ใบความรู้การตัดต่อ VDO

ความหมายของการตัดต่อวิดีโอ

การตัดต่อ หมายถึง การลำดับภาพหลายภาพมาประกอบกัน โดยเรียงร้อยตามสคริป ไม่ให้ภาพ

ขัด กับความรู้สึก หรือมีเหตุการณ์ซ้ำซ้อนกัน จากนั้นใช้เทคนิคการตัดต่อ ให้ภาพและเสียงมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน โดยรักษาคุณภาพของภาพและเสียงให้กลมกลืนกัน

ความสำคัญของการตัดต่อวิดีโอ

1. ช่วยเชื่อมต่อภาพ ในการถ่ายวิดีโอนั้นไม่นิยมแช่กล้องจับภาพหรือฉากใดฉากหนึ่งนานเกินไป

เพราะ จะทำให้ผู้ชมเบื่อหน่าย ดังนั้นจึงมีการถ่ายเป็นช็อตสั้นๆ ในมุมที่แตกต่างกัน จากนั้นนำภาพทั้งหมดมาเรียงล้าดับเข้าด้วยกันให้ถูกต้องตามเรื่องราวหรือ สคริป โดยใช้เทคนิคการเปลี่ยนภาพเข้ามาช่วยให้เนื้อหามีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน

2. ช่วยแก้ไขส่วนบกพร่อง แม้ในการบันทึกวีดิโอวิดีโอจะดำเนินการอย่างระมัดระวังแล้วก็ตาม

แต่ยังพบข้อบกพร่องอยู่เสมอ ดังนั้นจึงใช้ตัดต่อเข้ามาช่วยตัดภาพที่ไม่ต้องการทิ้งและแทรกภาพใหม่เข้าไปแทนที่

3. ช่วยให้งานออกมาตามเวลาที่กำหนด ในการบันทึกวิดีโอรายการต่างๆ แม้ว่าจะบันทึกภาพที่ดี

สวย และมีประโยชน์เพียงไร ก็จำเป็นจะต้องเลือกภาพนั้นมาตัดต่อให้ได้ความยาวพอเหมาะกับเวลาที่กำหนด

4. ช่วยสร้างเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง การลำดับภาพเป็นการนำภาพแต่ละฉากแต่ละตอนมา

เชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างมีศิลปะ สอดแทรกรายละเอียดและให้อารณ์ความรู้สึกตามต้องการ เพื่อให้รับชมเรื่องราวได้อย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์ของการตัดต่อวิดีโอ

ในการตัดต่อมีวัตถุประสงค์อยู่ 5 ประการ ดังนี้

1. เพื่อคัดเลือก ในการบันทึกวิดีโอช็อตหนึ่งๆ ให้ได้ภาพสวยงามตามสคริป ต้องดำเนินการ

บันทึกภาพหลายๆ มุม เพื่อเป็นตัวเลือกในการนำไปใช้อย่างเหมาะสม

2. เพื่อลำดับภาพ เมื่อคัดเลือกช็อตต่างๆ ได้ แล้ว จึงนำมาเรียงลำดับให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง หรือ

สคริปต์ที่วางไว้

3. เพื่อปรับความยาว หลังจากที่น าช็อตต่างๆ มาเรียงกันแล้ว ความยาวของภาพทั้งหมดอาจจะสั้นหรือยาวเกินไป จึงต้องมีการตัดทิ้ง หรือแทรกภาพทีต้องการเพิ่มเติม และปรับต้าแหน่งเข้าออกและความยาวของแต่ละท่อนให้เหมาะสม

4. เพื่อปรับแต่งแก้ไขภาพช็อตที่เราเลือก อาจมีแสง สีผิดเพี้ยน หรือภาพเกิดการกระตุก การตัดต่อช่วยให้เราปรับแต่งแก้ไขสิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้

5. เพื่อปรุงแต่งเป็นการเพิ่มสีสัน เช่น การใส่เสียงดนตรีประกอบ เสียง Effect การใส่ Transition เป็นต้น จะทำให้งานนำเสนอมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น แต่ไม่ควรใช้เทคนิคมากเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อหาดู

