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการศึกษา การพัฒนาคนและสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาแหล่งน้ำ ด้านการเมืองการบริหาร การสาธารณสุข ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว รวมทั้งการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในตำบลให้ครอบคลุมทุกด้าน โดยเน้นการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาสังคมและสร้างสังคมให้มีความเข้มแข็ง และจัดให้มีการก่อสร้างบำรุงรักษาถนน สะพาน ท่อระบายน้ำ ไฟฟ้า ท่าเรือขนผลผลิตทางการประมง พัฒนาและส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

เดิมตำบลโคกขามมีเนื้อที่ในเขตการปกครองประมาณ 150 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นตำบลเดียวที่มีเขตการปกครองใหญ่ที่สุดในจังหวัดสมุทรสาคร ยากแก่การปกครองและดูแลราษฎรอย่างทั่วถึง จึงได้มีการประชุมเห็นชอบจากสภาและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอที่จะแบ่งเขตตำบลขึ้นใหม่ และมติที่ประชุมเห็นชอบให้ตำบลโคกขาม แบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันออกของคลองโคกขามบางส่วนให้ตำบลบ้านไร่ และตั้งชื่อตำบลใหม่ว่า "ตำบลพันท้ายนรสิงห์" ส่วนตำบลโคกขามยังเหลือพื้นที่ปกครองอยู่ 7 หมู่บ้าน แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังเดือดร้อนในเรื่องของการปกครองดูแลไม่ทั่วถึงจึงได้จัดตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่อีก 3 หมู่บ้าน


ความเป็นมาในอดีต

ตำบลโคกขาม เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกขานกันขึ้นมาโดยอ้างอิงจากเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน และศาสนสถานศิลปกรรมอันเก่าแก่ที่สันนิฐาน และพิสูจน์ได้ว่าเป็นยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดโคกขามได้ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. 2222 สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2225 ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ โบสถ์มีหน้าบันไม้แกะสลักงดงามมาก ลักษณะโบสถ์เป็ฯโบสถ์มหาอุตย์ มีประตูเข้าด้านเดียวทางทิศตะวันออก พระเจดีย์คู่ ด้านหน้าโบสถ์มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอย่างชัดเจน ภายในโบสถ์มี “หลวงพ่อสัมฤทธิ์” (พระพุทธสิหิงค์) เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ประมาณ 300 ปี ฝีมือช่างล้วนนา ปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร วัสดุสัมฤทธิ์หนัก 37 ชั่ง 1 ตำลึง ขนาดหน้าตักกว้าง 66 เซนติเมตร สูง 63 เซนติเมตร รอบฐาน 153 เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปเชียงแสนยุคต้น พุทธลักษณะอวบ พระพักตร์กลม พระขนงโก่งโค้ง พระเนตรกลมโต พระนาสิกเป็นสันโค้ง พระโอษฐ์บาง พระหนุนูน รัศมีหรือพระเกตุมาลาเป็นเปลวสั้น เม็ดพระศกเป็นต่อมกลม วางนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทมีลักษณะอ่อนช้อย ครองผ้าแบบห่มดอง มีจารึกที่ฐานว่า “พุทธศักราช 2232 พระสากับเดือน 1 กับ 25 วัน วันพฤหัสบดีขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง โทศก พระยาเมชัยก็ได้สถาปนาพระพุทธสิหิงค์องค์นี้เป็นทอง 37 ชั่ง จงเป็นปัจจัยแก่ พระนิพพานฯ” มีความหมายว่าพระพุทธสิหิงค์องค์นี้สร้างขึ้นโดยพระยารามเดโช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2232

สาเหตุที่ประดิษฐานที่วัดโคกขาม เนื่องจากสมัยสมเด็จพระเพทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา พระยารามเดโชไม่ยอมเข้าถือน้ำพิพัฒน์สัตยาถือว่าแข็งเมือง จึงโปรดให้พระยาสุรสงครามและพระยาราชวังสัน ซึ่งเป็นสหายรักของพระยารามเดโชเป็นแม่ทัพยกไปปราบ พระยารามเดโชมีหนังสือไปถึงพระยาราชวังสันขอเปิดทางให้ตนหนี ได้นำพระพุทธรูปองค์นี้ไปด้วย และพำนักที่ตำบลโคกขาม และได้สร้างวัดกับบวชเป็นพระที่วัดนี้ เนื่องจากสัมฤทธิ์ผลตามที่ปรารถนา จึงเรียกว่า “หลวงพ่อสัมฤทธิ์” สืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ และจากนิราศเมืองเพชร มหากวีสุนทรภู่ได้ล่องเรือจากกรุงเทพฯ เพื่อไปเมืองเพชรบุรี ผ่านโคกขามท่านกล่าวว่า “ถึงโคกขามคร้ามใจได้ไต่ถาม โคกมะขามดอกมิใช่อะไรอื่น ไม่เห็นแจ้ง แคลงทางเป็นกลางคืน ยิ่งหนาวชื่นช้ำใจมาในเรือ” ชื่อตำบลโคกขามนี้ได้มาจากต้มมะขามที่ดกดื่นอยู่แถวนี้นี่เอง

ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลโคกขาม ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรสาคร ประมาณ ๘ กิโลเมตร

พื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกขาม มีพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ จำนวน ๔๔,๙๐๖.๒๕ ไร่ หรือ ประมาณ ๗๑.๘๕ ตารางกิโลเมตร

ภูมิประเทศ เป็นพื่นที่ราบลุ่ม มีคลองพิทยาลงกรณ์ และคลองสนามไชยไหลผ่าน ที่จะลงปากอ่าวไทยและแม่น้ำท่าจีน ซึ่งองค์การบริหารส่วนบริหารตำบลโคกขาม มีเขตติดต่อ โดยมีอาณาเขต ดังนี้

ทิศเหนือ จดเทศบาลตำบลนาดี

ทิศใต้ จดอ่าวไทย

ทิศตะวันออก จดองค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์

ทิศตะวันตก จดเทศบาลตำบลบางหญ้าแพรก,เทศบาลนครสมุทรสาคร


ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคม

การเดินทางไปสมุทรสาคร จากกรุงเทพฯ โดยเส้นทางรถยนต์ตามทางหลวงแผ่น

ดินสามารถไปได้หลายเส้นทางดังนี้จากสามแยกบางปะแก้ว ไปตามทางหลวงหมายเลข 35 ถนนธนบุรี-ปากท่อ (ถนนพระราม 2) ผ่านที่ทำการเขตบางขุนเทียน ด่านชั่งน้ำหนักเอกชัย ถึงสี่แยกมหาชัย (กม.ที่ 28) เลี้ยวซ้ายเข้าตัวเมืองสมุทรสาคร ระยะทางประมาณ 29 กม.

จากศูนย์การค้าดาวคะนอง ไปตามถนนเอกชัย ผ่านสะพานบางขุนเทียน วัดสิงห์แยก

บางบอนโรงเรียนศึกษานารีวิทยา วัดโพธิ์แจ้ ตำบลดอกกระบือ ด่านชั่งน้ำหนักเอกชัย เคหะชุมชนมหาชัย เข้าสู่ตัวเมืองสมุทรสาคร ระยะทางประมาณ 30 กม.

จากแยกท่าพระ ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม ถึงหนองแขมเลี้ยว

ซ้ายเข้าซอยเพชรเกษม 81ถึงแยกถนนเอกชัย เลี้ยวขวาไปตามถนนเอกชัย ผ่านโรงเรียนศึกษานารีวิทยา ด่านชั่งน้ำหนักเอกชัย เข้าสู่ตัวเมืองสมุทรสาครระยะทางประมาณ 30 กม.

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เส้นทางถนนเพชรเกษม เลยบางแคแล้วเลี้ยวซ้าย เข้าถนน

วงแหวนรอบนอกจะไปตัดกับถนนเอกชัย วนรถกลับเข้าถนนเอกชัย หรือตรงไปเข้าถนนธนบุรี-ปากท่อก็ได้ หรือจากถนนเพชรเกษม ผ่านอ้อมน้อย แยกเข้าถนนเศรษฐกิจ 1 กม.ที่ 25 ผ่านอำเภอกระทุ่มแบน ได้อีกเส้นทางหนึ่ง

จากสะพานพระปิ่นเกล้า ไปตามถนนบรมราชชนนี ตัดเข้าถนนเพชรเกษมได้ 3 ทาง

คือ ถนนพุทธมณฑลสาย 2 สาย 4 และสาย 5 จากนั้นเลือกเข้าตัวเมืองสมุทรสาครได้ 2 ทาง คือ จากสาย 2 ออกถนนเอกชัย เลี้ยวขวา ผ่านโรงเรียนศึกษานารี ระยะทางประมาณ 35 กม. หรือใช้สาย 4 สาย 5 เข้าถนนเศรษฐกิจ 1 ที่แยกอ้อมน้อย ผ่านอำเภอกระทุ่มแบนระยะประมาณ 50 กม. นอกจากนี้ ยังสามารถเข้าถนนวงแหวนรอบนอก ซึ่งตัดผ่านถนนเอกชัย และถนนธนบุรี-ปากท่อได้อีกด้วย

การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางของบริษัทขนส่ง จำกัด

เปิดบริการเดินรถกรุงเทพฯ-สมุทรสาคร ทุกวันตั้งแต่เวลา 04.30-21.30 น. จาก

สถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 02-4345558 (รถธรรมดา) โทร. 02-4351199-1200 (รถปรับอากาศ)

