ใบความรู้ที่ 4

เรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

การทำงานงานช่างทุกชนิด หรือการใช้เครื่องมืองานช่างและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือความปลอดภัย

ของตนเองเป็นอันดับแรกดังนี้

1. ตรวจสอบเครื่องมือทุกชนิดก่อนและหลังใช้งานเพื่อใช้งานได้อย่างปลอดภัย

2. ใช้เครื่องมือให้ถูกประเภทกับประเภทของงาน เช่น ใช้สิ่วในงานไม้ สกัดในงานปูน

3. แต่งกายให้เหมาะสมกับชนิดของงาน

4. สถานที่ทำงานควรมีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทอย่างพอเพียง

5. การแก้ไขอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องตัดกระแสไฟฟ้าออกเสียก่อน โดยยกคัทเอาท์ออก และต้องเขียนป้ายบอกกำลังซ่อมไฟฟ้า

6. ไม่พกพาเครื่องมือที่มีคมในกระเป๋าเสื้อหรือกางเกง

7. ไม่แตะต้องอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อร่างกายเปียกชื้น

8. ไม่ติดตั้งเต้ารับต่ำเกินไป อาจเป็นอันตรายเมื่อเด็กเล่นหรือน้ำท่วมถึงได้ง่าย

9. ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม

10. ปฏิบัติงานตามขั้นตอน

11. ศึกษาคู่มือการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าก่อนใช้งาน

12. ขั้วต่อต่างๆ ของอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องแน่นและมั่นคงแข็งแรง

13. ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้ถูกต้อง เช่น ใช้ฟิวส์ให้ถูกขนาดและไม่ใช้เส้นทองแดงแทนฟิวส์

14. ไม่หยอกล้อเล่นกันในขณะทำงาน

15. ไม่ทำงานเกินกำลังของตนเอง

การทำให้สถานที่ทำงานปลอดภัยนั้น ย่อมจะต้องมีการลงทุนลงแรงกันบ้าง วันนี้ขอแนะนำเคล็ดลับทำให้เกิดความปลอดภัยในที่ทำงาน 10 ข้อ ดังนี้

1. ดูแลรักษาให้พื้นที่ปฏิบัติงานมีความสะอาดอยู่เสมอ

ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การนำอันตรายต่างๆ ออกจากพื้นที่ปฏิบัติงานเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่น่าทำงานให้แก่พนักงานของคุณด้วย

2. ถ้าเป็นไปได้ ให้ใช้ระบบป้องกันและการควบคุมด้านวิศวกรรมแทนการอาศัยแต่เพียงอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) เพียงอย่างเดียว

เนื่องจากอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลนั้นเป็นสิ่งที่ทำการตรวจสอบ และกำกับให้มีการปฏิบัติจริงได้ยากและเมื่อสวมใส่แล้วทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบายตัวเท่าใดนัก ก่อนอื่นคุณจะต้องค้นหาวิธีป้องกันการรับสัมผัสอันตรายของพนักงานให้ได้เสียก่อน จำไว้ว่าพนักงานของคุณจะสามารถปฏิบัติงานได้ผลผลิตมากขึ้นหลายเท่าตัวเลยทีเดียวถ้าหากว่าพวกเขารู้สึกสบายตัวในระหว่างการทำงาน

3. ให้สันนิษฐานไว้เสมอว่าพนักงานของคุณต้องการทำงานอย่างปลอดภัย และคุณก็จะต้องหยิบยื่นโอกาสดังกล่าวให้แก่พวกเขา

4. ระบุคำแนะนำในการปฏิบัติงานให้ชัดเจน

ทำให้แน่ใจว่าพนักงานของคุณทุกคนรู้ถึงวิธีการที่ถูกต้องในการทำในสิ่งที่คุณคาดหวังจากพวกเขา อย่าเพียงแต่บอกเฉพาะสิ่งต่างๆ ที่ห้ามพวกเขาทำเท่านั้น นอกจากนี้ คุณจะต้องระบุถึงคำแนะนำด้านความปลอดภัยไว้ในระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติงานทุกฉบับที่คุณจัดทำขึ้นด้วย

