ประโยชน์ของการทำประกันชีวิต

การประกันภัย คือ การบริหารความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่ง ซึ่งจะโอนความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยไปสู่บริษัทประกันภัย เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้

การประกัน (Insurance) คือการบริหารจัดการความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง โดยมีองค์ประกอบสามส่วน คือ

    • ผู้รับประกัน (Insurer)

    • ผู้เอาประกัน (Insured) หรือผู้ถือกรมธรรม์ (Policy Holder)

    • ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary)

การประกันจักต้องผ่านกระบวนการพิจารณารับประกัน (Underwriting) เพื่อผู้รับประกันจักประเมินความเสี่ยงล่วงหน้าของ บุคคล, กลุ่มบุคคล หรือ ทรัพทย์สิน นั้น ๆ พร้อมกำหนด รายละเอียดความคุ้มครอง และค่าเบี้ยประกัน ผู้รับประกันอาจรับประกัน โดยแบ่งความเสี่ยงมาส่วนหนึ่ง หรือ ปฏิเสธ หากความเสี่ยงนั้นไม่อาจรับได้ หรือ ผู้รับประกันอาจรับประกันโดยเพิ่มอัตราเบี้ยพิเศษ เพื่อให้สามารถครอบคลุมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

การทำประกัน เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ ถูกต้องตามกฎหมาย โดยคู่สัญญาต่างมีหน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบต่อกัน ผู้รับประกันจักต้องคุ้มครองผู้เอาประกันตามรายละเอียดในสัญญาเมื่อมีความ สูญเสีย เสียหายเกิดขึ้น โดยชดเชยตามรายละเอียดความคุ้มครอง ผู้เอาประกันก็มีหน้าที่ชำระเบี้ยประกันตามที่ระบุในสัญญาเพื่อให้ความคุ้ม ครองเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

การทำประกันจุดประสงค์แท้จริงเพื่อแบ่งเบาความเสี่ยง จากบุคคล, กลุ่มบุคคล หรือ ทรัพย์สินนั้น ๆ ออกเป็นส่วนโดยร่วมกันชดเชยเมื่อมีความสูญเสีย เสียหายเกิดขึ้น โดยยึดหลักสุจริตเป็นสำคัญ และการทำประกันมิใช่สัญญาเพื่อค้ากำไร

ความเป็นมาของการประกันภัย

มีเรื่องปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลเกี่ยวกับโจเซฟและความอดอยากในประเทศ อียิปต์ ซึ่งถือว่าเป็นโครงการประกันภัยอันแรกเท่าที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ เล่ากันว่า คืนวันหนึ่ง ฟาโรห์ทรงพระสุบินว่า มีวัวอ้วนเจ็ดตัวกำลังถูกวัวผอมเจ็ดตัวกัดกิน โจเซฟทำนายฝันว่าประเทศอียิปต์จะมีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์เป็นเวลา เจ็ดปี และต่อจากนั้นจะเกิดความแห้งแล้ง ประชาชนจะอดอยากปากแห้งเป็นเวลาเจ็ดปี ดังนั้น จึงทูลเสนอต่อกษัตริย์ฟาโรห์ให้สะสมธัญญาหารในปีที่สมบูรณ์ไว้สำหรับเลี้ยง ประชาชนในปีที่ข้าวยากหมากแพง วิธีนี้เรียกได้ว่าเป็นหลักประกันภัยพื้นฐาน กล่าวคือ เก็บออมตั้งแต่วันนี้เพื่อไว้ใช้ในอนาคตซึ่งหาความแน่นอนไม่ได้

ในประเทศจีน ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล พอค้าชาวจีนได้พัฒนาวิธีการประกันภัยขึ้นสำหรับการขนส่งสินค้าตามลำน้ำแยงซี ซึ่งมีสายน้ำที่เชี่ยวกราก และเรื่อบรรทุกสินค้ามักอับปางลงอยู่เสมอ เนื่องจากมีหินใต้น้ำและเกาะแก่งที่คดเคี้นว ซึ่งเป็นอันตรายตาอการเดินเรือ มีปรากฏอยู่เสมอว่าพ่อค้าบางคนต้องสิ้นเนื้อประดาตัว เพราะสินค้าได้รับความเสียหายหมด ดังนั้น ด้วยความกลัว พ่อค้าเปล่านั่นจึงหาวิธีการกระจายความเสี่ยงภัยออกไป โดยนำสินค้าของตนบรรทุกไว้ในเรือลำอื่นหลายลำ เฉลี่ยกันไปจนครบหีบห่อสินค้า ซึ่งถ้าเรือลำใดลำหนึ่งจมลง ก็หมายความว่า สินค้าของพ่อค้าแต่ละคนสูญเสียเพียงคนละ 1 หีบห่อเท่านั้น ซึ่งวิธีการเช่นนี้เป็นที่มาของการประกันภัยในปัจจุบัน

ราวก่อนศตววษที่ 13 และ ปรกฏว่ามีการประกันภัยทางทะเลกันอย่างแพร่หลายตามเมืองต่าง ๆ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยน สัญญาการประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลฉบับแรกของโลกเท่าที่มีปรกฏเป็นหลัก ฐานจนถึงปัจจุบันนี้ คือ แบับลงวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ.1347 ออกให้ ณ เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี

