วันศิลปินแห่งชาติ

ประเทศไทย กำหนดให้มี วันศิลปินแห่งชาติ และจัดให้มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ"ศิลปินแห่งชาติ" เป็นประจำทุกปี ด้วยคำว่าศิลปะชั้นเลิศ ที่มักจะถูกถ่ายทอดออกมาจากความรู้สึกนึกคิด และความสามารถของผู้ที่เป็น "ศิลปินเอก" ชั้นบรมครู โดยในปัจจุบันมี ศิลปินสาขาต่าง ๆ มากมาย ที่มีการสร้างผลงานอันน่าประทับใจ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม

ประวัติความเป็นมาของวันศิลปินแห่งชาติ

ความหมายของวันศิลปินแห่งชาติ

ศิลปินแห่งชาติ หมายถึง ผู้ได้รับการยกย่องเชิดชู เกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นศิลปินที่ได้อุตสาหะอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานในด้านศิลปะ ไว้มากมายจนเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของชาติทั้งในสาขาวรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ และศิลปะการแสดง เป็นการแสดงถึงความเป็นปราชญ์ในทางความรู้ความสามารถ ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศิลปินแห่งชาติ เข้ารับพระราชทานเข็มเพื่อความเป็นสิริมงคลยิ่งแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล 

        วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2528 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ ประกาศให้ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันศิลปินแห่งชาติ" เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่าง ๆ หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านกวีนิพนธ์ ด้านด้านดนตรี และประติมากรรม และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ จึงถือเอาวันพระราชสมภพ (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2310) เป็น "วันศิลปินแห่งชาติ" เอกอัครศิลปินที่ยิ่งใหญ่ ผู้มีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระวิหารวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยม ด้านวรรณกรรม ถือว่าทรงเป็นกวีเอกแห่งแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้จำนวนมากมายหลายเรื่อง เช่น อิเหนา ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ

        นอกจากนี้ ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกไว้ถึง 5 เรื่อง ได้แก่ ไกรทอง พระไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง และมณีพิชัย และด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในด้านวรรณกรรม ทรงได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวรรณกรรม และเพื่อเป็นการยกย่องศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ทางสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติจึงได้มอบรางวัลให้แก่ ศิลปินที่มีผลงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติศิลปิน

        ศิลปินแห่งชาติ สามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีต ให้มีความรุ่งโรจน์สืบไปยังอนาคตข้างหน้า เป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญทางด้านศิลปะ ที่ได้สืบสานงานศิลปะของชาติให้เชื่อมโยงจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการ ศิลปินแห่งชาติ มาเมื่อปี พ.ศ.2527 และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อ พ.ศ.2528 จนถึงปัจจุบัน 

        ทางราชการยังจัดงานนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปินแห่งชาติและศิลปะพื้นบ้านขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจังหวัดที่มีศิลปินแห่งชาติสังกัดอยู่

คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ

        การมีวันศิลปินแห่งชาตินั้น ชาวต่างชาติยกย่องและยอมรับว่าประเทศไทยมีอารยธรรมสูงส่ง มีวัฒนธรรมอันดีงาม และมีศิลปินแห่งชาติที่มีคุณค่า จึงจัดโครงการศิลปินแห่งชาติขึ้น ซึ่งผู้ที่จะเป็นศิลปินแห่งชาติได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

        เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน เพราะถือเป็นการอนุรักษณ์และสืบสานความเป็นศิลปะไทย ๆ และผลงานอันน่ายกย่อง การที่จะมอบให้ใครเป็นศิลปินแห่งชาติได้นั้น จะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย และยังมีลมหายใจในวันที่ตัดสิน

        เป็นผู้ที่มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับของวงการศิลปินแขนงนั้น 

        เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน

        เป็นผู้ถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น ศิลปินแห่งชาติจะต้องเป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้นให้สืบต่อไปและยังคงเป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน

        เป็นผู้มีคุณธรรม และมีความรักในวิชาชีพของตน

        เป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ ทั้งก่อน และหลังการได้รับรางวัลการประกาศเกียรติคุณ

การจัดงานวันศิลปินแห่งชาติ

        การจัดงานวันศิลปินแห่งชาตินั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่อง เชิดชู สนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะอันทรงคุณค่า โดยได้กำหนดรางวัลรวมถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของศิลปินแห่งชาติไว้ดังนี้ ศิลปินแห่งชาติได้กำหนดไว้ ได้แก่

