หน่วยการเรียนรู้ที่3


กล่าวถึงวงจรไฟฟ้าและอธิบายลักษณะการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม แบบขนาน และแบบอน (แบบผสม) รวมทั้งวิธีการคํานวณหาค่าความต้านทาน กระแส ไฟฟ้า และแรงดันไฟฟ้าจากวงจร นอกจากนั้นยังอธิบายถึงทฤษฎีการทํางานและโครงสร้างของวงจรไฟฟ้าแสงสว่างประเภทต่างๆ

สาระการเรียนรู้

1 วงจรไฟฟ้า

2 วงจรอนุกรม

3 วงจรขนาน

4 วงจรอนุกรม-ขนาน วงจรแบบผสม)

5 วงจรไฟฟ้าแสงสว่าง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1 คํานวณหาค่าทางไฟฟ้าของการต่อวงจรแบบอนุกรมได้

2 คํานวณหาค่าทางไฟฟ้าของการต่อวงจรแบบขนานได้

3 คํานวณหาค่าทางไฟฟ้าของการต่อวงจรแบบอนุกรม-ขนาน (วงจรแบบผสม)

4 อธิบายการทํางานของวงจรไฟฟ้าแสงสว่างได้


วงจรไฟฟ้า

การนําสายไฟฟ้า หรือตัวนําไฟฟ้าที่เป็นเส้น คงเดินให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านต่อถึงกันนั้น เรียกว่า วงจรไฟฟ้า (Electrical Circuit) การเคลื่อนที่ อิเล็กตรอนภายในวงจรจะเริ่มจาก แหล่งจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า แสดงวงจรไฟฟ้าเบื้องต้นโดยการต่อ แบตเตอรี่เข้ากับหลอดไฟ หลอดไฟฟ้าสว่างได้ เพราะกระแส ไฟฟ้าสามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจรไฟฟ้า และหลอดไฟฟ้าดับ เพราะกระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจร เนื่องจากสวิตช์เปิดวงจรไฟฟ้าอยู่นั่นเอง

วงจรอนุกรม

วงจรอนุกรม หมายถึง การนําอุปกรณ์ทางไฟฟ้ามาต่อกันในลักษณะที่ปลายด้านหนึ่งของอุปกรณ์ตัวที่1 ต่อเข้ากับปลายด้านหนึ่งของอุปกรณ์ตัวที่ 2 จากนั้นนําปลายด้านที่เหลือของอุปกรณ์ตัวไปต่อเข้ากับอุปกรณืตัวที่3 และต่อในลักษณะนี้จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ทางเดียว แสดงต่อการตัวต้านทานอุกรมในแบบต่างๆโดยตัวต้านทานจะต่อไปยังตัวต้านทานสุดท้าย