ส่วนสัญญาประกันภัยฉบับแรกของอังกฤษ เท่าที่ปรกฏตามหลักฐานซึ่งยังคงเก็บรักษาไว้ถึงปัจจุบัน คือ " Broke Sea Insurance Policy ? ปี ค.ศ. 1547 วิธีทำประกันภัยสมัยนั้นคือเจ้าของเรือ หรือพ่อค้าที่ต้องการซื้อประกันภัย จะทำบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินต่าง ๆ ที่จะบรรทุกลงเรือ ใต้รายการเหล่านี้ นายธนาคารหรือบุคคลอื่น ๆ ที่ประสงค์จะรับประกันภัยจะลงชื่อพร้อมกับระบุจำนวนเงินที่ตนจะรับเสี่ยง แล้วลงลายมือชื่อไว้ ( และนี่คือที่มาของคำว่า Underwriter ) และเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการเข้ารับเสี่ยงภัย ผู้ลงนามข้างใต้ ( Underwriter ) แต่ละคนจะได้รับค่าตอบแทน เรียกว่า เบี้ยประกันภัย

ในช่วงเวลานั้น สัญญาประกันภัยส่วนมากเป็น สัญญาประกันภัยทางทะเล ต่อมาก็ขยายออกไปคุ้มครองถึงการเสียชีวิตของนายเรือและลูกเรือ รวมทั้งพ่อค้าที่คุมสินค้าไปกับเรือ ตลอดจนคุ้มครองจำนวนเงินที่จะเป็นค่าไถ่ตัวเมื่อถูกโจรสลัดจับตัวด้วย

ส่วนกรมธรรม์ ประกันชีวิตดังที่เรารู้จักกันในขณะนี้ มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1583

จุดเริ่มต้นของบริษัทประกันภัย

บริษัทที่รับประกันอัคคีภัยในรูปแบบสมัยใหม่ มีจุดกำเนิดจากการเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ในนครลอนดอนในราวเดือนกันยายน ค.ศ. 1666 เพลิงไหม้ครั้งนั้นทำให้อาคารบ้านเรือนเกือบสามในสี่ของนครลอนดอนต้องพินาศ ลง

จากเหตุไฟไหม้ข้างต้น ในปีถัดมา ดร.นิโคลาส บาร์บอน รับหุ้นส่วนเพิ่มขึ้นเพื่อเข้าเฉลี่ยความเสี่ยง ซึ่งแต่เดิมตนเป็นผู้รับภาระอยู่คนเดียว สามปีต่อมาคู่แข่งขันเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งชื่อ " The Friendly ? ทั้งสองแห่งนี้ออกกรมธรรม์รับประกันอัคคีภัย และจัดพนักงานดับเพลิงไว้สำหรับผจญเพลิงที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่เอา ประกันภัยไว้

สำนักงานที่รับประกันอัคคีภัยในสมัยนั้น ไม่อาจเรียกว่าเป็น " บริษัท ? ในความหมายของบริษัทรับประกันภัยในปัจจุบัน ซึ่งมีขนาดใหญ่โตและมีผู้ถือหุ้นจำนวนมากได้ เพราะในสมัยนั้นสำนักงานที่รับประกันภัยเป็นธุรกิจของรายบุคคลหรือหุ้นส่วน กลุ่มน้อย ซึ่งจำกัดการรับประกันภัยเฉพาะอาคารที่อยู่อาศัยเท่านั้น

อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ. 1710 มีการจัดตั้งบริษัทรับประกันอัคคีภัยขึ้นเป็นครั้งแรก คือ The Sun Insurance Office Of London ซึ่งยังคงดำเนินกิจการอยู่ตราบจนทุกวันนี้ในชื่อของ Royal & Sun Insurance Plc.

ในเวลาเดียวกันการประกันภัยทางทะเลและการประกันชีวิตก็เข้าสู้ระยะของการ เติบโตอย่างรวดเร็วก่อนปี ค.ศ. 1699 ธุรกิจประกันภัยส่วนใหญ่มักใช้ร้านกาแฟในนครลอนดอนเป็นที่ติดต่อธุรกิจกัน ร้านกาแฟกลายเป็นสถานทีที่คนนิยมไปพบปะกันเพื่อกระจายหรือรับข่าวสารประจำ วัน

หนึ่งในจำนวนร้านกาแฟเหล่านี้ เป็นของ Mr. Edward Lloyd ตั้งอยู่บนถนนลอมบาร์ค ที่ร้านนี้เป็น สถานที่ที่พ่อค้า นักธุรกิจและนายเรือ ตลอดจนผู้สนใจในการประกันภัยมักจะมาพบปะพูดคุยรับฟังข่าวสารต่าง ๆ เช่นเรื่องเรือที่มาเทียบท่า เรือ ที่กำลังเดินทางมาใกล้ถึงที่หมาย เรือที่อับปาง รวมทั้งเป็นที่ตกลงทำสัญญาประกันภัยกันด้วย ในที่สุดก็กลายเป็นที่มาของสมาคมผู้รับประกันภัยแห่งลอยด์ หรือลอยด์แห่งลอนดอน ( Lloyds Of London ) ซึ่งเป็นสถาบันประกันภัยที่มีความสำคัญระดับนานาชาติจวบจนทุกวันนี้

