Machine  Learning

Machine Learning (แมทชีน เลินนิ่ง) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เมื่อมีข้อมูลเข้าสามารถทำนายหรือตัดสินใจได้โดยปราศจากการทำงานตามลำดับคำสั่งโปรแกรม ซึ่ง Machine Learning นั้นเปรียบได้กับว่าเป็นการรวบรวมศาสตร์หลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน อาทิเช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์, วิศวกรรม และที่สำคัญนั้นคือ สถิติ นอกจากนี้มันยังเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ปลายทางที่เราต้องการนำไปประยุกต์ใช้ เช่น ชีววิทยา เคมี หลักการตลาด เป็นต้น

รูปแบบการเรียนรู้ของ Machine Learning มีรูปแบบการเรียนรู้ 3 รูปแบบดังนี้

1. การเรียนรู้แบบมีผู้สอน (Supervised Learning (ซุปเปอร์ไวซ์ เลินนิ่ง))

เป็นการเรียนรู้โดยอาศัยข้อมูลและ label จากข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น การแบ่งประเภทข้อมูล (classification (คลาสสิฟิเคชั่น)) และ การวิเคราะห์การถดถอย (regression (รีเกรชชั่น))

2.การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน (Unsupervised learning (อันซุปเปอร์ไวซ์ เลินนิ่ง))

การเรียนรู้นี้ไม่ได้มี label ที่บอกว่าข้อมูลนั้นคืออะไร แต่การเรียนรู้นี้จะจัดข้อมูลนำเข้า (input (อินพุท)) จัดเป็นกลุ่ม (cluster (ครัสเตอร์)) บนพื้นฐานของความเหมือน (similarities (ซิมิลาลิตี้)) และความแตกต่าง (differences (ดิฟเฟอเร้น)) ระหว่างรูปแบบของข้อมูลนำเข้า ตัวอย่างเช่น การหาโครงสร้างที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล เป็นต้น

3.การเรียนรู้แบบเสริมกำลัง (Reinforcement learning (รีอินฟอเม้น เลินนิ่ง)) เป็นการเรียนรู้แบบแผนซึ่งกำหนดการกระทำของระบบจากสิ่งที่สังเกตได้ แนวความคิด คือ เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว

ที่มา https://www.mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/240-ai-machine-learning/5260-what-is-machine-learning.html

https://www.guru99.com/images/tensorflow/082918_1102_WhatisMachi5.png

https://www.guru99.com/images/tensorflow/082918_1102_WhatisMachi5.png

https://bit.ly/30CaY52

https://bit.ly/30CaY52

แนวคิดของ Artificial Neural Networks หรือ โครงข่ายประสาทเทียมนั้นมาจากเลียนแบบการทำงานของระบบประสาทของมนุษย์ จะจำลองการทำงานเหมือนกลุ่มเซลล์ประสาทที่เชื่อมโยงกัน สามารถรับรู้หลายๆ ได้ในเวลาเดียวกัน ด้วยการประมวลผลแบบขนาน (Parallel Network) ทำให้ระบบสามารถตัดสินใจได้ใกล้เคียงกับมนุษย์

การทำงานของ Artificial Neural Networks โดยจะมี ชั้น input layer ซึ่งรับข้อมูลจากภายนอก มาที่ชั้น Hidden Layer จะอยู่ระหว่าง input layer และ output layer ทำหน้าที่ประเมินชุดข้อมูลหรือการแปลงสิ่งที่ input layer เข้ามาให้สามารถนำออกไปใช้ใน output layer ได้ ส่วนของชั้น output layer จะส่งออกข้อมูลที่แปลงมาแล้วหรือนำเสนอข้อมูลที่ได้ออกมา เครือข่ายประสาทส่วนใหญ่มีการเชื่อมต่อกันหมด หมายถึงว่า Hidden Layer ทั้งหมดจะเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาททุกตัวในชั้น input layer และชั้น output layer

   การนำ Artificial Neural Networks มาประยุกต์ใช้

                        https://www.mindphp.com/images/knowledge/AI/Artificial-Neural-Networks.jpg

https://cdn.zephyrnet.com/wp-content/uploads/2022/03/01114039/basic-introduction-to-convolutional-neural-network-in-deep-learning.png

M5 Lidarbot

           LidarBot คือชุดพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีระบบนำทางอัตโนมัติ (Automated Guided Vehicle, AGV) มาพร้อมกับเซ็นเซอร์ Lidar วัดระยะแบบ 360 องศา, ล้อ Mecanum แบบขับเคลื่อน 4 ล้อ, บอร์ดควบคุม M5 Core, แถบ LED แบบ RGB, ตัวควบคุมระยะไกลพร้อมแผงควบคุมจอยสติ๊ก และอีกมากมาย ตัวล้อ Mecanum ออกแบบมาเป็นพิเศษ ทำให้สามารถโปรแกรมให้เคลื่อนไหวไปในทุกทิศทาง เช่น เดินหน้า, ถอยหลัง, ซ้าย, ขวา และทแยงมุม อีกทั้งในชุดคิทมาพร้อมกับแบตเตอรี่ LiPo ทำให้หุ่นยนต์ทำงานใช้งานได้เป็นเวลานาน การโปรแกรมยังสามารถแสดงข้อมูลแผนที่ ที่ได้จากเซ็นเซอร์ Lidar ขึ้นบนหน้าจอมือถือ หรืออัปโหลดไปที่อื่นผ่าน Wi-Fi ได้เช่นกัน          ตัวหุ่นยนต์ถูกพัฒนามาโดยใช้การสื่อสารแบบเรียลไทม์ระหว่างหุ่นยนต์และรีโมท เพื่อทำการค้นหาพื้นที่ ทำ mapping, Mazing-running, self-tracing และอื่น ๆ ผ่านโปรโตคอล ESP-NOW เหมาะสำหรับคนที่มีความสนใจในการพัฒนา AGV โดยมีตัวอย่างโค้ดแบบ open source เอไว้ให้แก้ไขและพัฒนาได้ด้วยตัวเอง                                                                                                    ที่มา : https://www.gravitechthai.com/