ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล

ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุลของระบบเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้


ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล




การเปลี่ยน การเปลี่ยน การเปลี่ยน การเปลี่ยน

ความเข้มข้น ความดันใน ปริมาตรใน อุณหภูมิ

ระบบที่มีก๊าซ ระบบที่มีก๊าซ




การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น

การเปลี่ยนความเข้มข้นของสารทำได้โดยเพิ่ม เติม สารใดสารหนึ่งลงไปในระบบอรก หรือเอาสารนั้นออกจากระบบ อาจเป็นการเอาออกโดยตรงหรือเติมสารอีกชนิดหนึ่งเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารในระบบ

การอธิบายผลของการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารต่อภาวะสมดุล ตามหลักของเลอชาเตอลิเอ สรุปได้ดังนี้

ถ้าเพิ่มความเข้มข้นของสารใดในระบบ ณ ภาวะสมดุล ระบบจะพยายามปรับตัวไปในทิศทางที่จะลดความเข้มข้นของสารที่เติมลงไป

ถ้าลดความเข้มข้นของสารใดในระบบ ณ ภาวะสมดุล ระบบจะพยายามปรับตัวไปในทิศทางที่จะเพิ่มความเข้มข้นของสารที่เติมลงไป

เมื่อระบบปรับตัวเรียบร้อยแล้ว ระบบจะเข้าสู่สมดุลใหม่อีกครั้ง ซึ่งมีจำนวนโมลของสารตั้งต้น และผลิตภัณฑ์ต่างไปจากสมดุลเดิม สมบัติจะต่างไปจากเดิม


Fe3+(aq) + SCN-(aq) ====== FESCN2+(aq)

สีเหลือง ไม่มีสี สีแดง

รบกวนสมดุล เพิ่ม


ที่ภาวะสมดุลใหม่ เพิ่ม ลด ไปข้างหน้า เพิ่ม

การเปลี่ยนแปลงความดันของระบบ

ระบบจะเปลี่ยนถาวะสมดุลไปเมื่อเพิ่มหรือลดความดันได้นั้น สารในระบบนั้นต้องอยู่ในภาวะก๊าซ หรือมีก๊าซอยู่ในระบบอย่างน้อย 1 สาร ถ้าระบบนั้นไม่มีก๊าซอยู่ในปฏิกิริยา การเพิ่มหรือลดความดันจะไม่มีผลต่อภาวะสมดุล


การอธิบายผลของการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารต่อภาวะสมดุล ตามหลักของเลอชาเตอลิเอ สรุปได้ดังนี

เมื่อเพิ่มความดัน หรือลดปริมาตร ระบบจะปรับตัวไปในทิศทางที่มีจำนวนโมลก๊าซน้อยกว่า

เมื่อลดความดัน ภาวะสมดุลของระบบจะเปลี่ยนจากด้านที่มีจำนวนโมลก๊าซน้อยกว่าไปทางจำนวนโมลก๊าซมากกว่า

ถ้าจำนวนโมลของก๊าซสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์เท่ากัน การเพิ่มหรือลดความดันจะไม่มีผลต่อภาวะสมดุล

SO2(g) + O2(g) ====== 2SO3(g)

เพิ่มความดัน (3โมล) เปลี่ยนไปข้างหน้า (2โมล)


2HI(g) ======= H2(g) + I2(g)

เพิ่มหรือลดความดัน (2โมล) (2โมล) สมดุลไม่เปลี่ยน

SO2(g) + O2(g) ====== 2SO3(g)

ลดความดัน (3โมล) เปลี่ยนไปข้างหน้า (2โมล)


การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของระบบ

ระบบที่อยู่ในภาวะสมดุลเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปภาวะสมดุลจะเปลี่ยนไป และมีผลทำให้ค่าคงที่สมดุล (K) เปลี่ยนไปด้วย อธิบายการปรับตัวตามหลักของเลอชาเตอลิเอได้ดังนี้

ปฏิกิริยาดูดความร้อน จะเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าได้ดีเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิสมดุลจะเลือนไปข้างหน้ามากขึ้น ผลิตภัณฑ์มากขึ้น ค่า K มากขึ้นด้วย เมื่อลดอุณหภูมิจะเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ ผลิตภัณฑ์ลด ค่า K ลดลง

ปฏิกิริยาคายความร้อน จะเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าได้ดีเมื่ออุณหภูมิลดลง ดังนั้นเมื่อลดอุณหภูมิ สมดุลจะเลื่อนไปทางขวา เกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า ผลิตภัณฑ์มากขึ้น ค่า K เพิ่มขึ้นด้วย





เพิ่มเติม คลิก