ในปี ค.ศ. 1720 บริษัทอังกฤษสองแห่ง ได้ซื้อรอยัลชาร์เตอร์ด้วยเงินจำนวนมาก เพื่อประกอบธุรกิจประกันภัยทางทะเล ซึ่งต่อมามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ในนามบริษัท ลอนดอน แอนด์ รอยัลเอ็กซ์เชนจ์ ( London & Royal Exchange ) และนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งการประกอบธุรกิจการประกันภัยขนาดใหญ่ใน ปัจจุบัน ในปีถัดมาบริษัทนี้ได้รับอนุญาตให้รับประกันชีวิตด้วย

การปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ทำให้เกิดความต้องการในด้านการรับประกันอุบัติเหตุ และทำให้มีการก่อตั้งบริษัทรับประกันใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เครื่องจักรใหม่ ๆ ที่นำมาติดตั้งกับโรงงาน และหัวรถจักรสมัยใหม่ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและชีวิตของบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างมาก การประกันภัยนอกจากจะช่วยให้การคุ้มครองอุบัติเหตุเหล่านี้ในด้านการเงิน แล้ว ยังงมีบทบาทอย่างสำคัญในการส่งเสริมให้มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย และมีส่วนช่วยในการกำหนดกฎระเบียบในการรักษาความปลอดภัยด้วย

ก่อนปี ค.ศ. 1880 เมื่อลูกจ้างได้รับบาดเจ็บในขณะปฏิบัติงาน นายจ้างมักมีข้อต่อสู้ทางกฎหมายทำให้พ้นผิด ไม่ต้องรับผิดชอบต่อลูกจ้าง แต่ครั้นเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติความรับผิดของนายจ้างในปี ค.ศ. 1880 ( Employer's Liability Act 1880 ) บรรดาข้อต่อสู้ทางกฎหมายเหล่านั้น ก็ถูกลบล้างออกไปโดยกฎหมายฉบับนี้ ยังผลให้เกิดความต้องการประกันภัย " ความรับผิดชอบของนายจ้าง ? ขึ้น และในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ลูกจ้างก็ยิ่งได้รับการคุ้มครองเพิ่มขึ้น เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเงินทดแทนแรงงาน ( Workers'Compensation Act )

ประโยชน์ของการทำประกันชีวิต

ความหมาย

การประกันชีวิต คือ การที่คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเพื่อช่วายกันเฉลี่ยเงินจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย อันเกิดจากการตาย การสูญเสียอวัยวะ การทุพพลภาพ การเจ็บป่วย หรือการไม่มีรายได้ในยามแก่ชรา โดยบริษัทประกันชีวิตจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเก็บรวบรวมเงินเฉลี่ยแล้ว นำไปจ่ายแก่ผู้ประสบภัย ซึ่งจำนวนเงินก้อนที่ผู้เอาประกันภัยได้รับก็คือ เงินเอาประกันภัย ส่วนเงินเฉลี่ยที่เก็บจากแต่ละคนจะเรียกว่า เบี้ยประกันภัย

ประโยชน์

ประโยชน์ของการประกันชีวิต คือ ช่วยสร้างหลักประกันและความมั่นคงให้แก่ผู้เอาประกันภัยและครอบครัว ช่วยให้เกิดการออมทัพย์ซึ่งจะเป็นแหล่งระดมเกิดเงินทุนในการนำไปพัฒนาประเทศ และผู้เอาประกันภัยสามารถนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยของประกันชีวิต ที่มีระยะเวลาเอาประกันภัยไม่ต่ำกว่า 10 ปี ไปหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้ไม่เกิน 50,000 บาท

แบบกรมธรรม์

กรมธรรม์ประกันภัยของการประกันชีวิต แบบพื้นฐานมี 4 แบบ

1) แบบสะสมทรัพย์ คือ สัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันภัยชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ ผู้เอาประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาเอาประกันภัยก่อนวันครบกำหนดสัญญา

2) แบบตลอดชีพ คือ สัญญาประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้ประกันภัยเสียชีวิตหรือผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 99 ปี บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย

3) แบบชั่วระยะเวลา คือ สัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้ รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาเอาประกันภัยก่อนวันครบกำหนดสัญญา เท่านั้น

4) แบบเงินได้ประจำ คือ สัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินงวดเท่า ๆ กัน ทุกเดือนให้แก่ผู้เอาประกันภัยขณะที่มีชีวิตอยู่ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น 10 ปี หรือ 20 ปี หรือตลอดชีพ

ข้อแนะนำในการทำประกันชีวิต

1. เลือกแบบการประกันชีวิตที่มีผลประโยชน์ตรงกับความต้องการรวมทั้งพิจารณาถึง จำนวนเบี้ยประกันภัย ว่าสามารถชำระได้จนครบกำหนดระยะเวลาชำระเบี้ย เพื่อป้องกันกรมธรรม์ขาดอายุ

