ประวัติโรงเรียน

ประวัติโรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ เป็นโรงเรียนสหศึกษาสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งขึ้นตามภูมิภาคต่าง ๆ ๕ ภูมิภาค ๕โรงเรียน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ ๕ รอบ ๖๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ โดยเริ่มประกาศจัดตั้ง

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ ใช้ชื่อว่าโรงเรียนนวมราชูทิศ จำนวน ๓ โรงเรียน ดังนี้

๑. โรงเรียนนวมราชูทิศ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๘

๒. โรงเรียนนวมราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๘

๓. โรงเรียนนวมราชูทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๘

ต่อมาในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๘ กระทรวงศึกษาธิการ เห็นสมควรให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน เพื่อความสมบูรณ์และความไพเราะในเชิงอักษรศาสตร์ โดยอาศัยอำนาจตามข้อความ ในข้อ ๒๓ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๑๖ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ดังนี้

๑. โรงเรียนนวมราชูทิศ กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร

๒. โรงเรียนนวมราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา เป็นโรงเรียนนวมินทราชูทิศทักษิณจังหวัดสงขลา

๓. โรงเรียนนวมราชูทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดมุกดาหาร เป็นโรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน จังหวัดมุกดาหาร

ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ เพิ่มอีก ๒ โรงเรียน คือ

๑. โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๙

๒. โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๙

กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรตินวมินทราชูทิศ ๕ ภูมิภาค ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อันเชิญพระมหาพิชัยมงกุฎครอบอุณาโลมรองรับด้วยโมลี ๒ ชั้น มีชื่อโรงเรียนอยู่ภายในเป็นตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน และเข็มตราสัญลักษณ์ประดับอกเสื้อนักเรียน เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคมพ.ศ.๒๕๓๕ และกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรตินวมินทราชูทิศ ทั้ง ๕ ภูมิภาค ร่วมกันกำหนดสัญลักษณ์อื่น ๆ ประจำโรงเรียนเหมือนกันทั้ง ๕ โรงเรียน เพิ่มขึ้นอีก ดังนี้

๑. สีประจำโรงเรียน น้ำเงิน – เหลือง -

สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์

สีเหลือง หมายถึง สีประจำวันจันทร์ อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

๒. คำขวัญประจำโรงเรียน รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ

๓. ปรัชญาประจำโรงเรียน ความรู้คู่คุณธรรม

๔. ปณิธานประจำโรงเรียน นวมินทราชูทิศ น้อมจิตเพื่อในหลวง

๕. ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นราชพฤกษ์

๖. เพลงประจำโรงเรียน เพลงมาร์ชนวมินท์ และ เพลงร่มราชพฤกษ์

ความหมายของชื่อและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของโรงเรียน

ชื่อ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ

ความหมาย โรงเรียนที่สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ แห่งราชจักรีวงศ์

ที่มาของชื่อ “นวมินทราชูทิศ”

นวมินทราชูทิศ ประกอบด้วยคำดังต่อไปนี้

นวม (นะ - วะ - มะ) เป็นคำ บาลีแปลว่า ที่ ๙

อินท (อิน - ทะ) เป็นคำ บาลี แปลว่า ผู้เป็นใหญ่

ราชา (รา - ชา) เป็นคำบาลี , สันสกฤต แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน

อุททิศย (อุด - ทิด - สะ - ยะ) เป็นคำสันสกฤต แปลว่า ทำเพื่อ , สละให้โดยเจาะจง

การประกอบคำ

๑. นวม + อินท สมาสแบบมีสนธิภายในคำ เป็น นวมินท

๒. ราชา + อุทิศ สมาสแบบมีสนธิภายในคำ เป็น ราชูทิศ

๓. นวมินท + ราชูทิศ สมาสแบบไม่มีสนธิภายในคำ เป็นนวมินทราชูทิศ

แปลว่า อุทิศให้พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่องค์ที่ ๙

ตราสัญลักษณ์โรงเรียน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ พระราชทาน ตราพระมหาพิชัยมงกุฎครอบอุณาโลม