เลอะเทอะ และมีความน่าสนใจน้อยลง

ข้อควรคำนึงในการตัดต่อวิดีโอ มีดังนี้

1. แรงจูงใจ (Motivation) ควรการเลือกใช้ Effect และ Transition ในการตัดต่อให้ดูแล้วไม่สะดุดกับความรู้สึก เพื่อให้ ผู้ชมเกิดแรงจูงใจในการรับชมอย่างต่อเนื่อง

2. ข้อมูล (Information) หรือภาพ ในการตัดต่อวิดีโอไม่ควรเลือกใช้ช็อตเดิมซ้ำหลายครั้ง แม้ว่าภาพนั้นจะมีความเหมาะสมหรือสวยงามเพียงใดก็ตาม เพราะจะทำให้ผู้ชมเกิดความเบื่อหน่ายได้

3. องค์ประกอบภาพในช็อต (Shot Composition) ช่างภาพจะเป็นผู้บันทึกวิดีโอในหลายช็อต หลายมุม โดยผู้ตัดต่อต้องเป็นผู้เลือกภาพที่มีองค์ประกอบสมบูรณ์ และสวยงามที่สุดมาใช้งาน

4. เสียง (Sound) ควรเลือกเสียงให้มีความเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง เพื่อสร้างอารมณ์ และความรู้สึกให้ผู้ชมคล้อยตาม เช่น เสียงคลื่น สร้างบรรยากาศสบายๆ, เสียงที่สร้างความกดดันขณะผู้ร้ายจะทำร้ายพระเอก เป็นต้น

5. ความต่อเนื่อง (Continuity) มีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นความต่อเนื่องของเนื้อหา การเคลื่อนไหว ตำแหน่ง เสียง ฯลฯ ผู้ตัดต่อควรเลือกความต่อเนื่องด้านต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์กัน เช่น ถ้าช็อตแรกนางเอกกำลังปั่นจักรยาน แล้วมีมอเตอร์ไซต์ขี่ผ่านมา ช็อตต่อมาจะได้ยินเสียงมอเตอร์ไซต์จนกว่ามอเตอร์ไซต์จะขี่ผ่านไป เป็นต้น

ระบบการตัดต่อวิดีโอแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้คือ

1. ระบบลิเนียร์ (Linear)

2. ระบบนอนลิเนียร์ (Non-Linear)

1. ระบบลิเนียร์ (Linear) เป็นระบบการตัดต่อ โดยใช้เครื่องเล่นวิดีโออย่างน้อย 1 เครื่องในการเลือกภาพ จากนั้นนำภาพที่เลือกไว้ มาทำการตัดต่อโดยใช้ switcher และเครื่องบันทึกจะทำการบันทึก ภาพ นั้นๆ เพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวตามต้องการ แต่หากต้องการใส่ Transition ต้องใช้เครื่องเล่นวิดีโอเพิ่มอีก 1 เครื่อง ซึ่งต้องมีชุดควบคุมเครื่องเล่นเทป เครื่องสลับภาพ เครื่องใส่เอฟเฟ็กต์ และอุปกรณ์ซ้อนตัวหนังสือ โดยชุดควบคุมเหล่านี้อาจรวมอยู่ในอุปกรณ์ชิ้นเดียวกันหรือแยกชิ้นก็ได้ การตัดต่อด้วยระบบนี้มีขั้นตอนที่ซับซ้อน หากเกิดข้อผิดพลาด ต้องดำเนินการแก้ไขตั้งแต่จุดผิดพลาดไปจนถึงจุดสุดท้าย ระบบนี้จึงไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร เพราะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทั้งค่าเทป และค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ เป็นต้น

รูปที่ 1 ระบบการตัดต่อ โดยใช้เครื่องเล่นวิดีโอ 1 เครื่อง

รูปที่ 2 ระบบการตัดต่อ โดยใช้เครื่องเล่นวิดีโอมากกว่า 1 เครื่อง

2. ระบบนอนลิเนียร์ (Non-Linear) เป็นการตัดต่อโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นหลัก โดยมีจอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ 2 จอ จอหนึ่งเป็นภาพสัญญาณที่ส่งออกจากคอมพิวเตอร์ อีกจอแสดงภาพลำดับ การตัดต่อ และมีซอฟท์แวร์ที่ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ คือ การจับภาพ (Capture) กรรมวิธีในการตัดต่อ (Actual Editing) และการนำออก (Exporting) การตัดต่อระบบนี้สามารถเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ดิจิตอล ที่การ