5. อย่าหมกมุ่นเพียงเฉพาะสถานการณ์สมมติที่เป็นสถานการณ์เลวร้ายที่มีมากมายหลากหลายกรณี

แต่แนะนำให้คุณเน้นไปที่สิ่งหรือสถานการณ์ที่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมากกว่า มีความรุนแรงมากกว่า (ความเสี่ยงสูงกว่านั่นเอง) วิธีการคือ ตัวคุณเองสามารถทำการป้องกันมิให้มีอุบัติการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เกิดซ้ำอีกได้ ซึ่งก็จะหมายความว่าคุณจะต้องจัดทำบันทึกอุบัติการณ์ต่างๆ ไว้อย่างถูกต้องแม่นยำแม้ว่าสถิติอุบัติการณ์นี้อาจจะทำให้ดูแย่ในสายตาผู้บริหารที่เป็นผู้บังคับบัญชาของคุณก็ตาม

6. คุณจะต้องรักพนักงานของตัวเองให้มาก

ความรักนี้หมายถึงการที่คุณจะต้องดูแลเอาใจใส่พนักงานของตัวเองและบอกให้พวกเขารู้ด้วยว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ ถ้าเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง อยู่ในสภาพไม่ปลอดภัย ก็ให้ปิดหรือห้ามใช้เครื่องนั้นเสียก่อนที่จะมีใครได้รับบาดเจ็บ

7. ใช้เวลาศึกษารายละเอียดงานต่างๆ ที่พนักงานของคุณทำ

แม้ว่าเมื่อก่อนคุณจะเคยทำงานดังกล่าวมาเช่นกันก็ตาม แต่มันก็มีความเป็นไปได้ที่วิธีการทำงานเดียวกันนี้จะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน คุณจะต้องมองไปที่สิ่งที่พนักงานกำลังทำอยู่จริงและเปรียบเทียบกับวิธีการทำงานที่ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งถ้ามีความแตกต่างกัน ไม่เหมือนกันระหว่างการปฏิบัติจริงกับสิ่งที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น ให้ค้นหาให้ได้ว่าเพราะเหตุใด และอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง ปลอดภัยกว่ากัน

8. ดูแลรักษาเครื่องจักรต่างๆ ให้อยู่ในสภาพการทำงานที่ดีเสมอ

หลายครั้งที่พนักงานมักตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายเนื่องจากเครื่องจักรชำรุดหรือสึกหรอ ในกรณีการสึกหรอนั้น เครื่องจักรอาจจะค่อยๆ เกิดการสึกหรอและตัวพนักงานเองก็คิดว่านั่นมันเป็นเรื่องปกติ ทั้งนี้ แผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกันที่มีประสิทธิภาพนั้นจะนำมาซึ่งแผนการด้านความปลอดภัยในภาพรวมที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน

9. หลีกเลี่ยงอันตรายต่างๆ ที่ไม่จำเป็น

คุณควรมองหาวัสดุสิ่งของหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่จะช่วยลดอันตรายต่างๆ ที่พนักงานของคุณอาจได้รับสัมผัส

10. ดูแลรักษาพื้นที่ปฏิบัติงานให้สะอาด (ดูเคล็ดลับข้อ 1 ข้างต้น)

เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ควรจะยึดหลักที่เรียกว่า 5 ส. ได้แก่

1. สะสาง การขจัดสิ่งของที่ไม่ต้องการออกผลจากการไม่ดำเนินการ

- เสียเวลาค้นหาสิ่งขอ - ตรวจสอบยากว่ามีของที่ต้องการอยู่หรือไม่

- สถานที่ปฏิบัติงานมีน้อย - สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการดูแล

ผลจากการดำเนินการ

- หาสิ่งของที่ต้องการได้ง่าย

- มีพื้นที่ว่างฝึกปฏิบัติงาน

2. สะดวก จัดของที่ใช้ให้เป็นระเบียบโดยคำนึงถึงความปลอดภัย

ผลจากการไม่ดำเนินการ

- ดูแลรักษายาก - เป็นบ่อเกิดของอุบัติเหตุ

- เสียเวลาค้นหา

ผลจากการดำเนินการ

- รักษาคุณภาพของสิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย - ลดการเกิดอุบัติเหตุ