รองรับด้วยโมลี ๒ ชั้น มีชื่อโรงเรียนอยู่ภายในเป็นตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนเฉลิมพระเกียรตินวมิ นทราชูทิศ ๕ ภูมิภาค

กรุงเทพมหานคร รองรับด้วยโมลีมีชื่อโรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร

ภาคใต้ รองรับด้วยโมลีมีชื่อโรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองรับด้วยโมลีมีชื่อโรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน

ภาคกลาง รองรับด้วยโมลีมีชื่อโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม

ภาคเหนือ รองรับด้วยโมลีมีชื่อโรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน เป็นโรงเรียนสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต๒๒ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๕ ถนนห้าธันวามหาราช อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เนื้อที่ ๑๐๐ ไร่ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้รับการอนุมัติให้ใช้ที่สาธารณะประโยชน์ตาดแคน เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียน ประกาศจัดตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

อักษรย่อ น.ม.อ.

พระพุทธรูปประจำโรงเรียน พระพุทธรูปปางลีลา

ผู้บริหารอดีต-ปัจจุบัน

๑. นายวิรัช บำรุงสวัสดิ์ (ปีการศึกษา ๒๕๒๘ - ๒๕๒๘)

๒. นางเพ็ญศรี รูปขจร (ปีการศึกษา ๒๕๒๘ - ๒๕๓๕)

๓. นายยงยุทธ สายคง (ปีการศึกษา ๒๕๓๕ - ๒๕๔๐)

๔. นายสว่าง สลางสิงห์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๕๐)

๕. นายสุรชัย ติยะโคตร (ปีการศึกษา ๒๕๕๐ – ๒๕๖๑)

๖. นายธนิต ทองอาจ (ปีการศึกษา ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔)

๗. นายเกษร สินพูน ๖. (ปีการศึกษา ๒๕๖ – ปัจจุบัน)


วิสัยทัศน์

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้คู่คุณธรรม น้อมนำศาสตร์พระราชาเป็นรากฐานในการพัฒนาตามมาตรฐานสากล สู่ศตวรรษที่ ๒๑ ภายในปี ๒๕๖๔

พันธกิจ

๑. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

๒. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ให้ครู นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ดำเนินชีวิตโดยน้อมนำ

ศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน

๓. ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ

๔. พัฒนาโรงเรียนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

ของโลกศตวรรษที่ ๒๑

๕. ประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และสร้างภาคีเครือข่าย เพื่อสนับสนุน

การจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

เป้าประสงค์

นักเรียนเป็นผู้มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานสากล สามารถคิดวิเคราะห์

คิดอย่างมีวิจารณญาณ และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การดำรงชีวิต

ครูและบุคลากรมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพตามศาสตร์พระราชาและมาตรฐานสากล พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ ๒๑

โรงเรียนมีอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ร่มรื่นสวยงาม มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเอื้อต่อการเรียนรู้

โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีเครือข่ายความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ ทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

กลยุทธ์

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสานกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔ จำนวน ๕กลยุทธ์ ดังนี้

กลยุทธ์ที่ ๑ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากล

และส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยี สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ ๒๑

กลยุทธ์ที่ ๒ พัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศเต็มตามศักยภาพ มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และน้อมนำแนวคิดตามศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต

กลยุทธ์ที่ ๓ ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพและการปฏิบัติตนตามวินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพครู

กลยุทธ์ที่ ๔ พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร สื่อ กิจกรรมเสริมหลักสูตรตลอดจนระบบการบริหารจัดการหลักสูตร

กลยุทธ์ที่ ๕ พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาโดยยึดหลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ

อัตลักษณ์

ทำดีเพื่อพ่อ สานต่อที่พ่อทำ

เอกลักษณ์

คุณธรรม คำพ่อสอน