การเดินทางโดยรถไฟ

มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ทุกวันๆ ละหลายเที่ยวตั้งแต่เวลา 05.30 -

20.00 น.สุดปลายทางสถานีมหาชัย ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ โทร. 02-4652017 และสถานีรถไฟมหาชัย โทร. 034-411003 และจากสมุทรสาคร ขึ้นรถโดยสารประจำทาง (รถสองแถว) ในซอยบ้านเช่า ดังนี้

สายมหาชัย-บ้านขอม (เลียบคลองมหาชัยฝั่งตะวันออก)

➢ ผ่านวัดโคก หมู่ที่ 4 วัดบ้านขอม หมู่ที่ 5 ปลายสายที่บ้านขวางหมู่ที่ 6

สายวัดเจษ – คลองหลวง - บ้านไร่ (เลียบคลองมหาชัยฝั่งตะวันตก)

➢ ผ่านหมู่ที่ 4 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 6 วัดโคกขาม หมู่ที่ 2 ปลายสายที่บ้านไร่ตำบลพันท้าย

นรสิงห์ (บางคันจะเลี้ยวเข้าถนนเลียบคลองหลวง หมู่ที่ 9 ปลายสายที่วัดสหกรณ์โฆษิตาราม)

สายมหาชัย-สหกรณ์

➢ ผ่านที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโคกขาม หมู่ที่ 9 วัดสหกรณ์โฆษิตาราม หมู่ที่ 10 ปลายสายที่ตำบลพันท้ายนรสิงห์

การคมนาคมทางบก

➢ ถนนเอกชัย

➢ ถนนสหกรณ์-พันท้ายนรสิงห์

➢ ถนนเจษฎา-สันดาป

➢ ถนนบ้านโคก-บ้านขวาง

➢ ถนนสายเลียบคลองหลวง

การคมนาคมทางน้ำ

➢ คลองโคกขาม

➢ คลองสนามไชย

➢ คลองพิทยาลงกรณ์

➢ คลองหลวง

➢ คลองหนึ่ง


พันธกิจ (Mission)

ด้านเศรษฐกิจ

ยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจรากให้เข้มแข็ง เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยการพัฒนาและส่งสเริมอาชีพความรู้ด้านการเกษตรและอื่นๆ รวมถึงการสร้างงานเพิ่มรายได้ ให้ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคงและพึ่งตนเอง

ด้านสังคม

พัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรมและรับผิดชอบต่อส่วนรวม เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนให้เข้มแข็ง ปลอดยาเสพติด มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและเด็กเล็ก ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างทั่วถึง รวมถึงการดูแลใจใส่ให้ความสำคัญในด้านศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นให้คงอยู่กับชุมชนให้ยั่งยืน

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อนุรักษ์ฟื้นฟู สร้างจิตสำนึกและรักษาสภาพแวดล้อมชุมชน ดูแลเรื่องมลพิษจากโรงงานอุตสากรรม การจัดเก็บขยะมูลฝอย ให้เป็นตำบลที่น่าอยู๋ มีความสะอาด เป็นระเบียบ ปราศจากมลภาวะ

ด้านการเมือง-การบริหาร

สร้างระบบการบริการจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธเสรีภาพ โดยยืดหลักธรรมมาภิบาล ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การวางแผนพัฒนาการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความโปร่งใสสามารถแก้ปัญหาความเดือดร้อนได้ตรงตามความต้องการของประชาชน และดูแลในเรื่องการให้บริการแก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการ รวมถึงการเตรียมความพร้อมของบุคลากรที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบล

ด้านการศึกษา

พัฒนาและส่งเสริมด้านการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเรียนรู้คิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาเป็นสามารถปรับตัวต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและดำรงตนในสังคมได้อย่างมีคุณค่า

ด้านสาธารณสุข

พัฒนาคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขโดยมีบริการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และป้องกันโรคในชุมชน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมโดยเฉพาะการบริโภคที่ถูกต้องและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

จำนวนประชากรในเขตองค์กรการบริหารส่วนตำบลโคกขาม โดยแยกพื้นที่การปกครองออกเป็น ๑๐ หมู่บ้าน ดังนี้

- พื้นที่ทั้งหมด จำนวน ๗๑.๘๕ ตารางกิโลเมตร

- ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓๖ กิโลเมตร

- ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองประมาณ ๘ กิโลเมตร

- ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๘ กิโลเมตร

ประชากร

จำนวนประขากรในเขตตำบลโคกขาม โดยแยกพื้นที่การปกครองออกเป็น ๑๐ หมู่บ้าน ดังนี้

ช่วงอายุและจำนวนประชากร

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ระดับตำบล ปี ๒๕๖๒ จำแนกตามช่วงอายุในข้อมูล จปฐ.

การศึกษา

จำนวนประชากรจำแนกตามระดับการศึกษา ปี ๒๕๖๒ (จปฐ) ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ระดับตำบล