ลำดับภาพสามารถเลือกช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ สามารถแก้ไขได้สะดวก

ข้อดีของระบบนี้ คือ

1. ประหยัดค่าใช้จ่าย และพื้นที่การทำงาน

2. สามารถค้นหา คัดเลือกภาพ ทำงานในช่วงต่างๆ ได้อย่างอิสระ และรวดเร็ว

3. สามารถผลิตชิ้นงานได้ง่าย และน่าสนใจ เช่น ใส่เอ็ฟเฟ็กต์ กราฟิก และแอนิเมชั่นได้หลากหลาย เป็นต้น

4. ชิ้นงานมีคุณภาพสูง

5. สามารถแบ่งกันใช้ทรัพยากรที่มีร่วมกันได้ เช่น เครื่องเล่นเทป, ฮาร์ดดิสก์, สแกนเนอร์

เป็นต้น

6. เผยแพร่ข้อมูลในรูปดิจิทัลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น บนอินเทอร์เน็ต บันทึกลงแผ่นวิดีโอซีดี ดีวีดี เป็นต้น

รูปที่ 3 ระบบนอนลิเนียร์

การวางแผนและการออกแบบงานในการตัดต่อภาพและเสียง

ในการตัดต่อภาพและเสียงวิดีโอนั้น จะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้ชิ้นงานออกมาตรงตามความต้องการ และมีประสิทธิภาพ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาแก้ไขภายหลัง โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

1. การวางแผน เป็นการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เรื่องราวที่จะถ่ายทำ วัตถุประสงค์ และระยะเวลา

ของเรื่อง

2. เขียนบทโทรทัศน์ (Script) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเปลี่ยนข้อความเป็นภาพและเสียง กำหนดมุมกล้อง เวลาที่ใช้ในแต่ละช็อต เป็นต้น

3. เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้ในการถ่ายทำ เช่น อุปกรณ์ในการถ่ายทำ อุปกรณ์ประกอบฉาก สถานที่ในการถ่ายทำ นักแสดง เป็นต้น

4. การถ่ายทำ เป็นการบันทึกภาพตามบทโทรทัศน์

5. แคปเชอร์ (Capture) เป็นการนำภาพที่ได้ถ่ายทำไว้ มาบันทึกลงในฮาร์ดดิส

6. การตัดต่อ เป็นการนำภาพที่ได้จากการแคปเชอร์มาเรียงร้อยต่อกันตามลำดับของบทโทรทัศน์

7. ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง เมื่อได้ภาพตามต้องการแล้ว จึงทำการใส่เอ็ฟเฟ็กต์ ภาพนิ่ง

ข้อความ และเสียง เป็นต้น เพื่อให้งานวิดีโอเกิดความสมบูรณ์ สวยงาม น่าสนใจ

8. แปลงวิดีโอ สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD, DVD หรือเป็นไฟล์ WMV สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต เพื่อนำไปใช้งานได้ตามต้องการ

รูปแบบไฟล์ภาพ

มีหลากหลาย แต่ที่นิยมนำมาใช้ในงานตัดต่อ มีดังนี้

BMP (Bitmap)

เป็นไฟล์ที่สามารถเก็บรายละเอียดของภาพเป็นอย่างดี สามารถแก้ไขปรับแต่งสี ตกแต่งภาพได้ง่าย

และสวยงาม แต่มีขนาดใหญ่ ใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บจำนวนมาก ทำให้น ามาใช้งานไม่สะดวก ก่อนนำไปใช้

งาน จึงควรแปลงไฟล์ภาพให้มีขนาดเล็กลง แต่คงไว้ซึ่งคุณภาพของภาพเช่นเดิม เช่น แปลงไฟล์เป็น .jpeg หรือ .gif