    1) สาขาทัศนศิลป์ (Visual Art) หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา จะเป็นศิลปะสองมิติหรือสามมิติ ซึ่งได้แก่ ผลงานศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ดังต่อไปนี้
    ก. จิตรกรรม หมายถึง ภาพเขียนสีและภาพลายเส้น
    ข. ประติมากรรม หมายถึง งานปั้นและแกะสลัก
    ค. ภาพพิมพ์ หมายถึง ศิลปะการพิมพ์ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้ โลหะ ฯลฯ
    ง. ภาพถ่าย หมายถึง ผลงานศิลปะภาพถ่ายที่เสนอด้วยสื่อและกรรมวิธีต่าง ๆ
    จ. สื่อประสม หมายถึง ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยกรรมวิธีและเทคนิคต่าง ๆ อย่างอิสระ 

    2) สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง งานออกแบบ หรืองานออกแบบและงานก่อสร้างอาคารสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะ และมีวิทยาการ ซึ่งแสดงภูมิปัญญาของผู้ออกแบบอย่างโดดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

    3) สาขาวรรณศิลป์ (Literature) หมายถึง บทประพันธ์ที่ปลุกมโนคติของผู้อ่าน ทำให้เกิดจินตนาการความเพลิดเพลิน และเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ ได้แก่ กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย บันเทิงคดี สำหรับเด็กและเยาวชน อาทิ หนังสือเด็ก วรรณกรรมเยาวชนที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง

    4) สาขาศิลปะการแสดง (Performing Art) หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิม หรือพัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่

    ก. การละคร ประกอบด้วย ละครรำ เช่น โนห์รา ชาตรี ฯลฯ ละครร้อง โขน ลิเก ระบำ (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) รำ (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) ฟ้อน (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) เซิ้ง (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) หุ่น เช่น หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอก หนังใหญ่ หนังตะลุง การเขียนบทร้องหรือบทละครรำ (เพื่อการแสดง)
    ข. การดนตรี แบ่งออกเป็นดนตรีไทย และดนตรีสากล
        - นักดนตรี ต้องเป็นนักดนตรีเด่นเฉพาะเครื่องมือ
        - นักร้อง ต้องมีความสามารถทั้งร้องส่งและร้องรับในการแสดงต่างๆ และสามารถแหล่ทำนองต่างๆ ได้ (แหล่เฉพาะแบบดั้งเดิม)
        - นักประพันธ์เพลง ต้องประพันธ์ ทั้งทางร้องและทางดนตรี
        - ผู้อำนวยเพลง ต้องเป็นผู้อำนวยเพลงดีเด่น
        - ผู้ผลิตเครื่องดนตรี
    ค. การแสดงพื้นบ้าน ประกอบด้วย หมอลำ ซอ ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงบอก สวดคฤหัสถ์ ฯลฯ

กิจกรรมในวันศิลปินแห่งชาติ

        ทางคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้คัดเลือกผู้ที่มีผลงานศิลปะชั้นเยี่ยมตามเกณฑ์การพิจารณาของโครงการศิลปินแห่งชาติ เพื่อประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยดำเนินการ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปีซึ่งเป็นวันศิลปินแห่งชาติ และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงและแสดงถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของรัชกาลที่ 2  แต่ละปีจะมีการประกาศรายชื่อศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นศิลปินที่ได้อุตสาหะอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานในด้านศิลปะ ไว้มากมายจนเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของชาติ และประกาศมอบผลงานศิลปะเป็นสมบัติของชาติ

        จัดนิทรรศการ  ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน หรือที่ศูนย์วัฒนธรรม หรือตามส่วนราชการ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบถึง ประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ รวมถึงการจัดนิทรรศการ ที่เกี่ยวกับพระราชประวัติและผลงาน คุณค่างานศิลปะของ รัชการที่ 2 และของไทย ในอดีตอันเป็นศิลปะอันล้ำค่าของประเทศ และคู่ควรแก่การได้รางวัล ศิงปินแห่งชาตินี้

        จัดการประกวดแข่งขัน เกี่ยวกับกับด้านภาษา กิจกรรมการแข่งด้านศิลปะ แขนงต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับการแสดง การวาด และงานฝีมือ อันส่งผลให้เห็นถึงการปลูกฝังให้เยาวชนรักในงานศิลปะ ซึ่งอาจจะทำให้กลายเป็นศิลปินในอนาคต

การส่งเสริมกิจกรรมวันศิลปินแห่งชาติ

        บุคคลผู้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะด้วยความอุตสาหะ และมีผลงานปรากฏต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่องและยาวนาน แล้วยกย่องเกียรติคุณให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเหตุผลที่มีมีวันศิลปินแห่งชาตินั้น เนื่องจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติต้องการให้ต่างชาติยกย่องว่าประเทศไทยมีอารยธรรมสูงส่ง จึงจัดโครงการศิลปินแห่งชาติขึ้น เพื่อจัดทำเนียบศิลปินทุกแขนงทั่วประเทศ โดยมีแนวทางสนับสนุนและส่งเสริมศิลปินแห่งชาติขึ้นในทุก ๆ ปี

        ค่าตอบแทน และการเบิกค่ารักษา สำหรับผู้ที่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ ได้รับรายเดือนๆละ 20,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ และยามที่เจ็บป่วย ศิลปินแห่งชาติสามารถ เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามระเบียบกองทุนส่งเสริมงามวัฒนธรรม แต่ไม่เกินจำนวนเงินหนึ่งแสนบาทต่อปี รวมถึงค่าของเยี่ยมในยามเจ็บป่วยหรือในโอกาสสำคัญเท่าที่จ่ายจริง รายละไม่เกินสามพันบาทถ้วนต่อครั้ง

        ช่วยเหลือเรื่องภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ไฟไหม้ ศิลปินแห่งชาติจะได้รับเงินช่วยเหลือประสบสาธารณภัยเท่าที่เสียหายจริง รายละไม่เกินห้าหมื่นบาทต่อครั้ง

        ช่วยเหลือจนวันสุดท้าย วันที่ศิลปินแห่งชาติเสียชีวิตจะได้รับเงินช่วยเหลือ เพื่อร่วมบำเพ็ญกุศลศพรายละสองหมื่นบาท รวมถึงค่าเครื่องเคารพศพตามประเพณีที่เหมาะสมเท่าที่จ่ายจริง รายละไม่เกินสามพันบาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงรายละไม่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท

        นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ ได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการไว้ 5 ข้อ ได้แก่ จัดทำทำเนียบศิลปินทุกแขนงทั่วประเทศ / สรรหาศิลปินเพื่อประกาศยกย่องเกียรติคุณขึ้นเป็นศิลปินแห่งชาติ / จัดตั้งกองทุน (มูลนิธิ) สวัสดิการเพื่อศิลปิน / สนับสนุนให้ศิลปินได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงาน / อนุรักษ์และส่งเสริมให้มีการสืบทอดความรู้ ความสามารถของศิลปิน. 

    ศิลปินแห่งชาติ 4 ท่านแรกที่ทางสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 ได้แก่
    1. หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
    2. ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ สาขานาฏศิลป์
    3. นายเฟื้อ หริรักษ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์
    4. นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย

  นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติ (พ.ศ.2528) ถึงสิ้นปี พ.ศ. 2560 มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติรวมแล้ว 295 ท่าน เสียชีวิตแล้ว 128 ท่าน และมีชีวิตอยู่ 167 ท่าน

รายชื่อศิลปินแห่งชาติแยกรายปี คลิก

ศิลปินแห่งชาติ ปี 2560

1. สาขาทัศนศิลป์ จำนวน 5 คน ได้แก่
นายสมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์(จิตกรรม)
นายศราวุธ ดวงจำปา(ประติมากรรม)
นายเสวต เทศน์ธรรม(ประติมากรรม)
นายสมชาย แก้วทอง(การออกแบบแฟชั่น)
นายสิน พงษ์หาญยุทธ(สถาปัตยกรรม)

https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/theskal/wan-silpin/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1.jpg

2. สาขาวรรณศิลป์ จำนวน 3 คน ได้แก่
นางเพ็ญศรี เคียงศิริ
นายพิบูลศักดิ์ ละครพล
นายเทพศิริ สุขโสภา

https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/theskal/wan-silpin/%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C.jpg

3. สาขาศิลปะการแสดง จำนวน 9 คน ได้แก่
นางสุรางค์ ดุริยพันธุ์ (คีตศิลป์)
นางรัตติยะ วิกสิตพงศ์(นาฏศิลป์ไทย)
นายบุญศรี รัตนัง(ดนตรีพื้นบ้านล้านนา)
นายวิรัช อยู่ถาวร (ดนตรีสากล)
ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา (นาฎศิลป์สากล)
นายพิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์(ดนตรีไทยสากล)
ศาสตราจารย์ มัทนี รัตนิน (ละครเวที)
นายยุทธนา มุกดาสนิท(ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์
นายคเณศ(รอง) เค้ามูลคดี (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)

https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/theskal/wan-silpin/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8E.jpg