2. การกรอกใบคำขอเอาประกันภัย ต้องกรอกตามความเป็นจริง ถ้าผู้อื่นกรอกให้ต้องตรวจสอบความถูกต้องก่อนลงลายมือชื่อ

3. เมื่อชำระเบี้ยประกันภัยต้องได้รับใบเสร็จรับเบินที่เป็นแบบฟอร์มของบริษัท ในกรณีที่ชำระเบี้ยประกันภัยงวดแรก จะเป็นใบเสร็จรับเงินชั่วคราว

4. เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว ขอให้ตรวจสอบความถูกต้องของแบบการประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประโยชน์ จำนวนเงินเอาประกันภัย จำนวนเบี้ยประกันภัย เป็นต้น และสิ่งที่สำคัญอ่านกรมธรรม์ประกันภัยให้ทราบถึงกานจ่ายเงินตามกรมธรรม์ รวมทั้งข้อยกเว้นที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

5. แจ้งผู้รับประโยชน์ทราบว่ามีการทำประกันชีวิต และเก็บกรมธรรม์ประกันภัยไว้ที่ใดเมือเกิดเหตุจะได้ติดต่อขอรับเงินได้ทันที

หน้าที่ของผู้เอาประกันภัย

1. การเปิดเผยข้อความจริงในการขอทำประกันชีวิต

หากผู้เอาประกันภัยมิได้ชำระเบี้ยประกันภัยเมื่อครบกำหนด ชำระ บริษัทจะผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัยให้อีก 30 หรือ 60 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หรือสัญญาเพิ่มเติมแต่ละแบบ ในระหว่างระยะเวลาผ่อนผันดังกล่าว ถ้าผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายตามความคุ้มครองที่ระบุไว้ กรมธรรม์หรือสัญญาเพิ่มเติมแต่ละแบบยังคงให้ความคุ้มครองดังกล่าว

2. การกู้ยืมเงินโดยมีกรมธรรม์ประกันภัยเป็นประกัน

เมื่อกรมธรรม์ยังมีผลบังคับ และมีมูลค่าเงินสดผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอกู้เงินจากบริษัทและจำนวนเงินที่ ขอกู้ยืมนั้นจะไม่เกินมูลค่าเงินสด

3. การเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อขอรับเงินคืน3

เมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยติดต่อกันเป็น เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีขึ้นไป กรมธรรม์จะมีมูลค่าเงินสดเกิดขึ้น ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิของเวนคืนกรมธรรม์เพื่อรับเงินสดเท่ากับจำนวนเงินที่ ระบุในตาราง มูลค่าเวนคืนเงินสด ณ สิ้นปีกรมธรรม์นั้น ๆ

4. การเปลี่ยนกรมธรรม์เป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ

ถ้าผู้เอาประกันชีวิตได้ส่งเบี้ยประกันติดต่อกันมาเป็น เวลา 2 ปาขึ้นไปแล้ว และไม่ประสงค์ที่จะชำระเบี้ยประกันต่อไปอีก แต่ต้องการได้รับความคุ้มครองเท่ากับระยะเวลาเดิม บริษัทประกันชีวิตจะนำมูลค่าเงินสดของกรมธรรมืประกันชีวิตมาซื้อความคุ้ม ครอง โดยบริษัทจะจ่ายเงินตามมูลค่าใช้เงินสำเร็จที่กำหนดไว้ในตารางมูลค่า กรมธรรม์เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเอาประกันภัย หรือเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต

5. การเปลี่ยนกรมธรรม์เป็นการประกันภัยแบบขยายเวลา

ถ้าผู้เอาประกันชีวิตได้ส่งเบี้ยประกันภัยติดต่อกันมา เป็นเวลา 2 ปีขึ้นไปแล้ว และไม่ประสงค์ที่จะชำระเบี้ยประกันภัยต่อไปอีก แต่ต้องการได้รับความคุ้มครองในจำนวนเงินเอาประกันชีวิตเท่าเดิม บริษัทประกันชี่วิตจะนำมูลค่าเงินสดของกรมธรรม์ประกันชีวิตมาซื้อความคุ้ม ครอง โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าผู้เอาประกันชีวิตเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในตารางขยายเวลา ท้ายกรมธรรม์บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันชีวิตให้กับผู้รับประโยชน์ ถ้ามีจำนวนเงินเหลือปรากฏในตารางมูลค่าขยายเวลาที่แนบท้ายกรมธรรม์ และผู้เอาประกันภัยยังมีชีวิตอยู่ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเอาประกันภัยบริษัทก็จะคืนเงินที่เหลือให้ด้วย

หน้าที่ของผู้เอาประกันภัย

1. การเปิดเผยข้อความจริงในการขอทำประกันชีวิต

การเปิดเผยข้อความจริงในขณะทำสัญญาประกันภัย จะทำให้กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับสมบูรณ์ บริษัทมี่สิทธิปฏิเสธการจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยโดยการบอกล้างสัญญาได้

2. การชำระเบี้ยประกันภัย

การชำระเบี้ยประกันภัย จะทำให้กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับและได้รับความคุ้มครองตลอดจนสิทธิประโยชน์เต็มตามจำนวนเงินเอาประกันภัย