รูปที่ 4 ตัวอย่างรูปแบบ BMP

JPEG (Joint Photographic Experts Group)

เป็นการเก็บไฟล์ภาพแบบที่บีบอัด สามารถทำภาพ ให้มีขนาดของไฟล์ภาพเล็กกว่าแบบ Bitmap หลายสิบเท่า กำหนดขนาดของไฟล์ได้ตามความเหมาะสม เหมาะสมกับการนำเสนอทั้งระบบสื่อมัลติมีเดีย และเว็บไซต์ ไม่นิยมใช้กับภาพที่เป็นลายเส้นหรือไอคอนต่าง ๆ

รูปที่ 5 ตัวอย่างรูปแบบ JPEG

GIF (Graphics Interlace File)

เป็นวิธีการเก็บไฟล์ภาพแบบบีบอัดคล้ายกับ JPEG โดยทั่วไปแล้วไม่สามารถเก็บภาพที่ถ่ายจาก

ธรรมชาติได้มีขนาดเล็กเท่ากับแบบ JPEG เหมาะส าหรับภาพที่ไม่ต้องการความคมชัด จ านวนสีและความ

ละเอียดของภาพมากนัก นอกจากนี้ยังสามารถเก็บภาพไว้ได้หลายๆ ภาพในไฟล์เดียว จึงถูกน าไปใช้สร้าง

ภาพเคลื่อนไหวง่ายๆ

รูปที่ 6 ตัวอย่างรูปแบบ GIF

TIFF (Tagged Image File Format)

เป็นไฟล์ที่ใช้สำหรับงานกราฟิกทุกประเภท แต่เน้นงานสิ่งพิมพ์เป็นหลัก ไฟล์ประเภทนี้สามารถ

แสดงผลความละเอียดของภาพได้ทุกระดับ ตั้งแต่ภาพขาวดำไปจนถึงภาพสี มีความยืดหยุ่น และ

เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เช่น MAC , WINDOWS

รูปที่ 7 ตัวอย่างรูปแบบ TIFF

รูปแบบของไฟล์เสียงชนิดต่าง ๆ

ไฟล์เสียงที่ใชกับคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทเหมาะกับงานที่ต่างกัน

ไฟล์ รูปแบบหลักๆที่ใช้กับพีซี ไดแก่ Wave, CD Audio, MP3, WMA, RA ซึ่งทั้งหมดนี้ขอเรียกรวมกันว่า เป็นไฟล์รูปแบบคลื่นเสียง (waveform) ส่วนไฟล์เสียงอีกประเภทหนึ่งก็คือไฟล์ MIDI ซึ่งรายละเอียดของไฟล์เสียงแต่ละประเภท มีดังนี้

1. .wav (Wave) เป็น ไฟล์เสียงมาตรฐานที่ใช้กับ Windows มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ไฟล์มีขนาดใหญ่ครอบคลุมความถี่เสียงได้ทั้งหมด ทำให้คุณภาพเสียงดีมาก สามารถกำหนดคุณภาพเสียงได้หลากหลาย เช่น เสียงโมโนหรือสเตอริโอ

2. .cda (CD Audio) เป็น ไฟล์เสียงดิจิตอลที่มีรูปแบบเหมือนกับไฟล Wave ให้คุณภาพเสียงที่ดีเป็นธรรมชาติ โดยทั่วไปเรียก CD เพลง เมื่อนำมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมส าหรับเล่น CD จะมองเห็นข้อมูลเสียงในรูปของแทร็กเสียง (Audio Tack) ถ้าต้องการ copy หรือนำไฟล์ประเภทนี้มาใช้งานกับโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ จะต้องแปลงให้เป็นไฟล์ .wav เสียก่อน

