ใบความรู้ที่ 2

เรื่องประเภทของงานช่าง

ประเภทของงานช่าง

งานช่าง งานช่างในประเทศไทย ถ้าแบ่งตามหลักฐานที่มีมาตั้งแต่โบราณ โดยแบ่งตามลักษณะของชิ้นงานแบ่งออกเป็นช่าง 10 หมู่ดังนี้ หรือที่เราเรียนสั้น ๆ ว่าช่างสิบหมู่

1. งานช่างเขียน

2. งานช่างแกะ

3. งานช่างสลัก

4. งานช่างปั้น

5. งานช่างปูน

6. งานช่างรัก

7. งานช่างหุ่น

8. งานช่างบุ

9. งานช่างกลึง

10. งานช่างหล่อ

งานช่างทุกช่างในการปฏิบัติงานให้ได้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพจะต้องประกอบไปด้วยงานหลัก 4 งานดังนี้

1. งานบำรุงรักษา

งานบำรุงรักษา เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้โดยผู้ปฏิบัติจะต้องนำหลักการของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือมาใช้ เพื่อตรวจสอบหรือซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ภายในบ้านที่ชำรุดหรือเสียหายให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย

2. งานซ่อมแซม

งานซ่อมแซม เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้โดยผู้ปฏิบัติจะต้องนำหลักการของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือมาใช้ เพื่อตรวจสอบหรือซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ภายในบ้านที่ชำรุดหรือเสียหายให้สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย

3. งานติดตั้ง

งานติดตั้ง เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ในบ้าน โดยผู้ปฏิบัติสามารถเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อติดตั้งเครื่องใช้ อุปกรณ์ในบ้านให้สามารถใช้งานและอำนวยประโยชน์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

4. งานผลิต

งานผลิต เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถและทักษะเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบและผลิตชิ้นงาน โดยผู้ปฏิบัติต้องสามารถเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และวิธีการทำงานช่างอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานให้ได้ผลผลิตที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตประจำวัน

งานช่างประจำบ้าน

งานช่างที่มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิต หรือเรียกว่าช่างประจำบ้าน

แบ่งออกเป็น 6 งาน ดังนี้

1. งานไฟฟ้า

2. งานประปา

3. งานช่างสี

4. งานปูน

5. งานโลหะ

6. งานไม้

ช่างไฟฟ้า

ทำงานทางเทคนิคภายใต้การแนะนำและควบคุมของวิศวกรไฟฟ้า โดยใช้ทฤษฎีความรู้เกี่ยวกับหลักการทางไฟฟ้า วิธีการทดสอบไฟฟ้า และวิชาการที่เกี่ยวข้องกันมาใช้ในการผลิต การก่อสร้าง การติดตั้ง การทดสอบ การใช้และการบำรุงรักษา การพัฒนาและแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบไฟฟ้าอุปกรณ์และส่วนประกอบต่าง ๆ : เตรียมแผนงาน รายงานปฏิบัติงาน ภาพสเกตซ์ รูปแบบ แผนภาพ ข้อมูล รายงาน และรายละเอียด ต่าง ๆ สำหรับการปฏิบัติงาน ใช้มือหรือเครื่องมือประกอบ ติดตั้ง ตรวจสอบ ทดสอบ ใช้งาน ปรับ ทำบันทึก ดูแล แก้ไข เปลี่ยนแปลง ซ่อม และปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า อุปกรณ์และส่วนประกอบอื่น ๆ ตรวจหาสาเหตุที่ทำให้ระบบไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าขัดข้องหรือไม่ทำงานเพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุงและป้องกัน รวมทั้งทำงานด้านการบำรุงรักษาและซ่อมแซม ปฏิบัติงานด้านอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากวิศวกรไฟฟ้า

ช่างไฟฟ้ามีหน้าที่รับผิดชอบงาน ดังนี้

1. ปรับแต่งควบคุมและตรวจเช็คเครื่องควบคุมไฟฟ้ากระแสสลับ เช่น ชุดควบคุมมอเตอร์ โดยคอนแทคเตอร์และชุดควบคุม อินเวนเตอร์แบบต่างๆ เป็นต้น

2. เดินสายไฟฟ้าระบบจ่ายพลังงาน และควบคุมเครื่องจักรในโรงงาน

3. ตรวจเช็ค ซ่อมแซม และติดตั้งเครื่องจักร ทางไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า อุปกรณ์ตรวจเช็ค และอุปกรณ์ควบคุมการทำงานในกระบวนการผลิตของงานอุตสาหกรรม

4. ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องมือวัดกระแส เครื่องมือวัดแรงดัน เครื่องมือวัดความต้านทาน เป็นต้น

5. ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

ช่างประปา

งานช่างประปา คือ ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการวางท่อประปา การเชื่อมต่อท่อ และการไหลของน้ำ น้ำเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้น้ำปรากฏว่า คนในชนบทใช้น้ำ 150 ลิตรต่อคนต่อวัน คนในเมืองใช้น้ำ 440 ลิตรต่อคนต่อวัน น้ำจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์มาก ระบบการประปาได้แก่ การนำน้ำเข้ามาใช้ การระบายน้ำโสโครกภายในอาคารบ้านเรือนออกไป เป็นสิ่งจำเป็นและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากที่สุด ระบบประปาที่ดีมีประสิทธิภาพ จึงหมายถึงความสะดวกสบาย สุขภาพและพลานามัยของผู้อยู่อาศัย ดังนั้นความรู้เรื่องระบบน้ำประปา ระบบการระบายน้ำโสโครก สุขภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการจัดระบบการประปา การซ่อมบำรุงรักษา จึงเป็นสิ่งจำเป็น สามารถศึกษาและปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง

เราสามารถใช้น้ำในการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งการอุปโภคและบริโภค อาคารบ้าน พักอาศัยก็เช่นเดียวกัน จำเป็นจะต้องมีการวาง ระบบน้ำประปา มาใช้ในอาคารด้วย ในการนำน้ำมาใช้กับ อาคารบ้านเรือน ทั้งหลาย จะต้องมีการวางระบบที่ดี เพื่อให้เกิดความสะดวกใน การใช้งานอีกทั้งสะดวกในการบำรุงรักษาอีกด้วย ต้องคำนึงถึง การจัดวางตำแหน่ง ท่อต่างๆได่แก่ ระบบท่อน้ำดี ระบบท่อน้ำทิ้ง ระบบท่อน้ำเสีย และ ระบบท่อระบายอากาศ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพ ในการใช้ ตลอดจนอายุการใช้งานที่ยาวนานและเนื่องจากระบบท่อต่าง ๆ จะถูกซ่อนไว้ตามที่ต่างๆเช่นในผนัง พื้น ฝ้าเพดาน ฉะนั้น ก่อนการ ดำเนินการก่อสร้างต้องมีการวางแผนให้ดี เพื่อประโยชน์ในการซ่อมบำรุงในภายหลัง

ช่างสี

งานสี เป็นงานช่วยรักษา ป้องกันสภาพผิวของเนื้อวัสดุให้คงทน มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน ทำให้ผิวงานมีความสวยงามยิ่งขึ้นงานสีจะเป็นงานขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิต ลักษณะของผู้ที่จะเป็น ช่างทาสี จะต้องเป็นคนที่ต้องใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติงานจนเกิดทักษะ ความชำนาญเกี่ยวกับ เทคนิคขั้นตอนการทาสีหรือ พ่นสี มีความเข้าใจเกี่ยวกับสีหรือวัสดุอื่นในการเคลือบผิว ตลอดจนโทนสีต่าง ๆ ที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน เช่น สีแดงให้ความรู้สึกร้อน สีฟ้าอ่อนให้ความรู้สึกกว้างสบายตา เป็นต้น

ลักษณะการทำงานของช่างสี จะเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดประณีตสูง การทาสีหากเป็นงานทาสีอาคาร ตึก ต้องใช้นั่งร้าน หรือโรยตัวทาสีในที่สูง ๆ ช่างสีจึงต้องเป็นคนที่กล้าทำงานในที่สูง งานสีแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. งานทาสี ปิดลายไม้ เช่นการทาสีหรือวัสดุอื่น แล้วมองไม่เห็นลายไม้

2. งานเคลือบผิวโชว์ลายไม้ เช่น การทาแลกเกอร์ เชลแล็ก ยูริเทน เมื่อทาแล้วสามารถมองเห็นลายไม้ สีน้ำอะครีลิก เหมาะสำหรับใช้ทาภายในอาคาร ในส่วนที่เเป็นพื้นผิวฉาบปูน อิฐ คอนกรีต ไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นต้น โดยสีน้ำอครีลิกจากแต่ละบริษัทจะมีคุณภาพของเนื้อสีแตกต่างกันไป

ช่างปูน

ช่างปูน เป็นช่างประเภทหนึ่ง ในจำพวกช่างสิบหมู่ งานของช่างปูน เป็นงานสร้าง ทำอาคารสถานชนิดเครื่องก่อ ประเภท เจติยสถาน และศาสนสถานต่างๆ เช่น พระสถูปเจดีย์ พระพุทธปรางค์เจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหาร ฐานชุกชี ซุ้มคูหา กับได้ทำพระมหาปราสาท พระราชมณเฑียร แท่นฐาน เกยราชยาน ประตู เครื่องยอดต่างๆ ใบเสมา กำแพงและป้อมปราการ เป็นต้น และ งานของช่างปูนยังเนื่องด้วยการปั้นปูนอีกด้วย

งานปูนเป็นแขนงหนึ่งของงานก่อสร้าง ซึ่งมีความสำคัญในงานก่อสร้าง ปัจจุบันงานปูนเป็นงานหนักและคงทนต่อดินฟ้าอากาศ งานปูนสร้างโดยวัสดุที่ทำขึ้นจากสิ่งที่ได้จากธรรมชาติและวัสดุที่ได้จากธรรมชาติผสมกัน งานปูน มีลักษณะแตกต่างกันหลายแบบ เช่น ในรูปของ คอนกรีต ปูนก่อ ปูนถือ หินขัด หินล้าง เป็นต้น

ชนิดของงานปูน

แบ่งตามประเภทของงานได้ดังนี้

1. ช่างปูนโครงสร้าง

2. ช่างปูนประณีต

3. ช่างปูนก่อสร้างและบูรณะ

4. ช่างปูนเฟอร์นิเจอร์

5. ช่างปูนสุขภัณฑ์

6. ช่างปูนชั่วคราว

ช่างโลหะ

งานโลหะเป็นงานช่างที่มีความสำคัญต่อวงการอุตสาหกรรมทุกประเภท ใช้เป็นปัจจัยพื้นฐานในการสร้าง หรือการผลิตชิ้นงาน ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องมือ และอุปกรณ์ เครื่องจักรกล เครื่องยนต์ รถยนต์ และผลิตภัณฑ์จากโลหะต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้น การศึกษากระบวนการเรียนรู้การทำงานเกี่ยวกับโลหะจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนางานโลหะให้ดียิ่งขึ้น

งานโลหะเป็นงานที่หนักมากลักษณะการทำงานมีทั้งงานในร่มและกลางแจ้ง สถานที่ปฏิบัติงานมีทั้งที่ต่ำและที่สูง โดยเฉพาะงานโครงสร้างหลังคา ที่ใช้เหล็กเป็นโครงสร้างประกอบเพราะมีความคงทน แข็งแรงสูง แทนวัสดุต่างๆ เช่น ไม้ ซึ่งนับวันจะหาได้ยาก ลักษณะที่ดีของช่างโลหะจะต้องเป็นผู้มีความขยัน อดทน สู้งานเป็นพิเศษ มีความรอบรู้เกี่ยวกับวัสดุโลหะต่าง ๆ เป็นอย่างดีมีประสบการณ์ มีทักษะจากการปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ อ่านแบบและออกแบบคิดคำนวณได้อย่างถูกต้อง มีความรับผิดชอบต่องาน ละเอียด รอบคอบ ประณีตและประหยัด

ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ทำหน้าที่ติดตั้งซ่อมบำรุงผลิตงานผลิตภัณฑ์โลหะแผ่นและโลหะรูปพรรณ งานโครงสร้างโลหะ งานระบบท่ออุตสาหกรรมทำงานด้วยการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร ในการแปรรูป ขึ้นรูปประกอบด้วยกรรมวิธีเชื่อม การตกแต่งผิวสำเร็จ การตรวจสอบและการควบคุมการผลิต งานระดับช่างฝีมือ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการอ่านแบบ เขียนแบบเครื่องกล แบบแผ่นคลี่การผลิตงานผลิตภัณฑ์โลหะแผ่นและโลหะรูปพรรณ โดยการใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการแปรรูป ขึ้นรูปโลหะ การประกอบตกแต่งผิวสำเร็จ งานติดตั้งประกอบและเชื่อมระบบท่อ งานติดตั้ง ประกอบและเชื่อมโครงสร้าง

ช่างไม้

งานของช่างไม้งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก คือ

1. งานช่างไม้ก่อสร้าง โดยงานช่างไม้ก่อสร้างนั้น จะเป็นงานที่เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ต้องอาศัยความอดทน และความแข็งแรงของร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะต้องปฎิบัติหน้าที่กลางแจ้ง หรือในที่สูง มีโอกาสเสี่ยงต่อแสงแดด ฝุ่นละออง ฝนตก หรือการพลักตกจากที่สูงได้ จึงต้องมีความเป็นมืออาชีพ และมีทักษะในการทำงานเป็นอย่างมาก

2. งานช่างไม้ครุภัณฑ์ สำหรับงานช่างไม้ครุภัณฑ์ จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครื่องเรือนต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ไม้ อุปกรณ์ช่างไม้ เครื่องมือช่างไม้ ชุดตกแต่งบ้านที่ทำจากไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ทั้งหมด ผู้ที่ประกอบอาชีพช่างไม้นี้ควรเป็นบุคคลที่มีความละเอียด รอบคอบ มีความปราณีต แต่ไม่มีความเสี่ยงในการปฎิบัติงานเนื่องจากทำหน้าที่ภายในโรงงานไม้ ที่มีเครื่องจักร เครื่องมือเพียบพร้อม

3. งานช่างไม้ออกแบบ สำหรับงานช่างไม้ออกแบบ จะเป็นงานที่เกี่ยวกับการทำแบบงานไม้ แบบหล่อโลหะ เช่น ชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ เป็นต้น ช่างไม้ออกแบบควรมีความละเอียดปราณีต สร้างไม้แบบโดยไม่ผิดเพี้ยน และมีเทคนิคในการใช้เครื่องมือได้อย่างชำนาญ

4. งานช่างไม้แกะสลัก สำหรับงานช่างไม้แกะสลัก จะเป็นงานที่เกี่ยวกับการออกแบบ ตกแต่ง สร้างสรรค์ แกะสลักไม้ลวดลายต่างๆ ลงบนผลิตภัณฑ์ไม้