3. การแจ้งการย้ายที่อยู่หรือการเปลี่ยนชื่อนามสกุล

การแจ้งการย้ายที่อยู่หรือการเปลี่ยนชื่อนามสกุลให้บริษัททราบเพื่อประโยชน์ในการที่บริษัทจะติดต่อผู้เอาประกันภัยได้ถูกต้อง

บริษัทจะปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรณีดังต่อไปนี้

1. การปกปิดข้อความจริงและแถลงข้อความเท็จ

การที่ผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อความจริง ตลอดจนการแถลงข้อความที่เป็นเท็จในใบคำขอเอาประกันภัย ซึ่งเป็นสาระสำคัญในการพิจารณารับประกันชีวิต บริษัทมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย โดยการบอกล้างสัญญาภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันทำสัญญาประกันภัย หรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย

2. ผู้เอาประกันภัยฆ่าตัวตายโดยเจตนาภายใน 1 ปี

การฆ่าตัวตายโดยเจตนาภายใน 1 ปี ของผู้เอาประกันภัย นับแต่วันทำสัญญาหรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย ถือเป็นข้อยกเว้นการจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยตามกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ฆ่าตัวตาย เพื่อหวังจำนวนเงินเอาประกันภัย

3. ผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันภัยโดยเจตนา

ถือเป็นข้อยกเว้นการจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยตามกฎหมาย เพราะบุคคลจะรับประโยชน์จากการทำผิดของตนไม่ได้ แต่ถ้ามีผู้รับประโยชน์มากกว่า 1 คน และไม่มีส่วนร่วมในการฆ่าผู้เอาประกันภัยแล้ว บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ที่ไม่มีส่วนในการ ฆ่าผู้เอาประกันภัยตามส่วน

4. การเสียชีวิตโดยธรรมชาติในระยะเวลารอคอย

กรมธรรม์ประกันภัยบางประเภทที่การชำระเบี้ยประกันภัยเป็น รายเดือนมีจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ และการรับประกันชีวิตไม่มีการตรวจสุขภาพผู้ขอเอาประกันภัย เงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยจะมีระยะเวลารอคอย 180 วัน นับแต่วันทำสัญญา หรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้ายหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตโดยธรรมชาติใน ช่วงระยะเวลารอคอย บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยที่ชำระไปแล้วคืนให้ แต่ถ้าเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุบริษัทจะต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้

5. การปกปิดอายุจริงของผู้เอาประกันภัย อยู่นอกจำกัดอัตราทางการค้าปกติของบริษัท

หากบริษัทพิสูจน์ได้ว่าในขณะที่ทำสัญญาประกันภัย อายุที่ถูกต้องแท้จริงาของผู้เอาประกันภัยอยู่นอกจำกัดอัตราการค้าปกติแล้ว บริษัทมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยโดยการบอกล้างสัญญาประกัน ภัยได้

การประกันภัยรถยนต์

การประกันภัยรถยนต์ คือการประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์

จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Third Party Insurance) หมายความถึง การประกันภัยรถยนต์ที่ถูกบังคับโดยกฎหมาย เพื่อความคุ้มครองต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกายบุคคล ผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายที่เรียกว่า"พระราชบัญญัติ" คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ( พ ร บ ) เพื่อให้ประชาชน ผู้ประสบภัย ได้รับความคุ้มครอง และการชดใช้ค่าเสียหายที่แน่นอน รวดเร็ว และเป็นธรรม

2. การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance) หมายความถึง การประกันภัยที่เกิดขึ้น โดยความสมัครใจของ เจ้าของรถยนต์ ผู้ครอบครองรถยนต์หรือ ผู้ขับขี่รถยนต์โดยไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับโดยกฎหมาย แต่อย่างใด การประกันภัยรถยนต์ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาดประกันภัยในปัจจุบันนี้เป็นการ ประกันภัยในภาคสมัครใจ

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบบใหม่ แบ่งออกเป็น 2 แบบ

1. กรมธรรม์แบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ ( Un-Named Driver ) เป็นกรมธรรม์แบบเดิมที่

คุ้มครองผู้ขับขี่คนใดก็ได้ที่ผู้เอาประกันภัย ยินยอมให้ขับขี่เสมือนหนึ่งเป็น ผู้เอาประกันภัย

2. กรมธรรม์แบบระบุชื่อผู้ขับขี่ ( Named Driver )เป็นกรมธรรม์แบบใหม่ที่นำเอาอายุผู้ขับขี่มาเป็นองค์ประกอบในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย และคุ้มครองแต่ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิด ต่อค่าเสียหายที่เกิดขึ้นของอุบัติเหตุแต่ละครั้งด้วย กรมธรรม์แบบนี้ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่ใช้รถส่วนบุคคล และสามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ ไม่เกิน 2 คน

ประเภทของกรมธรรม์ และความคุ้มครอง

การประกันภัยรถยนต์ แบบใหม่ มีความคุ้มครองให้เลือก 5 ประเภท คือ

ประเภท 1 ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด คือ

• ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ

• ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

• ความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

• ความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้ และการสูญหาย

ประเภท 2ผู้เอาประกันภัยประเภทนี้ จะได้รับความคุ้มครอง คือ

• ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ

• ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

• ความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้ และการสูญหาย

ประเภท 3 ซึ่งเป็นประเภทที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ดังนี้

• ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ

• ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

ประเภท 4 ซึ่งเป็นประเภทที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินบุคคลภายนอก

• ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท/ครั้ง

ประเภท 5ผู้เอาประกันภัยประเภทนี้ จะได้รับความคุ้มครอง

• ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ

• ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

• ความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย แต่ต้องแจ้งคู่กรณีได้เท่านั้น

• ความเสียหายต่อตัวรถยนต์เนื่องจากไฟไหม้ และการสูญหาย

การประกันวินาศภัย

ประเภทของการประกันวินาศภัย

การประกันภัยอัคคีภัย ( FIRE INSURANCE)

ให้ ความคุ้มครองทรัพย์สินต่างๆ เช่น สิ่งปลูกสร้าง อาคาร สินค้า เครื่องจักร เครื่องใช้ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตราต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากอัคคีภัย ฟ้าผ่า และสามารถขยายความคุ้มครองถึงภัยธรรมชาติต่างๆ การขาดรายได้หรือกำไรที่เกิดขึ้นอันมีสาเหตุต่อเนื่องจากอัคคีภัย

การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง (MARINE INSURANCE) แยกออกเป็นประเภทได้ดังนี้

ก. การประกันภัยขนส่งสินค้า (MARINE CARGO INSURANCE)

ให้ ความคุ้มครองภัยต่างๆ ระหว่างการขนส่งสินค้าไม่ว่าจะเป็นทางทะเล ทางบก และทางอากาศ ที่อาจเกิดมาจากเหตุการณ์อันไม่อาจคาดหมายได้ ได้แก่ พายุ มรสุม เรือจม เกยตื้น ชนกัน อัคคีภัย ผู้ร้ายที่ใช้กำลังปล้นจี้ การทิ้งสินค้าลงทะเล ในขณะที่ประสบภัยทางทะเล หรือ ภัยสงครามจลาจลและการนัดหยุดงาน

ข. การประกันภัยตัวเรือ (MARINE HULL INSURANCE)

ให้ ความคุ้มครองตัวเรือ เครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆ ของเรือซึ่งระบุในการประกันภัยอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุหรือภัยต่างๆ อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวเรือ เช่น เรือชนกัน เรือจม ไฟไหม้ ความสูญเสียโดยสิ้นเชิงหรือเสมือนหนึ่งสูญเสียโดยสิ้นเชิงของตัวเรือ อันเกิดจากภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์และค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือกอบกู้เรือ ภัยสงคราม

การประกันภัยรถยนต์ (MOTOR INSURANCE)

ภาคสมัครใจ หรือประเภท1,ประเภท2,ประเภท3เป็นต้น ให ความคุ้มครองความเสียหายของรถยนต์ที่เอาประกันอันเนื่องมาจากการชนกันคว่ำ ไฟไหม้ถูกโจรกรรมทั้งคันรวมคุ้มครองความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินและชีวิตของ บุคคลภายนอกรวมถึงอุบัติเหตุของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

ภาคบังคับ คือ การประกันภัยรถยนต์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัย เนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุก หรือติดตั้งในรถนั้น และรวมถึงทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายหรือบาดเจ็บด้วย

การประกันภัยเบ็ดเตล็ด (MISCELLANEOUSINSURANCE)

การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PERSONAL ACCIDENT INSURANCE)

ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิต การสูญเสีย และทุพพลภาพอวัยวะอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมง การประกันภัยดังกล่าวแบ่งออกเป็นประเภทดังนี้

ก.ประกัน ภัยแบบรายบุคคลสำหรับบุคคลทั่วไปโดยให้ความคุ้มครองดังที่ กล่าวมาข้างต้น และสามารถขยายความคุ้มครองถึงค่ารักษาพยาบาล การถูกฆาตกรรม และการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยนต์ เป็นต้น

ข. ประกันภัยแบบอุบัติเหตุกลุ่มสำหรับพนักงานของบริษัท ห้างร้าน โรงงาน โดยให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกับแบบรายบุคคล

ค.ประกัน ภัยอุบัติเหตุการเดินทางเป็นการประกันภัยอุบัติเหตุแบบระยะสั้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไกลในประเทศหรือนอกประเทศก็สามารถทำประกันภัยได้

ง. ประกันภัยนักเรียนเป็นการประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยให้ความคุ้มครองตลอด 24 ชั่วโมง หรือในระหว่างเดินทางทั้งไปและกลับจากโรงเรียนและในช่วงที่ประกอบกิจกรรมโรงเรียน

การประกันภัยสุขภาพ (HEALTH INSURANCE)

ให้ความคุ้มครองสำหรับการเจ็บป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซึ่งมีค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นดังนี้

ก. ค่าห้องพักและค่าอาหารในระหว่างที่พักรักษาในโรงพยาบาล

ข. ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด เช่น ค่ารักษา ค่าห้องผ่าตัด ค่าเอ็กซเรย์ ค่ายาสลบ ค่าบริการรถพยาบาลและค่าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ค. ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด ซึ่งหมายถึงค่าบริการต่างๆ ของแพทย์หรือศัลยแพทย์ที่ทำ การผ่าตัด