3. .mp3 (MP3) เป็นไฟล์เสียงที่มีพื้นฐานจากไฟล์ Wave แต่มีขนาดเล็กกว่าประมาณ 8-10 เท่า เนื่องจากข้อมูลในไฟล์ถูกบีบอัดให้เล็กลงแต่ยังคงคุณภาพไว้ใกล้เคียงต้นฉบับ ไฟล์ MP3 ได้รับความนิยมมาก สำหรับการบันทึกเพลง ไฟล์ประเภทนี้ความยาว 4 นาที มีขนาดประมาณ 5MB สามารถ ก้อบปี้เก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ได้เหมือนไฟล์ข้อมูลปกติทั่วไป แต่การสร้างและการแก้ไขไฟล์ค่อนข้างซับซ้อน คือ ต้องบันทึกเสียงให้เป็นไฟล์ .wav จากนั้นจึงบีบอัดให้กลายเป็น .mp3

4. .wmv (Windows Media Audio) เป็นไฟล์เสียงดิจิตอลรูปแบบใหม่กว่า .mp3 มีการบีบอัดดีกว่า ทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งคุณสมบัติทั่วไปเหมือนกับ .mp3 เมื่อก่อนการเล่นไฟล์ประเภทนี้ต้องเล่นผ่านโปรแกรม Windows Media Player เท่านั้น แต่ปัจจุบันมีโปรแกรมหลายโปรแกรมที่สามารถเล่นไฟล์นี้ได้

5. .ra (Real Audio) เป็นไฟล์เสียงที่มีพื้นฐานมาจากไฟล์ .wav แต่ถูกบีบอัดให้เล็กลงด้วยเทคโนโลยีเฉพาะ ใช้การรับส่งข้อมูลเสียงทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก และต้องใช้กับโปรแกรม Real Player เท่านั้น

6. .mid (Musical Instrument Digital Interface) เป็นไฟล์เสียงที่มีขนาดเล็กมาก แก้ไขได้ง่าย แต่ไม่สามารถบันทึกเสียงร้องได้ นิยมใช้ในการเก็บข้อมูลที่เป็นเสียงดนตรี โดยจะบรรจุข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำให้เกิดเสียงดนตรี เมื่อเล่นไฟล์ .midi จะเป็นการสั่งให้อุปกรณ์นั้นๆ มีเสียงดนตรีออกมา เมื่อนำเสียงเหล่านั้นมาร้อยเรียงกันก็จะกลายเป็นท่วงทำนองดนตรี หรือเสียงเพลง ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเล่นไฟล์ .midi ได้ โดยใช้โปรแกรมประเภท MIDI Player

7. .aiff (Audio Interchange File Format) เป็น ไฟล์เสียงที่ไม่สามารถบีบอัดข้อมูลได้ ไฟล์จึงมีขนาดใหญ่ นิยมใช้กันมากในคอมพิวเตอร์ MAC ซึ่งไฟล์ .aiff เป็นได้ทั้งแบบโมโนและเสตอริโอ มีความละเอียดเริ่มต้นที่ 8 บิต/22 กิโลเฮริตซ์ 24/96 กิโลเฮริตซ์ หรือมากกว่า

8. .ogg (Ogg Vorbis) เป็นการบีบอัดไฟล์เพลงให้เล็กลงแบบใหม่ ทำให้ไฟล์ที่ได้มีขนาดเล็กกว่า .mp3 แต่ให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า สามารถเข้ารหัสเสียงได้หลายแบบทั้งโมโนและเสตอริโอ จนถึงระบบ 5.1 Surround Sound

9. .aac (Advanced Audio Coding) เป็น ไฟล์ที่พัฒนามาจากมาตรฐาน MPEG-2 จึงทำให้ไฟล์มีขนาดเล็ก และมีคุณภาพสูงกว่าไฟล์ .mp3 สุ่มความถี่ได้ถึง 96 kHz รองรับอัตราการเล่นไฟล์สูงถึง 576 Kbps สามารถแยกเสียงได้ถึงระบบ 5.1 ช่อง เทียบเท่า Dolby Digital

10. .m4a (MPEG-4 Audio) เป็น ไฟล์เพลงที่มีความสามารถในการบีดอัดได้หลายขนาด รองรับการเก็บชื่อเพลงและชื่ออัลบั้ม เป็นไฟล์ที่ผลิตโดยบริษัท Apple ซึ่งต้องเปิดใช้งานกับโปรแกรม iTune ไฟล์ชนิดนี้มีคุณสมบัติเหมือนกับ mpeg – 4