แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
สําหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชํานาญการพิเศษ
ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2566

ระหว่างวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง วันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2566

ข้อมูลผู้ประเมิน

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแห่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ซึ่งเป็นตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

                ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)

  

 ประเด็นท้าทาย ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ เรื่อง การพัฒนาแอปพลิเคชัน รายวิชา ว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ด้วยการเรียนสอนแบบ Active Learning

   ๑. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

          ผลการจัดการเรียนรู้ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ วิชา สื่อดิจิทัล ว๓๐๒๘๗ พบว่า นักเรียนยังทำงานไม่ถูกต้องครบถ้วน เนื่องจากไม่ได้เรียนรู้ในทุกเนื้อหาเพราะไม่สะดวกเข้าเรียนออนไลน์ตามตารางเรียน ผู้สอนจึงต้องการให้ผู้เรียนสามารถจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Personalized Learning) ได้ทั้งกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนและครูโต้ตอบกันในเวลาเดียวกัน (Synchronous) ผ่าน Google Meet ตามตารางเรียน และพัฒนาทักษะการนำเสนอและแบ่งปันข้อมูล เช่น การจัดต่อวิดีโอ อัปโหลดวิดีโอ โดยมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ผู้เรียนแต่ละคนจัดการเรียนรู้แบบส่วนตัวได้ ลำดับเนื้อหาเองได้ เลือกเวลาและสื่อในการศึกษาเนื้อหาก่อนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนทั้ง Online หรือ Onsite นอกจากกิจกรรมรายบุคคลแล้วมีกิจกรรมกลุ่มที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทำงานพร้อมกันผ่านสื่อออนไลน์ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนและครูโต้ตอบกันได้ในเวลาที่ต่างกัน (Asynchronous) ผ่านแหล่งเรียนรู้ทั้งเว็บไซต์รายวิชา และกลุ่มไลน์รายวิชา

      ดังนั้นจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย โดยการพัฒนาแอปพลิเคชัน รายวิชา ว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ด้วยการเรียนสอนแบบ Active Learning ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔

 

   ๒. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                 ๒.๑ ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาแอปพลิเคชัน รายวิชา ว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ด้วยการเรียนสอนแบบ Active Learning หลักสูตรโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา ๓ ฉบับปรับปรุงปีการศึกษา ๒๕๖๓ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๓) ความพึงพอใจ และโปรแกรมที่สนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชัน รายวิชา ว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล ได้แก่ Google Form, Google Slide, Canva , Google Site, และโปรแกรมสนับสนุนต่าง ๆ

                 ๒.๒ วิเคราะห์เนื้อหา และออกแบบ แอปพลิเคชันรายวิชา ว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล

                 ๒.๓ กำหนดวิธีการวัดผลประเมินผลทั้ง ๓ ด้าน คือ ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ กระบวนการ สมรรถนะ (P) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)

                 ๒.๔ พัฒนาแอปพลิเคชันรายวิชา ว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล ด้วย Glide App, Google Form, Google Slide, Canva, Google Site, และโปรแกรมสนับสนุนต่าง ๆ ร่วมกับโปรแกรมสนับสนุนต่าง ๆ และใช้เนื้อหาในรายวิชาว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ตามหลักสูตรโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา ๓ ฉบับปรับปรุงปีการศึกษา ๒๕๖๓

                 ๒.๕ นำแอปพลิเคชันรายวิชา ว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล ให้ครูสาระเทคโนโลยี และภาคีเครือข่ายที่เชี่ยวชาญด้านการใช้โปรแกรมกราฟิก ด้านการใช้ภาษา ตรวจสอบความถูกต้องของโครงสร้าง ความเหมาะสมของเนื้อหา การออกแบบ การใช้ภาษา ให้ข้อเสนอแนะ และนำมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ

                 ๒.๖ เมื่อเปิดภาคเรียน ดำเนินการ CAR๑ ศึกษาข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล วิเคราะห์ผู้เรียน ทดสอบก่อนเรียน และจัดกลุ่มผู้เรียน เป็น ๓ กลุ่ม คือ เก่ง ปานกลาง อ่อน จากนั้นให้ผู้เรียนทุกคนร่วมกิจกรรมที่ ๑ ในแอปพลิเคชันรายวิชา ว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล สอบถามผู้เรียนแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ ๑ คน ด้านเนื้อหา สื่อประกอบ ขนาดตัวอักษร การใช้ภาษา และใช้แอปพลิเคชันรายวิชา ว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล ปรับแล้วมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับผู้เรียน

                 ๒.๗ ดำเนินการ CAR๒ บันทึกข้อมูลระหว่างและหลังจัดการเรียนรู้ ประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ ปรับแนวคิด แนวปฏิบัติ และพฤติกรรมการสอน

                 ๒.๘ ดำเนินการ CAR๓ แก้ไขปัญหาของผู้เรียนเป็นกรณีศึกษา (Case Study) ที่ใช้ แอปพลิเคชันรายวิชา  ว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล

                 ๒.๙ ดำเนินการ CAR๔ พัฒนา แอปพลิเคชันรายวิชา ว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล ที่ได้จากผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับผู้เรียน โดยรายงานการพัฒนาเป็นนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้

 

   ๓. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

          ๓.๑ เชิงปริมาณ

                           ๑. ผู้เรียนในรายวิชา ว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๘๐  ในการนำเสนอและแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัย โดยมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

 

                           ๒. ผู้เรียนในรายวิชา วว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล  ร้อยละ ๘๐ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยได้รับผลการเรียนตั้งแต่ระดับ ๒.๕ ขึ้นไป

                          

                           ๓. ผู้เรียนในรายวิชา ว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล ร้อยละ ๘๐ มีระดับความพึงพอใจต่อกิจกรรมและการจัดการเรียนรู้ในระดับมากขึ้นไป

๓.๒ เชิงคุณภาพ

                           ผู้เรียนในรายวิชา ว๓๐๒๘๗ สื่อดิจิทัล มีทักษะในการนำเสนอและแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัย โดยมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้บูรณาการกับรายวิชาอื่น และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


การจัดการเรียนการสอนด้วยแอปพลิเคชัน

ปัญหา คือ นักเรียนยังทำงานไม่ถูกต้องครบถ้วน เนื่องจากไม่ได้เรียนรู้ในทุกเนื้อหาเพราะไม่สะดวกเข้าเรียนออนไลน์ตามตารางเรียน  

การจัดการเรียนการสอนด้วยแอปพลิเคชัน

แก้ปัญหาโดย  ใช้สื่อการสอนด้วยแอปพลิเคชัน ในการสอนรายวิชา สื่อดิจิทัล เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการนำเสนอและแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัย โดยมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้บูรณาการกับรายวิชาอื่น และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

เอกสารหลักฐาน และ คลิปการจัดการเรียนรู้

วPA-2566-ครูเอก.pdf

ดาวน์โหลดเอกสารบันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน และคลิปการจัดการเรียนรู้

ดาวน์โหลดแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์  .pdf

คลิปการสอนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

ผู้สอนได้ ริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น

ลงชื่อ........................................................................

      (.........................................................................)

ตำแหน่ง.................................................................

    ผู้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน

................/.............../...................