ง. ค่าใช้จ่ายการดูแลโดยแพทย์ในโรงพยาบาลของแพทย์ ในระหว่างที่พักรักษาตัว ในโรงพยาบาล

จ.ค่าใช้จ่ายการรักษานอกรงพยาบาล

การประกันภัยโจรกรรม (BURGLARY INSURANCE)

ให้ความคุ้มครองต่อการสูญเสียหรือเสียหายของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยสำหรับ บ้านอาศัยหรือสินค้าที่เก็บอยู่ในโกดังสินค้า หรือ เครื่องใช้สำนักงานอันเนื่องมาจากการโจรกรรม โดยบุคคลภายนอก และรวมคุ้มครองความเสียหายของตัวอาคารบ้านเรือนซึ่งเกิดจากการใช้กำลังงัด แงะ และบุกรุกเข้าไปโจรกรรม

การประกันภัยเงินทดแทนแรงงาน (WORKMEN'S COMPENSATIONINSURANCE) โดยให้ความคุ้มครองถึง

ก. ค่ารักษาพยาบาล

ข. ค่าทำศพ

ค. ค่าทดแทนในกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ชีวิตให้กับลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยเมื่อประสบ อุบัติเหตุ หรือเป็นโรคซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงาน และยังให้ความคุ้มครองความรับผิดชอบของนายจ้างต่อลูกจ้าง (EMPLOYER ' S LIABILITY INSURANCE) ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์

การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (PUBLIC LIABILITY INSURANCE)

ให้ ความคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายต่อสาธารณชนในกรณีการเสียชีวิต ความบาดเจ็บต่อร่างกาย และความเสียหายต่อทรัพย์สิน ซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุจากความบกพร่อง ของสถานที่ประกอบการหรือเกิดจากความประมาทเลินเล่อ ของผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของผู้เอา ประกันภัย

การประกันภัยสัมภาระในการเดินทาง (TRAVEL BAGGAGE INSURANCE)

ให้ ความคุ้มครองต่อทรัพย์สิน (ยกเว้นเงินสด ของมีค่าบางประการ) ซึ่งผู้เดินทางนำติดตัวไประหว่างเดินทางหรือพักแรม ไม่ว่าเป็นการเดินทาง โดยทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ

การประกันภัยความรับผิดของผู้ประกอบอาชีพแพทย์ (DOCTOR’S PROFESSIONAL INDEMNITY INSURANCE)

ให้ ความคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายสำหรับผู้ประกอบอาชีพแพทย์ต่อคนไข้ ซึ่งได้รับความบาดเจ็บ ต่อร่างกาย การเจ็บป่วย โรคภัย รวมทั้งการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการผ่าตัดหรือการให้การรักษาพยาบาลใน ระหว่างปฏิบัติงานในอาชีพ หรือตามใบประกอบโรคศิลป์

การประกันภัยกระจก (PLATE GLASS INSURANCE)

ให้ความคุ้มครองต่อแผ่นกระจกที่ติดตั้งอยู่กับอาคาร ร้านค้า ซึ่งได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ โดยบุคคลภายนอกเป็นผู้กระทำ

การประกันภัยผู้เล่นกอล์ฟ (GOLFER'S INDEMNITY INSURANCE)

ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ความบาดเจ็บทางร่างกายของผู้เอาประกันภัย ความสูญหายหรือเสียหายต่ออุปกรณ์การเล่นกอล์ฟ และให้รางวัลพิเศษสำหรับ "โฮล อิน วัน"

การประกันภัยสำหรับเงิน (MONEY INSURANCE)

ให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายของเงินสด เงินเหรียญ และพันธบัตร อันเกิดจากการชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ หรือพยายามกระทำการดังกล่าว ไม่ว่าเงินนั้นจะเก็บอยู่ภายในสำนักงานหรือในตู้นิรภัยหรืออยู่ระหว่างการขน ส่ง

การประกันสรรพภัย (INDUSTRIAL ALL RISKS INSURANCE)

ให้ ความคุ้มครองความสูญเสีย หรือเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเกิดจากสาเหตุใด ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ในข้อยกเว้นของกรมธรรม์ ความคุ้มครอง เช่นเดียวกับกรมธรรม์อัคคีภัยมาตรฐานรวมถึงภัยเพิ่มต่าง ๆ อาทิ ภัยระเบิด ภัยลมพายุ ภัยจลาจล และนัดหยุดงาน การกระทำป่าเถื่อนและเจตนาร้าย ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยอากาศยาน รวมทั้งการโจรกรรมการปล้นทรัพย์ และความเสียหายใด ๆ ที่เกิดจากอุบัติเหตุจากปัจจัยภายนอก เป็นต้น

การประกันภัยความซื่อสัตย์ (FIDELITY GUARANTEE INSURANCE)

ให้ ความคุ้มครองการยักยอกทรัพย์ของลูกจ้างโดยฉ้อฉล หรือแยกจ่ายผิด โดยฉ้อฉลต่อเงิน หรือเอกสารเรียกเก็บเงินใด ซึ่งเป็นของผู้เอาประกันภัย หรือซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมาย

การประกันภัยอิสรภาพ (BAIL INSURANCE)แยกออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

ก. กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด (ใช้กับบุคคลทั่วไป)

ให้ ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันภัยถูกดำเนินคดีและถูกควบคุมตัวในคดีอาญาใน ฐานความผิดอันเนื่องมาจากการกระทำโดยประมาท บริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองตามจำนวนเงินเอาประกันภัยพร้อมกับ กรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยนำไปใช้เป็นหลักประกันในการขอประกันตัวต่อเจ้า พนักงานและหากผู้เอาประกันภัยได้ใช้หนังสือรับรองเพื่อประกันตัวไปแล้วแต่ ยังไม่เต็มวงเงินที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยผู้เอาประกันภัย สามารถขอหนังสือรับรองฉบับใหม่ซึ่งมีวงเงินประกันตัวเท่ากับจำนวนเงิน

เอาประกันภัยที่คงเหลืออยู่จากบริษัทประกันภัยได้

ข. กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด(ใช้กับผู้ตกเป็นผู้ต้องหา หรือ จำเลย)

ให้ ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันภัยถูกดำเนินคดีและถูกควบคุมตัวในคดีอาญาใน ทุกลักษณะฐานความผิดบริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองตามจำนวนเงินเอา ประกันภัยเพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันในการขอประกันตัวต่อเจ้าพนักงานตามคดี ที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย

การประกันภัยวิศวกรรม

ก.การประกันภัยการปฏิบัติงานตามสัญญา (CONTRACT WORKS INSURANCE) ให้ความคุ้มครองดังต่อไปนี้

สำหรับ งานทางด้านวิศวกรรมโยธา และการก่อสร้างรวมทั้งวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเครื่องจักรกลที่ใช้ในการ ก่อสร้างซึ่งได้รับความเสียหาย อันเนื่องมาจากอัคคีภัย ฟ้าผ่า แผ่นดินยุบการระเบิด แผ่นดินไหว การโจรกรรม รวมถึงอุบัติเหตุอื่น ๆ ในระหว่างการก่อสร้าง สำหรับ เครื่องจักรที่จะทำการติดตั้ง โดยให้ความคุ้มครองเหมือนกับข้อ ก. รวมถึงความชำรุดความเสียหายซึ่งเกิดจากการขัดข้องในตัวของมันเอง หรือเป็นผลมาจากการทดสอบ หรือทดลองเครื่อง เมื่อทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว โดยกรมธรรม์จะให้ความคุ้มครองเฉพาะเครื่องจักรใหม่ในระยะเวลาทดสอบไม่เกิน 4 สัปดาห์

สำหรับ ความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก อันเนื่องมาจากความผิดพลาดในการดำเนินงานของผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลภายนอกได้รับความบาดเจ็บหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ได้รับความเสียหาย

ข.การประกันภัยเครื่องจักร (MACHINERY INSURANCE)

ให้ ความคุ้มครองต่อเครื่องจักรซึ่งได้ติดตั้งหลังจากการทดลองเครื่องโดยสมบูรณ์ แล้วบริษัทฯ จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่เครื่องจักรนั้นวินาศหรือบุบสลายในทันทีทัน ใดโดยมิอาจคาดหมายล่วงหน้าได้ถึงขนาด จำเป็นจะต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแปลงใหม่เนื่องมาจากเหตุใดๆ เช่นความชำรุดบกพร่องในการหล่อ การใช้วัสดุที่มีคุณภาพไม่สมบูรณ์ ความผิดพลาดในการออกแบบ ความบกพร่องมาจากโรงงานหรือจากการติดตั้ง การไร้ฝีมือ ความสะเพร่า การกลั่นแกล้งการขาดน้ำในหม้อน้ำ การระเบิดในทางฟิสิกส์ การลัดวงจร พายุ และเหตุอื่นๆ

ค. การประกันภัยหม้อกำเนิดไอน้ำ (BOILER INSURANCE) คุ้มครองความเสียหายของหม้อกำเนิดไอน้ำ และถังอัดความดัน อันเนื่องมาจากการระเบิด หรือการยุบแฟบ

ง. การประกันภัยคุ้มครองเครื่องมือก่อสร้าง (CONTRACTORS' EQUIPMENT INSURANCE)

คุ้ม ครองความสูญเสียหรือเสียหายของเครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้าง อันเกิดจากอัคคีภัย ฟ้าผ่า ภัยลมพายุ การระเบิด การชนกัน พลิกคว่ำ ตกราง ของยานพาหนะในขณะที่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยกำลังถูกบรรทุกไป

จ. การประกันภัยเครื่องอุปกรณ์อีเล็คโทรนิค (ELECTRONIC EQUIPMENT INSURANCE)

โดย คุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายอันเกิดจากสาเหตุ ซึ่งมิได้ระบุไว้ในข้อยกเว้นของกรมธรรม์ อันได้แก่ อัคคีภัย ฟ้าผ่า น้ำท่วม ความชื้น ภัยเปียกน้ำ ความเสียหายจากการดับเพลิง