การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน

ประกอบด้วยเอกสารความรู้ (Fact Sheet) ดังนี้

1. สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง

ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น

1.1 สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง

1.2 สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

1.3 สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรัง

2. การจัดการดูแลการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง

โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น

2.1 การจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

2.2 การจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

2.3 การจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

1. สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง

ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น

1.1 สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้อาการชาที่ใบหน้า ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขน ขา ข้างใดข้างหนึ่ง อ่อนแรงเคลื่อนไหวไม่ได้หรือเคลื่อนไหวลำบากอย่างทันทีทันใด เป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมง แบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะที่เกิด คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน (Ischemic stroke) และโรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke)(สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2556)

ในแต่ละปีมีประชากรที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองถึง 17 ล้านคน โดยพบว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 5 ในผู้ที่มีอายุ 15-59 ปี และยังพบเป็นสาเหตุการตายในเด็กและทารกอีกด้วย ซึ่งในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้สูงถึงปีละเกือบ 6 ล้านคน นอกจากนี้โรคหลอดเลือดสมองยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความพิการถาวรโดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ เชื้อชาติ หรือประเทศใด ทั้งนี้พบว่า 1 คน ใน 6 คนของประชากรทั้งโลกมีโอกาสที่จะป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง(http://www.worldstrokecampaign.org.เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม2558)

ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าภาพรวมของ ประเทศไทย (รวม กทม.) มีอัตราตายต่อประชากรแสนคนด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ (ปี พ.ศ.2545 - 2557) นั้นโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราตายสูงที่สุด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี พ.ศ. 2552 มีอัตราตายด้วย โรคหลอดเลือดสมอง เท่ากับ 21.04 และในปี พ.ศ. 2557 เพิ่มขึ้นเป็น 38.66 ตามภาพที่ 1 ซึ่งคิดเป็นอัตราตายต่อประชากรแสนคน เพิ่มขึ้น 1.8 เท่า ในรอบ 5 ปี โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2557 มีจำนวนตายด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 25,114 คน คิดโดยเฉลี่ยคือ ในทุกๆ 1 ชั่วโมง จะมีคนตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 3 คน5

โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากรายงานอุบัติการณ์1 พบว่า อัตราผู้ป่วยใน ปีพ.ศ. 2553–2555 มีอัตราป่วย 307.9, 330.6 และ 354.5 ตามลำดับ และมีอัตราตาย 27.5, 30.1 และ 31.7 ต่อแสนประชากร (สำนักโรคไม่ติดต่อ, 2557)

ในจังหวัดขอนแก่น ในปี 2551-2553 พบว่ามีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล มีอัตราป่วย 330.6, 365.1 และ 393.7 และอัตราตาย 23.8, 22.9 และ 25.1 ต่อแสนประชากร และตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีจำนวน 23 หมู่บ้าน ประชากร 33,037 คน มีจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่นในปี 2553 - 2555 มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 57.5, 81.5 และ 87.8 ตามลำดับและมีจำนวนอัตราตาย เป็น 15.1, 20.4 และ 22.8 ต่อแสนประชากร และในปี 2556ในปี 2556

ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีจำนวน 23 หมู่บ้าน ประชากร 33,037 คน มีจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่นในปี 2555 มีอัตราป่วย 87.8ต่อแสนประชากร และมีอัตราตาย 22.8 ต่อแสนประชากร และในปี 2556 ตำบลบ้านเป็ดมีประชากร จำนวน 35,981 คน พบผู้ป่วย จำนวน 26 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 72.3 ต่อแสนประชากร (โรงพยาบาลขอนแก่น, 2555)

สาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง จากการพฤติกรรมเสี่ยง การดื่มสุรา สูบบุหรี่ อ้วนและไขมันในเลือดสูง และการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันเลือดสูง โอกาสเกิดหลอดเลือดสมองตีบตันจะสูงมากขึ้น ซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณสมองตีบตัน ส่วนโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเป็นอันดับที่สองรองจากอายุที่ 65 ปี (วิชัย เกพลากรและสมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์. 2550)

ผลกระทบจากการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากจะมีอัตราป่วยและอัตราตายที่สูงขึ้นแล้ว ยังมีความพิการหลงเหลืออยู่ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้ป่วย ผู้ดูแลและครอบครัว และชุมชนและหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยพบว่า 1) ผลกระทบต่อผู้ป่วยที่พบบ่อย ได้แก่ ด้านร่างกาย การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้น้อยลงจากการที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง และปัญหาด้านการพูด การมองเห็น และความสามารถของสมองด้านจิตใจ มีความวิตกกังวลกลัวไม่หาย รู้สึกเป็นภาระของผู้อื่นคุณค่าในตนเองลดลง กลัวตาย และทางสังคมและเศรษฐกิจการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมน้อยลง ขาดอาชีพ รายได้ 2) ผลกระทบต่อผู้ดูแลและครอบครัวพบว่า ด้านร่างกาย เกิดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าทำให้สุขภาพทรุดโทรม (ธันยาภรณ์ อรัญวาลัย,2551)ด้านจิตใจ เกิดความเครียด สูญเสียบทบาททางสังคม รวมทั้งยังขาดความรู้ และทักษะในการดูแลผู้ป่วยมองตนเองไร้พลังอำนาจ สูญเสียโอกาสในการทำงาน (นันทพร ศรีนิ่ม, 2545) และ 3) ผลกระทบต่อชุมชนและหน่วยงานภาครัฐคือรัฐต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายที่ให้การดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย ทั้งในโรงพยาบาลและดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เป็นเงินถึง 1,959.85 บาทต่อวันต่อผู้ป่วย 1 คน (KarnchanasriSinghpoo et al.,2009)

ผลการศึกษาสถานการณ์ปัญหาและความต้องการของผู้ดูแล ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน โดยใช้กรอบแนวคิดขององค์ประกอบของการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังภาคขยาย (ECCM) พื้นที่ทำการศึกษาคือ หมู่บ้านในตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 13 หมู่บ้านที่มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาศัยอยู่ ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 24 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย (BI) และ3) แบบประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง (NIHSS) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Validity)

ผลการวิจัย พบว่า 1)ข้อมูลทั่วไป ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นสมาชิกในครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นคู่สมรส(ภรรยา) เพศหญิง ร้อยละ 66.7 วัยสูงอายุ อายุเฉลี่ย 65 ปี เคยได้รับการแนะนำในการดูแลผู้ป่วยก่อนกลับบ้านทุกราย 2) ภาวะสุขภาพ พบว่า เจ็บป่วยด้วยโรคปวดเข่า ปวดหลัง และโรคความดันโลหิตสูง 3) ผู้ป่วยที่ดูแลมีระดับการพึ่งพาผู้ดูแลโดยใช้คะแนน BI และ NIHSS เป็นตัวแบ่งระดับ พบว่าผู้ป่วยต้องพึ่งพาผู้ดูแลระดับเล็กน้อยร้อยละ 65.4 ระดับปานกลางร้อยละ 15.4 และระดับมาก ร้อยละ 3.9 ถึงมากที่สุดร้อยละ 15.4

การวิเคราะห์ตามองค์ประกอบของแนวคิดการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังภาคขยาย(ECCM) พบว่า ผู้ดูแลขาดการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน และขาดความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย โดยต้องการความรู้วิธีการและอุปกรณ์ เครื่องมือในการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยที่บ้าน สุขภาพ การสร้างการรับรู้ข้อมูลแก่ผู้นำชุมชน องค์กรท้องที่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และนอกจากนี้ยังขาดแผนงานการดูแลร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่

1.2 สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

1.3 สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรัง

2. การจัดการดูแลการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอด

เลือดสมอง ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น