- ไม่เสียเวลาในการหยิบใช้ - ตรวจสอบสิ่งของได้ง่ายขึ้น

3. สะอาด ทำความสะอาดสถานที่ปฏิบัติงานเครื่องมือ,อุปกรณ์ต่างๆให้เรียบร้อย

ผลจากการไม่ดำเนินการ

- สถานที่ปฏิบัติงานรกรุงรัง

- เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ชำรุดเสียหาย วางไม่เป็นระเบียบ

ผลจากการดำเนินการ

- สถานที่ปฏิบัติงานสะอาดเหมาะสมกับการฝึกปฏิบัติงาน

- เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่สามารถนำมาใช้ได้ทันที

4. สุขลักษณะ จัดสถานที่ฝึกปฏิบัติงานให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อสุขภาพอนามัยของตนเองและผู้ร่วมงาน

ผลจากการไม่ดำเนินการ

- เกิดมลภาวะต่าง ๆ เช่น ฝุ่นละออง อับชื้น กลิ่น เสียงดัง

- เสียสุขภาพจิต

- ไม่กระตือรือร้น

ผลจากการดำเนินการ

- สถานที่ปฏิบัติงานมีความร่มรื่นปลอดโปร่งอากาศถ่ายเทดี

- มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี

5. สร้างนิสัย ปฏิบัติ 4 ส แรก จนเกิดทักษะและติดนิสัยของตนเอง

หมายเหตุ

- ฝึกทักษะจนติดเป็นนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงาน เช่น รักษาความสะอาดมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน

- คำนึงถึงความปลอดภัย และกฎของโรงฝึกงาน

ฎ 5 รู้ เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงาน

5 รู้ที่ว่ามีอะไรกันบ้างเราไปดูกันครับ

1.รู้งานที่ปฏิบัติว่ามีอันตรายอย่างไร มีขั้นการทำงานอย่างไร

2.รู้การเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

3.รู้วิธีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

4.รู้ข้อจำกัดการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร อุปกรณ์

5.รู้วิธีการบำรุงรักษา เครื่องมือและเครื่องจักร อุปกรณ์

เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย (safety sign) หมายถึงเครื่องหมายที่ต้องการใช้สื่อความหมาย โดยใช้รูป สี หรือข้อความ ที่เฉพาะเจาะจงกับผู้ที่อาจได้รับอันตรายในสถานที่ทางาน โดยข้อความภายในป้ายอาจจะสื่อความหมายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ (prevent accidents), อันตรายต่อสุขภาพ (health hazards), ระบุสถานที่ตั้งของอุปกรณ์ป้องกันไฟไหม้ (fire protection) หรือการให้คำแนะนำในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน

1. การใช้เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย

1) เพื่อเตือนให้ระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพร่างกาย

2) กำหนดให้ใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

3) แนะนำให้พึงปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเพื่อวามปลอดภัยเครื่องหมายเสริมความปลอดภัย

2. เครื่องหมายเสริมความปลอดภัย

1) รูปแบบของเครื่องหมายเสริม เป็น 4 เหลี่ยมผืนผ้า หรือ 4 เหลี่ยมจัตุรัส

2) มีพื้นให้ใช้สีเดียวกับสีเพื่อความปลอดภัย และสีข้อความให้ช้สีตัด หรือสีพื้นให้ใช้สีขาวและสีของข้อความให้ใช้สีดำ

3) ตัวอักษรที่ใช้ในข้อความ

ก. ช่องไฟระหว่างตัวอัษรต้องไม่แตกต่างกันมากกว่าร้อยละ 10

ข. ลักษระของตัวอักษรต้องดูเรียบง่าย ไม่เขียนแรเงาหรือลวดลาย

ค. ความกว้างของตัวอักษรต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของความสูงของตัวอักษร

4) ให้แสดงเครื่องหมายเสริมไว้ใต้เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย